ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและการปนเปื้อนสาร บอแรกซ์ในอาหาร

Main Article Content

สิทธิพร เพชรทองขาว
ชลิตตา ศิริเขต
นฤมล เชื้ออาน
เจนจิรา พรหมแก้ว

บทคัดย่อ

บอแรกซ์เป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพและห้ามใช้ในอาหาร การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 21 ร้านที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและทดสอบการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในตัวอย่างอาหารด้วยชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัย มีความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหาร มีเจตคติและพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ตรวจสอบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์จากอาหารจำนวนทั้งหมด 46 ตัวอย่าง จาก 21 ร้าน พบว่า ร้านผลไม้ดอง (ร้อยละ 66.7) และร้านไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ แหนม (ร้อยละ 10.0) ตรวจพบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ แม้ว่าความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยจะอยู่ในระดับสูงแต่ก็ยังพบการจำหน่ายอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ ผู้วิจัยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะเข้าไปดำเนินการเพื่อสร้างความปลอดภัยในอาหารดังกล่าว จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่ายังคงมีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหาร ดังนั้นพื้นที่อื่นๆ ที่จำหน่ายอาหารประเภทดังกล่าวควรที่จะทดสอบการปนเปื้อนและออกมาตรการร่วมกันเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (ม.ป.ป.). การคัดกรองและตรวจสอบความปลอดภัยในอาหาร. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี, http://rmsc8.dmsc.moph.go.th/CMS/วิชาที่ 2 การคัดกรองและตรวจสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วย Test kit.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย. (2565). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยของอาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักสนับสนุนและส่งเสริมอาหารปลอดภัย, https://foodsafety.moph.go.th/_WEBADMIN2/uploads/n_file/52yr82 f1gx wkskw404.pdf.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 1-5.

ณัฏฐวี ชั่งชัย, อัญรินทร์ พิธาภักดีสถิตย์, จิริสุดา สินธุศิริ, วรางคณา วิเศษมณีลี, เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล และกรรณิการ์ แจ้งวิจารณ์. (2565). สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(1), 86-99.

ดวงใจ มาลัย, กนกนาฏ แขงามขำ, นิตยา เหมาวนิคม และศันสนีย์ ศรีพราย. (2558). การประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านความปลอดภัยอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร. วารสารอาหาร, 45(3), 67-78.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 391. (2561, 25 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 237ง. หน้า 18-19.

ปาจารีย์ ซิบังเกิด, ประสงค์ ตันพิชัย และนิรันดร์ ยิ่งยวด. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค อาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(1), 170-190.

ปราโมทย์ เย็นบุญธรรม, และธวัชชัย สัตยสมบูรณ์. (2565). สถานการณ์ความปลอดภัยในอาหาร ความรู้และ ทัศนคติของผู้ประกอบการด้านอาหารในตลาดนัด จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ปทุมธานี, 14(1), 12–27.

มาลินี ฉินนานนท์. (2560). การวิเคราะห์ปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อสัตว์และลูกชิ้นที่จำหน่ายในจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 11(1), 55-61.

ศุภกัญญา ทองเดชาสามารถ และองอาจ มณีใหม่. (2565). สถานการณ์ความปลอดภัยในอาหาร ณ สถานที่ จำหน่ายอาหารในจังหวัดกาญจนบุรี: การศึกษาเชิงพรรณาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 5(1), 56-66.

สุกัญญา บัวศรี, ศริศักดิ์ สุทรไชย และวศินา จันทรศิริ. (2564). ความปลอดภัยด้านอาหาร และมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของรถหาบเร่ ในชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารโภชนาการ, 56(2), 50-64.

Alemayehu, T., Aderaw, Z., Giza, M., & Diress, G. (2021). Food Safety Knowledge, Handling Practices and Associated Factors Among Food Handlers Working in Food Establishments in Debre Markos Town, Northwest Ethiopia, 2020: Institution-Based Cross-Sectional Study. Risk Management and Healthcare Policy, 14, 1155-1163. https://doi.org/10.2147/RMHP.S295974

Akabanda, F., Hlortsi, E. H., & Owusu-Kwarteng, J. (2017). Food safety knowledge, attitudes and practices of institutional food-handlers in Ghana. BMC Public Health, 17(1), 1-9. https://doi.org/10.1186/S12889-016-3986-9/TABLES/6

Hadrup, N., Frederiksen, M., & Sharma, A. K. (2021). Toxicity of boric acid, borax and other boron containing compounds: A review. Regulatory Toxicology and Pharmacology, 121, 104973. https://doi.org/10.1016/j.yrtph.2021.104873

Kim, T. R., Ross, J. A., & Smith, D. P. (1969). KOREA: Trends in Four National KAP Surveys, 1964-67. Studies in Family Planning, 1(43), 6-11. https://doi.org/10.2307/1965090

Pratiwi, Y. S., Rini, D. M., Munarko, H., Prayitno, H., Yani, R. W. E., Shoukat, N., & Ahmad, K. (2020). Borax as a Non-Food Grade Addivite in the Perspective of Foof Safety and Human Resources Formation: A Literature Review. In 1st International Conference Eco. Innovationin Science, Engineering, and TechnologyNusantara Science and Technology, 2020, 119-126. https://doi.org/10.11594/nstp.2020.0518

Putri, M. S., & Susanna, D. (2021). Food safety knowledge, attitudes, and practices of food handlers at kitchen premises in the Port ‘X’ area, North Jakarta, Indonesia 2018. Italian Journal of Food Safety, 10(4), 92215. https://doi.org/10.4081/IJFS.2021.9215

Rahma, C., & Hidjrawan, Y. (2021). Qualitative Identification of Borax Content in Meatball Snack Using Turmeric Paper And Shallot Extract. Jurnal Pangan Dan Agroindustri, 9(1), 56-63. https://doi.org/10.21776/ub.jpa.2021.009.01.6

Rifat, M. A., Talukdar, I. H., Lamichhane, N., Atarodi, V., & Alam, S. S. (2022). Food safety knowledge and practices among food handlers in Bangladesh: A systematic review. Food Control, 142, 109262. https://doi.org/10.1016/j.foodcont.2022.109262