ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงานกับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พรภิไล ถนอมสงัด
นันทิดา โหวดมงคล
ดวงรัตน์ เสือขำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงานกับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิ ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง 158 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบพกพา แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และเครื่องสไปโรมิเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ T-test และ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ที่เกิดจากการทำศาลพระภูมิแบบประเพณีไทยและแบบร่วมสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.344 ± 0.262 และ 0.609 ± 1.153 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติมีค่าไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 67.7 อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ อาการจาม ร้อยละ 36.1 ระคายเคืองจมูก ร้อยละ 21.5 คัดจมูก ร้อยละ 19.6 ไอไม่มีเสมหะ ร้อยละ 15.2 และเหนื่อยหอบ หายใจถี่ ร้อยละ 15.2 การประเมินสมรรถภาพปอดในกลุ่มตัวอย่าง 76 คน พบว่า มีความผิดปกติ ร้อยละ 56.6 เป็นความผิดปกติชนิดจำกัดการขยายตัว ร้อยละ 52.6 และแบบผสม ร้อยละ 4.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน การทำงานในขั้นตอนเตรียมผสมปูน และลักษณะสถานที่ทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของสมรรถภาพปอด ได้แก่ เพศ และการทำงานในขั้นตอนหล่อปูนลงในแบบพิมพ์ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิควรมีการป้องกันเพื่อลดการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองโดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ และจัดสถานที่ทำงานให้มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, ณัฐกานต์ ศรีสกุลเตียว และเบญจมาศ สุคันโท. (2562). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจของพนักงานในโรงงานสีข้าวแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(5), 482-489.

บัณฑิต ทองสงฆ์, ยุทธนา กาเต็ม, เสกสรรค์ สนวา, สุธานี มะลิพันธ์, กฤษฎา สิริพัฒนโชติกุล, รจนา นิลมานนท์, วิภานันท์ ม่วงสกุล, บวร ทรัพย์สิงห์, วราภรณ์ แย้มทิม, ระวี สัจจโสภณ, ศุภลักษณ์ อธิคมสุวรรณ และอภิชาติ ใจอารีย์. (2558 ธันวาคม, 9). กระบวนการเรียนรู้ในการทำศาลพระภูมิของชุมชนห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม [Paper]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ปภาวีย์ หมั่นกิจการ และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน: กรณีศึกษาแรงงานทำดอกไม้ประดิษฐ์จากสำลี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(36), 34-45.

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. (2561). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

วิไลภรณ์ กิมประพันธ์. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงงานผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ]. http://hcuir.lib.hcu.ac.th:8080/xmlui/handle/ 123456789/452

ศิริอุมา เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, น้ำเพชร หมื่นราช และอโณทัย เกื้อกูล. (2562). การประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้และไกลโรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(2), 336-348.

ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2556). มลพิษทางอากาศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2545). แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยสไปโรเมตรีย์. ภาพพิมพ์.

สุปราณี คุณร้าน, นันทพร ภัทรพุทธ และศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงสีข้าว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 15(1), 112-122.

อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง และจิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย. (2562). สมรรถภาพปอดและความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นของพนักงานโรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 49(3), 339-349.

Ahmed, H. O., & Abdullah, A. A. (2012). Dust exposure and respiratory symptoms among cement factory workers in the United Arab Emirates. Industrial Health, 50(3), 214-222.

Aljeesh, Y., Madhoun, W. A., & Jabaly, S. E. (2015). Effect of exposure to cement dust on pulmonary function among cement plants workers in the Middle Governorate, Gaza, Palestine. Public Health Research, 5(5), 129-134.

Amare, E. (2019). Personal dust exposure and chronic respiratory health symptoms among flour mill factory Workers in Akaki kaliti sub city, Addis Ababa, Ethiopia, 2019 [Master’s thesis, Addis Ababa University]. http://etd.aau.edu.et/handle/123456789/20664

Camp, P. G., Dimich-Ward, H., & Kennedy, S. M. (2004). Women and occupational lung disease: sex differences and gender influences on research and disease outcomes. Clinics in chest Medicine, 25(2), 269-279.

Chittaluru, P. K., Korra, R. K., Asuri, V. K., Annakula, P., & Gmm, R. (2021). An analytical cross-sectional study to compare pulmonary function and respiratory morbidity-related quality of life between construction workers with age-and gender-matched controls. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine, 25(1), 22-26.

Dushyant, K., Walia, G. K., & Devasenapathy, N. (2023). Lung function and respiratory morbidity among informal workers exposed to cement dust: a comparative cross-sectional study. Annals of Global Health, 89(1), 1-13.

Gazquez, R. (2021). Safe use of concrete release agents. Linjedin. https://www.linkedin.com/ pulse/safe-use-concrete-release-agents-ruben-gazquez

Gbadebo, A. M., & Bankole, O. D. (2007). Analysis of potentially toxic metals in airborne cement dust around Sagamu, Southwestern Nigeria. Journal of Applied Sciences, 7(1), 35-40.

Gizaw, Z., Yifred, B., & Tadesse, T. (2016). Chronic respiratory symptoms and associated factors among cement factory workers in Dejen town, Amhara regional state, Ethiopia, 2015. Multidisciplinary Respiratory Medicine, 11(13), 1-9.

Kamaludin, N. H., Razlan, N. S. A., & Jalaludin, J. (2018). Association between respirable dust exposure and respiratory health among cement workers. Malaysian Journal of Medicine and Health Sciences, 14(SP2), 78-86.

Khademi, J., Sadeghi, M., Ahmadpoor, R., Tamadon Yolme, J., Mirzaie, M. A., Izadi, N., & Mehrbakhsh, Z. (2019). Pulmonary function testing in cement transport workers at Incheh Borun Border, Northeast of Iran. Iranian Journal of Public Health, 48(7), 1362-1368.

Lestari, M., Fujianti, P., Novrikasari, N., & Nandini, R. F. (2023). Dust exposure and lung function disorders. Respiratory science, 3(3), 218-230.

Mohamed-Hussein, A., Elzayet, H., Ezzeldin, A., Khair, A., & Elkhayat, M. (2019). Risk factors associated with respiratory symptoms among cement workers. Chest, 156(4), A1718.

Omidianidost, A., Gharavandi, S., Azari, M. R., Hashemian, A. H., Ghasemkhani, M., Rajati, F., & Jabari, M. (2019). Occupational exposure to respirable dust, crystalline silica and its pulmonary effects among workers of a cement factory in Kermanshah, Iran. Tanaffos, 18(2), 157-162.

Rafeemanesh, E., Alizadeh, A., Afshari Saleh, L., & Zakeri, H. (2015). A study on respiratory problems and pulmonary function indexes among cement industry workers in Mashhad, Iran. Medycyna Pracy, 66(4), 471-477.

Sulaiman, N. N. M., Awang, N., & Kamaludin, N. F. (2020). Association between respirable dust exposure and lung function deterioration among construction site workers. Current Science, 119(11), 1789-1796.

Zeleke, Z. K., Moen, B. E., & Bratveit, M. (2010). Cement dust exposure and acute lung function: a cross shift study. BMC Pulmonary Medicine, 10(19), 1-8.