การพัฒนาระบบจัดยาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อลดความคลาดเคลื่อนยาชื่อพ้อง มองคล้าย และระยะเวลาการรอคอย โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พัชร์สิตา ศรียาชีพ
พาณี สีตกะลิน
อารยา ประเสริฐชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาโดยการพัฒนาระบบจากการประยุกต์ใช้ระบบลีนในแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน และ 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วยโดยการพัฒนาระบบจากการประยุกต์ใช้ระบบลีน


             การศึกษาวิจัยเชิงพัฒนานี้มีประชากร คือ ใบสั่งยาจำนวน 195 ใบสั่ง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากการคำนวณได้จำนวน 191 ใบในช่วงเวลา 09.00 ถึง 12.00 น. วันราชการ ของแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลา 30 วัน โดยเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดของยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบฟอร์มการจดความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการและระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วย และการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ประยุกต์ใช้ระบบลีนแก่บุคลากรที่รับผิดชอบในแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกเป็นเวลา 2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง แล้วฝึกปฏิบัติจริงในชั่วโมงการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา และวิลคอกซัน


            ผลการศึกษาจากระบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การปรับปรุงฉลากยา การจัดวางช่องเก็บยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายให้อยู่ห่างกัน การใส่หมายเลขหน้าชื่อยาบนสติ๊กเกอร์ยาให้ตรงกับป้ายชื่อยาที่ช่องเก็บ และการจัดยารอผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะมาติดต่อรับยา พบว่า 1) ความคลาดเคลื่อนยาที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนประยุกต์ใช้ระบบลีนพบความคลาดเคลื่อนยาที่มีชื่อพ้องมองคล้าย จำนวน 31.41 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา และระยะเวลาในการรอคอยรับยาเฉลี่ย 25.59 นาที และหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติเชิงการแล้วคลาดเคลื่อนลดลงเหลือ 20.94 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา และระยะเวลาในการอคอยการรับยาลดลงเหลือเฉลี่ย 14.72 นาที และ 2) เมื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลังถึงแม้จะมีจำนวนลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญศรี ชินวรากร. (2559). การปรับลดระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 4(18), 661-741.

ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต. (2556). การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัย ของยาที่มีรูปคล้าย เสียงพ้อง ในโรงพยาบาลรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดือนเด่น บุญรังสรรค์. (2553). การพัฒนาระบบสั่งจ่ายยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษา ณ โรงพยาบาลสวนผึ้ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7982?locale-attribute=th

ปริญดา จันทร์บรรเจิด, บุษรา วาจาจำเริญ, จิราพร คำแก้ว, อาทิตยา ไทพาณิชย์, อรรถยา เปล่งสงวน และนิตยา ภาพสมุทร. (2555). การศึกษาผลการออกแบบระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยการลดความสูญเปล่าในระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 7(4), 162-166.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก. (2561). สถานการณ์ยาชื่อพ้องมองคล้ายในประเทศไทย. วารสาร มฉก., 22(43), 205-216.

พอพล อุยยานนท์. (2558). การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุดจังหวัดระยอง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(91), 315-330.

วรัญญา ญาติปราโมทย์. (2562). การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 20-30.

ศศินภา บุญพิทักษ์ และกรณ์ปภพ รัตนวิจิตร. (2558). การประยุกต์ใช้แนวความคิดลีนเพื่อลดเวลาปัญหารอคอย (กรณีศึกษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี). สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. https://eresearch.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=1056& depid=7

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดถัยของผู้ป่วย ของประเทศไทย พ.ศ.2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.

สุรีรัตน์ ลำเลา และระพีพรรณ ฉลองสุข. (2560). การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(3), 117-137.

Alam, S., Osama, M., Iqbal, F., & Sawar, I. (2018). Reducing pharmacy patient waiting time. International journal of health care quality assurance, 31(7), 834-844.

Alodan, A., Alalshaikh, G., Alqasabi, H., Alomran, S., Abdelhadi, A., & Alkhayyal, B. (2020). Studying the efficiency of waiting time in outpatient pharmacy. MethodsX, 7, 100913. https://doi.org/10.1016/j.mex.2020.100913

Chen, C. Y., Chen, Y. L., Scholl, J., Yang, H. C., & Li, Y. C. J. (2024). Ability of machine-learning based clinical decision support system to reduce alert fatigue, wrong-drug errors, and alert users about look alike, sound alike medication. Computer Methods and Programs in Biomedicine, 243, 107869. https://doi.org/10.1016/j.cmpb.2023.107869

Lawal, A. K., Rotter, T., Kinsman, L., Sari, N., Harrison, L., Jeffery, C., Kutz, M., Khan, M. F., & Flynn, R. (2014). ean management in health care: definition, concepts, methodology and effects reported (systematic review protocol). Systematic Reviews, 3(1), 1-6. https://doi.org/10.1186/2046-4053-3-103

Lizano-Diez, I., Figueiredo-Escriba, C., Pinero-Lopez, M. A., Lastra, C. F., Marino, E. L., & Modamio, P. (2020). Prevention strategies to identify LASA errors: building and sustaining a culture of patient safety. BMC health services research, 20, 1-5. https://doi.org/10.1186/s12913-020-4922-3

Mohammad, H. A., Abdallah, Y. N., Hadi., S., A., Hamad, S., A., Abdullah, H. A., & Hadi, J. A. S. (2022). Medication errors in Najran, Saudi Arabia: Reporting, responsibility, and characteristics: A cross-sectional study. Saudi Pharmaceutical Journal, 30(4), 329-336. https://doi.org/10.1016/j.jsps.2022.02.005

United Nations. (2007, May 2). UN health agency launches nine solutions to save patients’ lives. https://news.un.org/en/story/2007/05/217532.

He, W., Xu, Q., Yang, J., & Liu, F. (2020, May 8). Optimize Outpatient Pharmacy Service Process: Shorten Waiting Time and Improve Patient Satisfaction. Research Square, https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-23630/v1.