ผลการใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

Main Article Content

จุฑารัตน์ เสรีวัตร
กิตติ ลี้สยาม
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม
อรชดา สิทธิพรหม
พีรดา ดามาพงษ์
พงศ์มาดา ดามาพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 2) ประเมินทักษะ เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชันเรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช จำนวน 30 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้โดยใช้โมบายแอปพลิเคชันเรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 2) แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยใช้ระยะเวลาทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ทักษะของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชันในการเรียน เรื่อง การนวดไทย เพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา แข็งแรง. (2552). การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาวเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนา เทียนลาย. (2561, เมษายน 10). การใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล, https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=49.

กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง, ศิรพร อ่วมศิริ, กรรณิการ์ ตาละลักษมณ์ และธมลวรรณ ทับพึง. (2565). โมบายแอปพลิเคชันภาษาจีน– ภาษาอังกฤษ สําหรับการสื่อสารของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อรองรับโอกาสในการจางงาน กรณีศึกษาพื้นที่ชะอําและหัวหิน. Life Sciences and Environment Journal, 23(2), 437-450. https://doi.org/10.14456/lsej.2022.33

ดำรงศักดิ์ ทรัพย์เขื่อนขันธ์. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องการนวดไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

ฐิติชัย รักบำรุง. (2555). การเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 31-40.

นพพร ชายหอมรส. (2564). การศึกษาประสิทธิภาพผลของการนวดไทยแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนักในการลดอาการปวดบ่า ต้นคอและศีรษะโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 7(1), 67-84.

ปัญจมา ตันวัฒนะพงษ์. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดคอ ปวดไหล่และปวดบริเวณแขนถึงปลายมือในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(1), 31-40.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2564, 20 ตุลาคม). โทรศัพท์ : ปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=523.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาบนระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 3(1), 38-49.

พีรดา จันทร์วิบูลย์ และศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2552). รายงานการวิจัยประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรทวี เลิศศรีสถิต และสุชีลา จันทร์วิทยานุชิต. (ม.ป.ป.). ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามธิบดี, https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/ files/public/pdf/medicinebook1/NSAIDS.pdf.

พรเพชร ตะเคียนราม และรัตนาวดี เถกิงสุขวัฒนา. (19 มกราคม, 2562). การพัฒนาแอปพิเคชั่นเรื่อง การนวดกดจุดสะท้อนเท้าเพื่อสุขภาพ [Paper]. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำนักงานอธิการบดี, กองแผนงาน. (2563). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และการถ่ายทอดสู่กิจกรรม โครงการในแผนพัฒนาฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565). สถาบันวิจัยและพัฒนา มสธ., https:/ird.stou.ac.th/wp-content/ uploads/2020/11/แผน-ยศ.-20-ปี-ฉบับรายละเอียด.pdf.

วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2555). รายงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมบายแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ต. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทยและชมรมผู้สนใจปัญหาปวดกล้ามเนื้อแห่งประเทศไทย. (2563). Recommendations for the Treatment of Myofascial Pain Syndrome & Fibromyalgia. เพนตากอล แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง.

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). สัญญาณอันตรายอาการปวดคอและการรักษาอาการปวดคอ. https://www.thairheumatology.org/index.php?view=article&id=27:1-15&catid=13.

สมยศ จันทร์บุญ, นิรัตน์ ทองขาว และสุริยา เกษตรสุขถาวร. (2564). การสร้างและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน S-P-A เพื่อส่งเสริมการสื่อสารภาษาจีนสำหรับการให้บริการของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 15(2), 11-25.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2565. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=573.

AlKasasbeh, W. J., & Amawi, A. T. (2023). The Effectiveness of Using Mobile Learning Application on Undergraduates’ Intrinsic Motivation and Their General Nutrition Knowledge. International Journal of Interactive Mobile Technologies (iJIM), 17(17), 19-37. https://doi.org/10.3991/ijim.v17i17.40959

Wang, Y., Su, P., Liu, X., Zhao, X., Jiao, F., Liu, G., & Wang, C. (2022). Motivation of Students’ Persistency for Online Learning under Multiple Mediation Effect. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET), 17(07), 260-274. https://doi.org/10.3991/ijet.v17i07.30399