การประเมินความพร้อมทางสุขภาพในการทำงานในที่อับอากาศ: การศึกษาในคลินิกอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ฤทัยรัตน์ แก้วกุล
ภรณ์ทิพย์ พิมดา
ธนิดา บุตรคล้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาหาสัดส่วนผู้ที่มีความพร้อมทางสุขภาพในการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นงานที่ต้องได้รับการประเมินสุขภาพก่อนเข้าทำงานด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย จากข้อมูลการตรวจก่อนเข้างานในคลินิกอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และศึกษาลักษณะทางสุขภาพที่มีผลให้ไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ หรือทำงานได้อย่างจำกัด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ลักษณะการทำงาน ผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เข้ารับการประเมินความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศจำนวน 50 คน ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 33 ปี เป็นเพศชาย 48 คน ร้อยละ 96.00 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 10.00 ประเภทของที่อับอากาศเป็นถังน้ำ ร้อยละ 24.00 ลักษณะทางเข้าออก เป็นวิธีการคลาน ร้อยละ 34.00 ลักษณะงาน มีการก่อประกายไฟร่วมกับเชื่อมโลหะ ร้อยละ 78.00 ระบบความปลอดภัยมีการอบรมความปลอดภัยก่อนเข้าทำงาน มีสัญญาณเตือน และมีผู้ดูแลปากทางเข้าออกทั้งหมด และสวมหน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้า ร้อยละ 38.00 และแบบเต็มหน้า ร้อยละ 2.00 พบผู้ที่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ ร้อยละ 74.00 และมีผู้ที่ไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ (unfit to work) ร้อยละ 26.00 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตสูง ร้อยละ 12.00 สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกลของตาทั้ง 2 ข้าง ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 8.00 ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 35 kg/m2 ร้อยละ 2.00 คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติร่วมกับมีอาการ ร้อยละ 2.00 และสมรรถภาพปอดผิดปกติ ร้อยละ 2.00 โดยสรุปจะเห็นได้ว่าสาเหตุหลักของการไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ คือความดันโลหิตสูง และสาเหตุรองคือความผิดปกติของการมองเห็น ซึ่งสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ และสามารถกลับมาประเมินการซ้ำได้เมื่อได้รับการรักษาหรือการแก้ไข คลื่นฟ้าฟ้าหัวใจก็เป็นสาเหตุที่พบได้อาจส่งปรึกษาอายุรแพทย์และตรวจเพิ่มเติม ความผิดปกติของระบบอื่นๆ ที่พบเพียงเล็กน้อยอาจไม่เป็นข้อจำกัดของการทำงานในที่อับอากาศ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภรณ์ทิพย์ พิมดา

Occupational Medicine Physician, M.D., M.Sc. (Occupational Medicine) Occupational Health Unit, Maharat Nakhon Ratchasrima hospital Tel.085-0039494

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. (2563, 5 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 80 ก.. หน้า 30-33.

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562. (2562, 15 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 18 ก. หน้า 12-18.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. (2566). ความพร้อมในการทำงาน Fit for work. เอ.เจ. กรุ๊ป 1972.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2562, 6 กุมภาพันธ์). สถานการณ์การเสียชีวิตและมาตรการป้องกันอันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ. https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/473-2019-02-06-07-31-58.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. ทริค ธิงค์.

สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. (2557). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอสชีวอนามัย. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

แสงโฉม เกิดคล้าย. (2549). สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงานในที่อับอากาศ – รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ปีที่ 37 ฉบับที่ 4S. กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา.

Chernbamrung, T. (2014). Health assessment for confined space work permit at a regional hospital in Thailand. Thammasat Medical Journal, 15(1), 12-20.

Department of Occupational Safety and Health. (2010). Industry code of practice for safety working in confined space 2010. Ministry of Human Resources.

Health and Safety Authority. (2017). Code of practice for working in confined spaces. Health and Safety Authority.

National Fire Protection Association. (2016). NFPA (fire) 350: Guide for safe confined space Entry and Work 2016. NFPA.

National Fire Protection Association. (2018). 1404: Standard for fire service respiratory protection training. NFPA.

National Institute for Occupational Safety and Health. (1979). criteria for a recommended standard: Working in confined spaces. NIOSH.

Occupational Safety and Health Administration. (2004). Permitted-required confined spaces. OSHA.

Occupational Safety and Health Branch, Labour Department. (2000). Code of practice: Safety and health at work in confined spaces. Occupational Safety and Health Branch, Labour Department.

Occupational Safety and Health Branch, Labour Department. (2010). Code of practice: Safety and health at work in confined spaces. Hong Kong. Occupational Safety and Health Branch, Labour Department.