ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสาร ของพนักงานร้านถ่ายเอกสาร ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ขวัญแข หนุนภักดี
ธัญวิชญ์ จูฑะสุวรรณ์
สุวนันท์ ปานสีทอง
วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารของพนักงานร้านถ่ายเอกสารในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานร้านถ่ายเอกสารจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 50 ของพนักงานมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารอยู่ในระดับเสี่ยงและร้อยละ 50 ของพนักงานมีพฤติกรรมข้างต้นอยู่ในระดับดี ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 51.16) ทัศนคติในระดับดี (ร้อยละ 51.16) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์พบว่า อาการแสดงทางร่างกายและทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.02 และ 0.03 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่านายจ้างควรส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการทำงานตลอดจนวิธีการป้องกันอันตรายจากสารเคมีของเครื่องถ่ายเอกสารที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดต่อสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษศิรินทร์ เอี่ยมโพธิ์. (2557). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสสารกลุ่ม BTEX จากเครื่องถ่ายเอกสาร. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 1(4), 1-14.

จุฑารัตน์ สุนิโห. (2559, 29 มกราคม). “เครื่องถ่ายเอกสาร” ภัยในสำนักงาน. กรมวิทยาศาสตร์บริการ, http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/CLPT_01_2559_Zerox.pdf

กรมอนามัย. (2562, 27 กันยายน). ความเสี่ยงจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร. สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย, https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/photocopier.

กองอาชีวอนามัย. (2557, 15 ธันวาคม). อันตรายจากการทำงานจากเครื่องถ่ายเอกสาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, https://www.cwweb.tu.ac.th/oth/org/rangsit/Data/1190837791.

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของ กกท. (2563, 26 มิถุนายน). คู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). การกีฬาแห่งประเทศไทย, https://www.sat.or.th/wp-content/uploads/2021/03/คู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน-2563.pdf

ดาริน วัฒนสิธรร และอัควรรณ์ แสงวิภาค. (2564). ผลกระทบของความรู้ด้านความปลอดภัยและบรรยากาศด้านความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 16(1), 53-67

ดวงฤทัย ธาตุวิสัย, รัตติยากร โคตรมี, ศิรินันท์ พลพันธ์ขาง และสาธินี ศิริวัฒน์. (2562). การประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายภายในร้านถ่ายเอกสาร บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 41(2), 45-56.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, วรวรรณ จันทวีเมือง, ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์ และวิกานดา บุญเลิศ. (2560). การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร และพฤติกรรมการป้องกันของพนักงานถ่ายเอกสาร. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 28-44.

สุคลทิพย์ สุขขำจรูญ และจุมพฏ บริราช. (2559). ผลกระทบของบรรยากาศความปลอดภัย ความรู้ความปลอดภัย การจูงใจความปลอดภัย ที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมก่อสร้างแท่นอุปกรณ์การผลิตปิโตรเลียม. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 116-128.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2563, http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/labour/informalEmployment/2020/PocketBook2020.pdf

ศุภนุช รสจันทร์ และอังก์ศิริ ทิพยารมณ์. (28 มีนาคม, 2557). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการได้รับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากเครื่องถ่ายเอกสาร [Paper]. การประชุมการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15: 50 ปี มข.แห่งการอุทิศเพื่อสังคม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ และชัชวาลย์ จันทรวิจิตร. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติความปลอดภัยในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดนครสวรรค์. เชียงใหม่เวชสาร, 60(4), 643-653.

Green, L. W. & Krueter, M. W. (2005). Health Promotion Planning An Education and Ecological Approach (4th ed). Mayfield Publishing.

Sadhra, S. S. & Rampal, K. G. (1999). Basic Concepts and Developments in Health: Risk Assessment and Management. In S. S. Sadhra, K. G. Rampal (Eds.), Occupational Health Risk Assessment and Management (4th ed.). Blackwell Science.

Wiedemann, P. M. & Schu tz, H. (2005). The Precautionary Principle and Risk Perception: Experimental Studies in the EMF Area. Environmental Health Perspectives, 113(4), 402-405.