ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตในโรงพยาบาลตรัง

Main Article Content

ชาญณรงค์ วโรตมะวิชญ

บทคัดย่อ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตในโรงพยาบาลตรัง


วัตถุประสงค์


การผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง การศึกษานี้ต้องการที่จะหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอ


วิธีการศึกษา


การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อศึกษาผู้ป่วย48คนที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2563 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566 ที่โรงพยาบาลตรัง ผู้ป่วยได้รับการดมยาสลบทั้งร่างกายด้วยวิธีใส่ท่อช่วยหายใจ ในท่าขึ้นขาหยั่งได้รับการผ่าตัดรักษาโดยแพทย์ทางเดินปัสสาวะคนเดียว ปัจจัยเสี่ยงก่อนและระหว่างการผ่าตัดถูกเก็บบันทึกเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่พบกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย และกลุ่มที่ไม่พบ


ผลการศึกษา


อุบัติการณ์ของการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตเป็น 47.9%  ในการวิเคราะห์การทดสอบแบบตัวแปรเดียว พบว่า ดัชนีมวลกาย ≥25 kg/m2 , เวลาผ่าตัดที่ ≥ 90 นาที  การเพาะเชื้อปัสสาวะก่อนผ่าตัดให้ผลบวก เป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.002 , p=0.021 , p=0.000 ตามลำดับ ) ซึ่งในการวิเคราะห์หลายตัวแปรยืนยันปัจจัยเสี่ยงทั้งสามปัจจัยเหล่านี้ (p=0.044,p=0.040,p=0.001 ตามลำดับ )


สรุป


ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย ≥25 kg/m2 , เวลาผ่าตัดที่ ≥ 90 นาที  หรือการเพาะเชื้อปัสสาวะก่อนผ่าตัดให้ผลบวกควรเฝ้าระวังกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไต

Article Details

How to Cite
1.
วโรตมะวิชญ ช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายตามหลังการผ่าตัดส่องกล้องชนิดโค้งงอสำหรับนิ่วในท่อไตส่วนบนและนิ่วในไตในโรงพยาบาลตรัง. Kb. Med. J. [อินเทอร์เน็ต]. 1 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];6(2):57-66. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/265921
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Basatac C, Ozman O, Çakır H, Çınar O, Akgul HM, Sıddıkoglu D, et al. Retrograde intrarenal surgery is a safe procedure in severe obese patients: Is it reality or prediction? A propensity score-matching analysis from RIRSearch Study Group. Journal of Endourology. 2022 Jul 1;36(7):891-7.

Cho SY, Choo MS, Jung JH, Jeong CW, Oh S, Lee SB, et al. Cumulative sum analysis for experiences of a single-session retrograde intrarenal stone surgery and analysis of predictors for stone-free status. Plos one. 2014 Jan 14;9(1):e84878

De S, Autorino R, Kim FJ, Zargar H, Laydner H, Balsamo R, et al. Percutaneous nephrolithotomy versus retrograde intrarenal surgery: a systematic review and meta-analysis. European urology. 2015 Jan 1;67(1):125-37.

Demir DO, Doluoglu OG, Yildiz Y, Bozkurt S, Ayyildiz A, Demirbas A. Risk factors for infectious complications in patients undergoing retrograde intrarenal surgery. J Coll Physicians Surg Pak. 2019 Jun 1;29(6):558-62.

Gao XS, Liao BH, Chen YT, Feng SJ, Gao R, Luo DY, et al. Different tract sizes of miniaturized percutaneous nephrolithotomy versus retrograde intrarenal surgery: a systematic review and meta-analysis. Journal of Endourology. 2017 Nov 1;31(11):1101-10.

Kim DS, Yoo KH, Jeon SH, Lee SH. Risk factors of febrile urinary tract infections following retrograde intrarenal surgery for renal stones. Medicine. 2021 Apr 4;100(13).

Kwon YE, Oh DJ, Kim MJ, Choi HM. Prevalence and clinical characteristics of asymptomatic pyuria in chronic kidney disease. Annals of laboratory medicine. 2020 May;40(3):238-44.

Levy MM, Fink MP, Marshall JC, Abraham E, Angus D, Cook D, et al. 2001 sccm/esicm/accp/ats/sis international sepsis definitions conference. Critical care medicine. 2003 Apr 1;31(4):1250-6.

Mancini V, Cormio L, d’Altilia N, Benedetto G, Ferrarese P, Balzarro M, et al. Retrograde intrarenal surgery for symptomatic renal sinus cysts: long-term results and literature review. Urologia Internationalis. 2018 Aug 22;101(2):150-5.

McDougal WS, Wein AJ, Kavoussi LR, Partin AW, Peters CA. Campbell-Walsh Urology 11th Edition Review E-Book. Elsevier Health Sciences; 2015 Sep 25.

Skolarikos A, Neisius A, Petrík A, Somani B, Thomas K, Gambaro G, et al. InEAU Guidelines. Edn. presented at the EAU Annual Congress Amsterdam 2022.

Takayasu H, Aso Y, Takagi T, Go T. Fiberoptic pyeloureteroscope. Surgery. 1971;70:661-3.

Zhang H, Jiang T, Gao R, Chen Q, Chen W, Liu C, et al. Risk factors of infectious complications after retrograde intrarenal surgery: a retrospective clinical analysis. Journal of International Medical Research. 2020 Sep;48(9):0300060520956833.

Zhong W, Leto G, Wang L, Zeng G. Systemic inflammatory response syndrome after flexible ureteroscopic lithotripsy: a study of risk factors. Journal of Endourology. 2015 Jan 1;29(1):25-8.