ผลของการทำ Therapeutic Apheresis ต่อผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาที่มารับการรักษา โรงพยาบาลกระบี่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2566

Main Article Content

Kanoksak Wisutthisup
วิภา ไพรเถื่อน

บทคัดย่อ

การทำ Therapeutic Apheresis เป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยการแยกเอาส่วนประกอบที่อยู่ในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว น้ำเหลือง สารที่อยู่ในน้ำเหลืองซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออกจากตัวผู้ป่วย Apheresis ในระยะยาวจะช่วยให้ผู้ป่วยเรื้อรังลดขนาดยากดภูมิต้านทาน เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ลดระยะเวลาการรักษาเป็นผู้ป่วยใน รวมทั้งส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) มุ่งศึกษาผลของการทำ Therapeutic Apheresis ต่อผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาที่มารับการรักษาโรงพยาบาลกระบี่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2559–2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยด้วยการแยกเอาส่วนประกอบที่อยู่ในเลือด และ (2) ศึกษาอาการข้างเคียงของการรักษาผู้ป่วยด้วยการแยกเอาส่วนประกอบที่อยู่ในเลือด ระยะเวลาดำเนินการวิจัยเดือนธันวาคม 2566 ถึง มีนาคม 2567   กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรค Thrombotic Thrombocytopenic Purpura (TTP) และ Autoimmune Hemolytic Anemia (AIHA) ที่รักษาเป็นผู้ป่วยในและได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Therapeutic apheresis จำนวน 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจาก  เวชระเบียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าพิสัย


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Therapeutic Plasma Exchange (TPE) จำนวน 9 ราย รอดชีวิตและกลับบ้านได้ จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 88.89) และเสียชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 11.11) ซึ่งในผู้ป่วยที่รอดชีวิตมี 1 ราย ที่ยกเลิกการทำ TPE เนื่องจากก่อนทำมีค่าเฉลี่ย Lactate dehydrogenase (LDH) เท่ากับ 1,688 U/L หลังทำลดลงเหลือเท่ากับ 919 U/L (ค่าปกติ < 247 U/L) ค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hct) ต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมดก่อนทำ TPE ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20% หลังทำเพิ่มขึ้นเป็น 21% (ค่าปกติ 35-48 %) และค่าเกล็ดเลือด (Platelet) ก่อนทำ TPE ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 50,556 cell/mm3 หลังทำเพิ่มขึ้นเป็น 95,778 cell/mm3 (ค่าปกติ Platelet 140,000-400,000 cell/mm3) ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยทั้ง 9 ราย ด้วยวิธีการ TPE พบผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 33.33) โดยมีผื่นคัน 2 ราย และมีอาการชักเกร็ง ขากระตุก ร่วมกับมีผื่นคัน 1 ราย


          ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการทำ Therapeutic Apheresis ต่อผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยามีประสิทธิผลในการรักษาโรค TTP และ AIHA แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรพิจารณานำเอากระบวนการ TPE มาใช้เป็นการรักษาหลัก (First-line therapy) ในกลุ่มผู้ป่วยโรค TTP และโรค AIHA และในกระบวนการลด Complication ควรพิจารณาให้ 10% calcium Gluconate ร่วมด้วย เพื่อช่วยป้องกันภาวะ Hypocalcemia ในผู้ป่วย และใช้ FFP จาก donor เพศชาย เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
1.
Wisutthisup K, ไพรเถื่อน ว. ผลของการทำ Therapeutic Apheresis ต่อผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาที่มารับการรักษา โรงพยาบาลกระบี่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2566. Kb. Med. J. [อินเทอร์เน็ต]. 21 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];7(1):45-5. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/269899
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Schwartz J, Padmanabhan A, Aqui N, Balogun RA, ConnellySmith L, Delaney M, et al. Guidelines on the Use of Therapeutic Apheresis in Clinical Practice-Evidence-Based Approach from the Writing Committee of the American Society for Apheresis: The Seventh Special Issue. J Clin Apher. 2016;31:149-62.

Schwartz J, Padmanabhan A, Aqui N, et al. Guidelines on the Use of Therapeutic Apheresis in Clinical Practice-Evidence-Based Approach from the Writing Committee of the American Society for Apheresis: The Seventh Special Issue. J Clin Apher. 2016;31(3):149-62. doi:10.1002/jca.21470

สุรัชดา ชนโสภณ, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน, ภูษิต ประคองสาย, ธนวรรณ ปรีพูล, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, กุมารี พัชนี, และคณะ. การศึกษาประสิทธิผลและการประเมินความคุ้มค่าการรักษาด้วยเครื่องพลาสมาเฟเรซิส [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พ.ค. 14]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5240?locale-attribute=th

ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การรักษาผู้ป่วย ด้วยเทคนิค Apheresis [อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พ.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://labmed.md.chula.ac.th/2023/05/04/การรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิค Apheresis /

Mc Cullough J. Therapeutic apheresis. Transfusion Medicine. 2ndeds. Elsevier Churchill livingstone 2005;520-3.

Owen HG, Brecher ME. Management of the therapeuticapheresis patient. Apheresis : Principle and practice.Bethesda : AABB press 1997:228-9.

Rolf B, V Koukline, Uri U, Edvard N. Plasmapheresis in severe sepsis and septic shock: a prospective, randomised, controlled trial. Intensive Care Med, 2002;28:1434-9.

สมใจ สมบัตินิมิตสกุล, ศิริพร ณ ถลาง,ราศี คงรักษา, ภาวิณี คุปตวินทุ, จุฑาทิพย์ ฟองศรัณย์, รัชนี โอเจริญ และคณะ. ประสบการณ์การทำ Therapeutic Apheresis ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. J Hematol Transfus Med. 2006;16(3):201–2.

Therapeutic Plasma Exchange: Complications and Management. American Journal of Kidney Diseases. 1994 Jun 1;23(6):817–27.

Anand Padmanabhan , Laura Connelly-Smith , Nicole Aqui , Rasheed A Balogun , Reinhard Klingel , Erin Meyer , et al. Guidelines on the Use of Therapeutic Apheresis in Clinical Practice – Evidence‐Based Approach from the Writing Committee of the American Society for Apheresis: The Eighth Special Issue. Padmanabhan - 2019 - Journal of Clinical Apheresis - Wiley Online Library [Internet]. 2019 [cited 2024 Mar 17]. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/jca.21705