กิจกรรมหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่าต่อพฤติกรรม ความปลอดภัย บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เพ็ญนภา ภู่กันงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาการลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานกระบวนการผลิต ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานด้วยการนำกิจกรรมการหยั่งรู้อันตราย นำมาใช้เป็นกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง​ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่าต่อพฤติกรรมความปลอดภัย บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานกระบวนการผลิต จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งได้ทำการประยุกต์จากงานวิจัยเรื่อง Humanware, Human Error, and Hiyari – Hatto : a Casual – chain of Effect and a Template of Unsafe Symptoms (Shigeomi et al., 1992) และจากกฎ ระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานของบริษัท สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 38 ปี ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.3 มีอายุงานอยู่ระหว่าง 2 – 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.7 ไม่เคยมีประสบอันตรายจากการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 93.3 และผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้ด้านความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 100.00 และพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมสูงขึ้นในระยะหลังจากการทำกิจกรรมหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่า ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นการหยุดเครื่องจักรเมื่อมีการซ่อมแซมหรือทำความสะอาดเครื่องจักร เนื่องจากเมื่อพบเครื่องจักรเสีย ต้องทำการปิดเครื่องจักร เพื่อรอแผนกช่างซ่อมบำรุงมาซ่อม และรอพนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนเลิกงาน 15 นาที การทำกิจกรรมหยั่งรู้ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น จะกระตุ้นให้พนักงานคิดในสิ่งที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก. (2565). รายงานสถานการณ์การวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุของบริษัท ประจำปี 2563-2564. บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก.

เพ็ญพรรณ เพ็ชรสว่าง. (2562). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต กรณีศึกษาบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพรียวพรรณ สุขประเสริฐ, พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์ และสราวุธ สุธรรมาสา. (2561). ผลของแนวทางการลดและป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานผลิตบ้านสำเร็จรูป. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(3), 47-62.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2563, 30 กรกฎาคม). สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน. https://www.tosh.or.th/index.php/blog/ item/761-2020-07-30-08-40-04.

สมปรารถนา สุขเกษม และเพ็ญนภา ภู่กันงาม. (27 มีนาคม, 2564). การจัดกิจกรรมการหยั่งรู้อันตราย แผนกกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงาน และเคลือบชิ้นงานป้องกันสนิม บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [Paper]. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2564 “สู่วิถีชีวิตใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ”, วิทยาลัยนครราชสีมา.

อรวรรณ ชำนาญพุดซา. (2560). การประยุกต์ใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย (Behavior Based Safety : BBS) ในการพัฒนาพฤติกรรมการขับรถโฟล์คลิฟท์อย่างปลอดภัย กรณีศึกษาในบริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

อลิสา จันทร์เรือง. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Japan Industrial Safety and Health Association. (2011). Zero-Accident Practice Hazard Prediction Training. https://www.jisha.or.jp/international/pdf/JISHA_Annual_Report_2011.pdf.

Japan International Center for Occupational Health and Safety. (1999). Publication of the main points to Hazard prediction activities (KYT). http://www.Jniosh.go.jp/icpro/jicosh-old/ English/zero-sai/.

Shigeomi, N., Jeannette, V., Noriaki, K., Toshiro, H., & Kincho, L. (1992, August 26). Humanware, Human Error, and Hiyari-Hat: a Casual-chain of Effect and a Template of Unsafe Symptoms. Stanford University, https://stacks.stanford.edu/file/druid:zp585yn6972/TR071.pdf.