การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่มีการระบาดระยะแยกโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) วิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนการบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรีในระยะแรกของการระบาด ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่มารับการคัดกรองด้วยแนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกที่โรงพยาบาลจำนวน 45 ราย โดยศึกษาต้นทุนทางบัญชีด้วยวิธีการกระจายต้นทุนโดยคำนวณเป็นต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุน และต้นทุนรวมต่อหน่วย สำหรับจุดคุ้มทุนกำหนดที่ระดับรายได้เท่ากับต้นทุน เครื่องมือประกอบด้วยพจนานุกรมกิจกรรม แบบบันทึกข้อมูลต้นทุน การตรวจสอบความตรงและความเที่ยงมีค่า 1.0 และการวิเคราะห์ต้นทุนทางสถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนรวมบริการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเงิน 787.47 บาทต่อราย ต้นทุนทางตรงมีต้นทุนการนำส่งสิ่งส่งตรวจสูงสุดคือ 639.03 บาทต่อราย และมีต้นทุนแปรผันที่ 401.16 บาทต่อราย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวโรงพยาบาลจัดเก็บค่าบริการที่รัฐบาลกำหนด 100 บาทต่อราย และในระยะต่อมารัฐบาลได้ปรับเพิ่มเป็น 540 บาทต่อรายทำให้ 2) จุดคุ้มทุนเมื่อจัดบริการอยู่ที่จำนวน 125 ราย การวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหากเกิดสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ขึ้นในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมการแพทย์. (2563, 1 พฤษภาคม). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19. https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=69.
ขวัญหทัย มิตรภานนท์. (2560). การบัญชีต้นทุน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ชุติมา ภมรพันธ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(4), 248-260.
ธาริต มงคล. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของคลินิกตรวจโรคระบบทางเดินหายใจเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลบางบัวทอง นนทบุรี ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). (2563, 26 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1.
วัฒนา ทองประยูร. (2547). การบัญชีต้นทุน 2 (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กลุ่มตรวจสอบภายใน. (2559, 23 กุมภาพันธ์). หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://iad.moph.go.th/main/download/หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเส/.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จ.เพชรบุรี. http://pbio.moph.go.th/pbroSection.php?section=COVID-19.
องค์การอนามัยโลก. (2562). โรคโควิด-19 คืออะไร. https://www.who.int/docs/default-source/searo/ thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0.
Bartsch, S. M., Ferguson, M. C., McKinnell, J. A., O'shea, K. J., Wedlock, P. T., Siegmund, S. S., & Lee, B. Y. (2020). The potential health care costs and resource use associated with COVID-19 in The United States. Health Affairs, 39(6), 927-935.
Minhas, N., Gurav, Y. K., Sambhare, S., Potdar, V., Choudhary, M. L., Bhardwaj, S. D., & Abraham, P. (2023). Cost-analysis of Real Time RT-PCR test performed for COVID-19 diagnosis at India’s National Reference Laboratory during the early stages of pandemic mitigation. PLOS ONE, 18(1). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0277867
Yigezu, A., Zewdie, S. A., Mirkuzie, A. H., Abera, A., Hailu, A., Agachew, M., & Memirie, S. T. (2022). Cost-analysis of COVID-19 sample collection, diagnosis, and contact tracing in low resource setting: The case of Addis Ababa, Ethiopia. PLOS ONE, 17(6). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0269458