การประเมินความเสี่ยงการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และการประเมินผลกระทบด้วยการจำลองสถานการณ์ โดยใช้โปรแกรม ALOHA

Main Article Content

ณัฎฐิตา ศรีบุโฮม
วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล
ยุพรัตน์ หลิมมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและประเมินความเสี่ยงผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis (FTA) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุหลัก และจำลองการรั่วไหลด้วยโปรแกรม ALOHA ที่รูรั่วขนาด 1 4 และ 16 นิ้ว ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดการรั่วไหลของท่อก๊าซที่มีโอกาสเกิดได้มากที่สุด คือ การนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปกระทำต่อท่อจนเกิดความเสียหาย การกัดกร่อนภายในจากการเติมสารเคมีในท่อ และการกัดกร่อนภายนอกเนื่องจากอายุการใช้งาน เมื่อจำลองผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิด พบว่า หากท่อเกิดรูรั่ว 16 นิ้ว จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด คือ เกิดกลุ่มหมอกก๊าซไวไฟ (Flammable Vapor Cloud) มีค่าความเข้มข้นของก๊าซมีเทน 30,000 ppm รัศมี 1,300 เมตรและเกิดการระเบิดแบบไฟพุ่ง (Jet Fire) มีค่าพลังงานความร้อน 10 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร มีรัศมีการแผ่กระจายรังสีความร้อน 97 เมตร จากแหล่งกำเนิด และผลการประเมินระดับความเสี่ยงของผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติมีความเสี่ยงระดับปานกลาง ซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินในระยะก่อนเกิดเหตุ เช่น การเตรียมความพร้อมของทรัพยากรด้านต่างๆ การอบรมให้ความรู้ให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในแนวท่อ และผลจากศึกษาระดับความรุนแรงของผลกระทบ สามารถนำไปจัดทำแผนตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินในระยะขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ และฝึกซ้อมแผนดังกล่าว ร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการป้องกันและตอบโต้เหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมธุรกิจพลังงาน, กองความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ. (2563). รายงานการเกิดเหตุก๊าซธรรมชาติรั่วและเพลิงไหม้ ระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ท่อคู่ขนานเส้นที่ 2 บนบก.

https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2563/P_402279_3.pdf

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (ม.ป.ป.). ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ. https://www.pttplc.com/th/Products/ Ourbusinessbypttplc/Gasunit/Transmissionanddistributionpipeline.aspx.

บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จํากัด. (2548). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น. อีอาร์เอ็ม-สยาม.

ปัณณพร จงเกษมวงศ์, กานดิส สุดสาคร และธงไชย ศรีนพคุณ. (2553). การประเมินผลกระทบจากการรั่วไหลและการระเบิดของท่อส่งก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเพื่อสร้างแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันวิสาข์ เสาสิริ. (2559). การประเมินการแพร่กระจายและการระเบิดของก๊าซปิโตรเลียมเหลว จากการรั่วไหลของสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรม ALOHA [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2563, 3 กันยายน). ทำนายการกระจายตัวของสารเคมีกรณีเกิดการรั่วไหลโดยใช้โปรแกรม ALOHA. https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/777-aloha?fbclid=IwAR2VOUTeo_ 3Z8OQSp5nHG7VO6AYwkhQipnVfFPnlxERlxfR1HQnhqfQxjR0.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และวิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล. (2564). การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา วอนเผื่อน. (2561). การประยุกต์ใช้โปรแกรม PHAST เพื่อประเมินผลกระทบกรณีเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์.

Huang, Z., & Li, J. (2012). Assessment of fire risk of gas pipeline leakage in cities and towns. Procedia Engineering, 45, 77-82.

Shao, H., & Duan, G. (2012). Risk quantitative calculation and ALOHA simulation on the leakage accident of natural gas power plant. Changzhou University Journal: Procedia Engineering, 45, 352-359. https://doi.org/10.1016/j.proeng.2012.08.170

U.S. Department of Transportation, Pipeline and Hazardous Materials Safety Administration. (2022, 15 November). Pipeline Incident 20 Year Trend. https://www.phmsa.dot.gov/ data-and-statistics/pipeline/pipeline-incident-20-year-trends.