ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับภาวะสุขภาพช่วงสถานการณ์โควิด 19 ของพนักงานเก็บขยะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

นันทิดา โหวดมงคล
พรภิไล ถนอมสงัด
มนัส รงทอง

บทคัดย่อ

ในปี พ.ศ. 2562-2565 ช่วงสถานการณ์โควิด 19 พนักงานเก็บขยะมีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพการทำงาน การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล การทำงาน ความรู้และพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อ และ (2) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานเก็บขยะเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จํานวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด และการทดสอบสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานเก็บขยะทั้งหมดเป็นเพศชาย ร้อยละ 100.0 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 33.5 ในการปฎิบัติงานมีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ร้อยละ 97.0 ส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย ร้อยละ 87.5 และเคยได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บขนขยะ ร้อยละ 58.5 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อความเสี่ยงระดับปานกลาง ร้อยละ 59.0 และมีระดับความรู้สูงเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อช่วงสถานการณ์โควิด 19 ร้อยละ 96.0 ผลของระดับภาวะสุขภาพคือ มีความเสี่ยงระดับต่ำ ร้อยละ 81.5 และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ สถานภาพ (p = 0.038) และพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อ (p = 0.027) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการเฝ้าระวังการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อจากมูลฝอยติดเชื้อ การเก็บ ขนขยะ การตระหนักเรื่องเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานเก็บขยะอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)., https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

ชนิตา โลหะภากร, ศิริภาพร โยฤทธิ์ และธวัชชัย รักษานนท์. (2558). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพเก็บและคัดแยกขยะ. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควมคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.

นิคม ถนอมเสียง. (2560). ตัวแปรและการวัดตัวแปร เครื่องมือวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. ใน เอกสารประกอบการบรรยายวิชาชีวสถิติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพรรณ ศิรสุกล. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะที่สังกัดเทศบาลในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. (2563, 5 เมษายน). ผลกระทบ COVID-19 ต่อ“สิ่งแวดล้อม”.http://www.gsei.or.th/activities/detail/517.

สมคิด ทับทิม. (2550). การจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วมของคนเก็บขยะในเขตเมืองของ ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมเจตน์ ทองดำ และจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2561). ผลกระทบทางด้านสุขภาพของแรงงาน คุ้ยขยะในหลุมฝังกลบขยะเทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 14-27.

มนันญา ภู่แก้ว. (2563, 5 มิถุนายน). ปัญหามูลฝอยติดเชื้อจากโรคระบาดโควิด – 19. รัฐสภาไทย, https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2599.

Azlan, A. A., Hamzah, M. R., Sern, T. J., Ayub, S. H., & Mohamad, E. (2020). Public knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: A cross-sectional study in Malaysia. PLOS ONE, 15(5), 0233668. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0233668.

Best, J. W. (1978). Researchin Education Englewood Cliffs. Prentice.

Loganathan, S., Mohammad, S., Richard, A., Azman, A., Hazelina, M. A., Shamsul, B. B. S., & Khamisah, A. L. (2020). Exposure risk assessment of the municipal waste collection activities during COVID-19 epidemic. Journal of Public Health Research, 9(4), 484-489. https://doi.org/10.4081/jphr.2020.1994

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, X. G., Li, W. T., & Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745-1752. https://doi.org/10.7150/ijbs.45221.