ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำของพนักงานขับรถบรรทุกในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พูลศักดิ์ แข่งขัน
นิสากร กรุงไกรเพชร
ยุวดี ลีลัคนาวีระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดชลบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Binary Logistic Regression ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%CI


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมที่ระดับเสี่ยง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ต่อเดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท (ORadj=2.15, 95% CI=2.20–3.88, p=.01) ประสบการณ์การทำงานขับรถบรรทุกมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี (ORadj=2.83, 95%CI=1.02-7.85, p=.04) การรับรู้ระดับสุขภาพโดยรวมระดับดีถึงดีมาก (ORadj=1.69, 95% CI=1.07-2.67, p=.025) การรับรู้กฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถระดับดี (ORadj=1.82, 95%CI=1.05-3.14, p=.033) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงถึงสูงมาก (ORadj=2.78, 95% CI=1.74-4.45, p<.001) และความตั้งใจเลิกดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงถึง สูงมาก (ORadj=2.62, 95% CI=1.67-4.11, p<.001)


ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการรับรู้กฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถบรรทุก การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ และให้การสนับสนุนความตั้งใจเลิกดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานขับรถบรรทุกที่มีประสบการณ์มากกว่า 2 ปี เป็นแบบอย่างในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานขับรถบรรทุก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก, กองแผนงาน, กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2563). ใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ. https://web.dlt.go.th/statistics/#.

กิตติพงษ์ พลทิพย์. (2562). การพัฒนารูปแบบลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ดวงพร ชี้แจง. (2559). การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในกลุ่มพนักงานขับรถบรรทุก (ตู้คอนเทนเนอร์) ภายในท่าเรือแหลมฉบัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนัตถ์ภัทร ถิรธนัชดิลก และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2563). องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีในมุมมองของพนักงานขับรถบรรทุกในประเทศไทย: การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฏีฐานราก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 10(2), 175-188.

นันทพร ภัทรพุทธ, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์ และวัลลภ ใจดี. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จ. ชลบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประคอง ชื่นวัฒนา และปนัดดา ชำนาญสุข. (ม.ป.ป.). คนขับรถบรรทุก: อุบัติเหตุจราจรในบริบทสังคมและวัฒนธรรม. ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.), มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.).

ปริทรรศ ศิลปกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2552). แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ. แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส).

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์และคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 275-287.

วรชัย บุญฤทธิผล. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานขับรถบรรทุก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2565). แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กรมการขนส่งทางบก, สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก. (2565). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจากรถบรรทุก ประจำปีงบประมาณ 2565. https://web.dlt.go.th/statistics/index.php.

สิทธินันท์ ตัณจักรวรานนท์. (2564). ปัจจัยการเลิกดื่มสุราและแนวโน้มช่วงเวลาในการเลิกดื่มสำเร็จของผู้มารับบริการที่คลินิกสุขภาพใจโรงพยาบาลสระบุรีระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(4), 455-468.

อนันญา ดีปานา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานห้างสรรพสินค้าในจังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes. ELSEVIER, 50(2), 179-211. https://doi.org/10.1016/0749-5978(91)90020-T

Borges, G., Monteiro, M., Cherpitel, C. J., Orozco, R., Ye, Y., Poznyak, V., Peden, M., Pechansky, F., Cremonte, M., Reid, S. D., & Mendez, J. (2017). Alcohol and Road Traffic Injuries in Latin America and the Caribbean: A Case-Crossover Study. Alcoholism: Clinical and Experimental Research, 41(10), 1731-1737. https://doi.org/10.1111/acer.13467

Domingos, J., Pillon, S., Santos, M., Santos, R., Jora, N., & Ferreira, P. (2014). Alcohol use and health conditions among truck drivers. Revista Enfermagem UERJ, 22, 886-892.

Gemes, K., Moeller, J., Engstrom, K., & Sidorchuk, A. (2019). Alcohol consumption trajectories and self-rated health: findings from the Stockholm Public Health Cohort. BMJ Open, 9, e028878. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2018-028878

Girotto, E., Andrade, S. M. d., Mesas, A. E., Gonzalez, Alberto D., & Guidoni, C. M. (2015). Working conditions and illicit psychoactive substance use among truck drivers in Brazil. Occupational and Environmental Medicine, 72(11), 764-769.

Kim, S. Y., Jeong, S. H., & Park, E. C. (2023). Age at onset of alcohol consumption and its association with alcohol misuse in adulthood. Neuropsychopharmacol Rep, 43(1), 40-49. https://doi.org/10.1002/npr2.12302

Nagappa, B., Marimuthu, Y., Sarweswaran, G., Sakthivel, M., Krishnamoorthy, Y., & Rehman, T. (2020). Willingness to quit alcohol use and its associated factors among male outpatients attending urban primary health centers in Delhi. Journal of Education and Health Promotion, 9(1), 252. https://doi.org/10.4103/jehp.jehp_486_19

Negi, N., Schmidt, K., Morozova, I., Addis, T., Kidane, S., Nigus, A., Kumar, N., Mullin, S., & Murukutla, N. (2020). Effectiveness of a Drinking and Driving Campaign on Knowledge, Attitudes, and Behavior Among Drivers in Addis Ababa. In Goniewicz K. (E.D.), Frontiers in Sustainable Cities (pp. 563350). frontiers. https://doi.org/10.3389/frsc.2020.563350. https://www.frontiersin.org/journals/sustainable-cities/articles/10.3389/frsc.2020.563350/full

Okafor. K. C. (2023). Alcohol Use Disorder Identification Test (AUDIT) In Assessing Alcohol Use Disorder Among Commercial Long-Distance Truck Drivers In Benin City, Edo State, Nigeria. Journal Of Community Medicine And Public Health Reports, 4(4). https://doi.org/10.38207/JCMPHR/2022/JUL04040477

Probst, C., Parry, C. D. H., Wittchen, H. U., & Rehm, J. (2018). The socioeconomic profile of alcohol- attributable mortality in South Africa: a modelling study. BMC Medicine, 16(1), 97. https://doi.org/10.1186/s12916-018-1080-0

Punia, M., Punia, A., Anish, Mayank, Sanjeet, Sanjay, K., Jha, S., & Babita. (2020). Alcohol and drug intake pattern among truckers of Haryana, India. International Journal of Community Medicine and Public Health, 7(3), 1026-10331. https://doi.org/10.18203/2394-6040. ijcmph20200960

Remmerswaal, D., Jongerling, J., Jansen, P., Eielts, C., & Franken, I. H. A. (2019). Impaired subjective self-control in alcohol use: An ecological momentary assessment study. Drug and Alcohol Dependence, 204, https://doi.org/10.1016/j.drugalcdep.2019.04.043