ประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการสารเคมี กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการทางเคมีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อรวรรณ ชำนาญพุดซา
ชลลดา พละราช
ชัยวัฒน์ เผดิมรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้บ่งอันตรายและประมาณระดับความเสี่ยงจากการครอบครองสารเคมีในห้องปฏิบัติการทางเคมีและเพื่อจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงด้านระบบการจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการทางเคมี โดยดำเนินการ ณ ห้องปฏิบัติการทางเคมีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย การชี้บ่งอันตรายด้วยเทคนิค What If Analysis และแบบตรวจรายการของ ESPReL และประมาณระดับความเสี่ยงโดยอ้างอิงเกณฑ์กรมโรงงานอุตสาหกรรม  


ผลการวิจัย พบว่าห้องปฏิบัติการทางเคมีมีความเสี่ยงในการครอบครองสารเคมีอยู่ในระดับยอมรับไม่ได้ มีคะแนนเท่ากับ 12 ทั้งนี้มาตรการกำหนดให้ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ก่อน อันตรายที่มีความเสี่ยงสูงมีคะแนนเท่ากับ 9 คือ การไม่แยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ สารไวไฟปริมาณเกิน 38 ลิตรและสารกัดกร่อนไม่มีตู้เก็บโดยเฉพาะ ไม่มีสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย ภาชนะบรรจุสารกัดกร่อนประเภทกรดไม่มีภาชนะรองรับที่เหมาะสม การสื่อความเป็นอันตรายพบว่าไม่มีป้ายคำเตือนหน้าตู้หรือพื้นที่เก็บสารที่ไวต่อการปฏิกิริยา และเอกสารข้อมูลความปลอดภัยหรือ Safety Data Sheet (SDS) ไม่มีข้อมูลครบทั้ง 16 ข้อตามระบบสากลและข้อมูล SDSไม่เป็นปัจจุบัน การขนเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายพบว่า รถเข็นมีสภาพไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยต่อการตกหล่นหรือการกระแทกกันของภาชนะ ผลการจัดทำแผนดำเนินการลดและควบคุมความเสี่ยงเป็นการกำหนดขั้นตอนการจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสารเคมีที่ปลอดภัย การจัดทำแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน จัดหาอุปกรณ์เคลื่อนย้ายสารเคมีและจัดเก็บสารเคมีให้เหมาะสมตามประเภทสารเคมี และจัดอบรมให้ความรู้ พร้อมทั้งฝึกซ้อมแผนตอบโต้ฉุกเฉินอย่างน้อยทุกปี และกำหนดความถี่ในการตรวจสอบความปลอดภัยในการครอบครองสารเคมีทุกเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2543, 17 พฤศจิกายน). ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543. กรมโรงงานอุตสาหกรรม, https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2021/07/ law-fac-saft-17112543.pdf.

กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2566). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2561-2565. สำนักงานประกันสังคม, https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/102220b2a37b7d0ea4eab82e6fab4741.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2563). คู่มือความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการด้านเคมี. https://www3.dmsc.moph.go.th/download/files/dmsc_ch_1.pdf.

กาญจนา สุรีย์พิศาล. (2562). การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L-210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. Mahidol R2R e-Journal, 8(1), 49-62. https://doi.org/10.14456/jmu.2021.5

จิตมณี พ่วงปิ่น, วราภรณ์ บุญโต และโกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2563). การประเมินความเสี่ยงของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน : กรณีศึกษาอาคารเก็บสารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ.. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 111-119.

จินดาวัลย์ เพ็ชรสูงเนิน, สาริณี ลิพันธ์, สุราณี อโณทัยรุ่งรัตน์ และโกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2559). การชี้บ่งอันตรายห้องปฏิบัติการเคมี : กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเคมีอุตสาหกรรม. SDU Res. J., 9(1), 22-33.

นันทวรรณ จินากุล. (2561). การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้อง ปฏิบัติการจุลชีววิทยา. บูรพาเวชสาร, 5(1), 36-51.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2565. (2565, 25 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 94ง. หน้า 54-62.

พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2558). ผลการชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 667-681.

สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กองมาตรฐานการวิจัย. (2558, สิงหาคม). คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย, http://esprel.labsafety.nrct.go.th/files/ESPReL-Book2.pdf.