ความเสี่ยงและการรับรู้สัญญาณเตือนต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่

Main Article Content

อัญชลี ขุนทรงอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง  ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้สัญญาณเตือนต่อโรคหลอดเลือดสมอง  และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ และผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน แต่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง  เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


จากการศึกษาพบว่า ทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน  ร้อยละ 37.8 มีความเสี่ยงต่ำต่อโรคหลอดเลือดสมอง รองลงมา ร้อยละ 36.1, 11.2, 10.3 และ 4.7 มีความเสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง เสี่ยงสูงมาก  และเสี่ยงสูงอันตราย ตามลำดับ ร้อยละ 98.3 มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับสูง  มีการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในระดับต่ำ ร้อยละ 60.5  เมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่ากลุ่มที่ความเสี่ยงสูง ถึงเสี่ยงสูงอันตราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง


จากผลการศึกษาดังกล่าว ควรดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ถึงเสี่ยงสูงอันตราย ควรจะดำเนินการเป็นกลุ่มแรกๆ

Article Details

How to Cite
1.
ขุนทรงอักษร อ. ความเสี่ยงและการรับรู้สัญญาณเตือนต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่. Kb. Med. J. [อินเทอร์เน็ต]. 31 มกราคม 2022 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];4(1):33-46. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/254398
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันอัมพาตโลกปี 2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต. (ออนไลน์) 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=49435

พัชราภรณ์ สมหาญวงค์,วารินทร์ บินโฮเซ็น และนํ้าอ้อย ภักดีวงศ์. สถานการณ์ของการจัดการดูแลผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษา ที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555; 30 (2), 101-110.

Sukkhumanpitak J, Nantsupawat W, Hornboon¬herm P. Development of a Care Model for Male Stroke Patients in Secondary Hospital Using A Participatory Action Research. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division, 2012; 30(1), 32-38.

นิจศรี ชาญณรงค์. รู้เร็วรอด! "หลอดเลือดสมอง" ครองแชมป์สาเหตุผู้สูงอายุ พิการ-เสียชีวิต. (ออนไลน์) 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/ 10/20381

โรงพยาบาลคลองท่อม. รายงานสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน. 2563.

Shephard, T. J. Exploratory Investigation of a Model of Patient Delay in Seeking Treatment after the Onset of Acute Ischemic Stroke. Doctoral dissertation, Virginia Commonwealth University School of Nursing. 2004.

เจษฎา อุดมมงคล. การรักษาหลอดเลือดสมอง. (ออนไลน์) 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/10/20381

National Stroke Association. Type of Stroke. (Online) 2013. [cited 2020 August, 15] Avaliable from http://www.stroke.org/site/ PageServer? Pagename=TYPE

Yamane, T. Statistics : An Introductory Analysis. London : John Weather Hill,Inc. 1967.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และเดือนเพ็ญ ศรีขา. ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2555; 24(3), 60-70.

กัลย์สุดา สารแสน, สุรินธร กลัมพากร, จุฑาธิป ศีลบุตร. ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในพนักงานธนาคารกลุ่มเสี่ยงและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. (ออนไลน์) 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://thaiphn.org/journal/thai/2562/jounal1_62

Becker , M.H. Theoretical Model of Adherence and Strategies. In Shumaker S.A., E.B.Schron, &J.K.Ockene (Eds), The Handbook of Health Behaviors Change. New York : Springer Publishing. 1990.

อุมาพร แซ่กอ. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2557; 6(2), 13-23.