การประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย: กรณีศึกษาโรงพยาบาล ในเครือข่ายบริการที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

Main Article Content

อติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์
พุดตาน พันธุเณร
อานนท์ สุกสัก
กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์
อุดมศักดิ์ ตั้งชัยสุริยา
อุษณา ตัณมุขยกุล
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
วรุตม์ มุขแจ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาและเพื่อประเมินผลการใช้งานโปรแกรมระบบการส่งต่อและนัดหมายผู้ป่วย (HIS Sansai) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาโดยโรงพยาบาลสันทราย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 3 วิธี ได้แก่ การสังเกตในพื้นที่ดำเนินการของโครงการวิจัย การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ หัวหน้าโครงการวิจัย เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ จำนวน 27 คน ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ภายใต้กรอบแนวคิดของทฤษฎีโปรแกรม


ผลการประเมินพบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบการพัฒนาแบ่งออกเป็นสองระบบย่อย คือ ระบบการส่งต่อฉุกเฉิน และระบบการส่งต่อแบบนัดหมาย ซึ่งทั้งสองระบบช่วยให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปลายทางสามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า ก่อนผู้ป่วยจะไปถึง และการใช้งานมีความสะดวกกับผู้ใช้ เนื่องจากเป็นเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) อีกทั้งยังช่วยให้การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยมีความครบถ้วนมากขึ้น และรองรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะระบบการส่งต่อฉุกเฉิน ซึ่งช่วยลดเวลาการตัดสินใจตอบรับการส่งต่อของแพทย์ ช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่ควรจะส่งต่อ และลดการรอคอยการ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ของผู้ป่วย ในส่วนระบบการส่งต่อแบบนัดหมาย โปรแกรมช่วยลดเวลาลงทะเบียน และลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเดินทางมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยและครอบครัว อย่างไรก็ตามยังคงต้องพัฒนาโปรแกรมให้มีความเสถียรมากขึ้น โดยเฉพาะให้รองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก ตลอดจนพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยต่อเนื่อง และลดความสูญเสียของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สำนักดิจิทัลสุขภาพ, กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัล. (2565). รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ กรณีโรงพยาบาลสันทราย. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักดิจิทัลสุขภาพ กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัล.

คณะทำงานจัดทำคู่มือปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย. สำนักการแพทย์.

งามพิศ จันทร์ทิพย์, พิมภิลา สุพรรณ และสุปรีญา สำราญชื่น. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลสันทราย. โรงพยาบาลสันทราย.

จันทร์แรม ประเสริฐกุลวัฒนา และสำราญ รุ่งเรือง. (2560). อุบัติการณ์ความไม่สมบูรณ์ของแบบบันทึกการส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจหรือการรักษาต่อของโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. โรงพยาบาลชัยนาท.

ธีรินทร์ เกตุวิชิต. (2560). ระบบการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บัญชา พร้อมประดิษฐ, เกศรินทร์ ไทยศรีวงค์ และยุพเยาว์ วิศพรรณ์. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประสานการส่งต่อระดับเขต ของเขตสุขภาพที่ 6. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 1(2), 23-33.

บุญเรือง เกิดอรุณเดช. (2561, 3 กันยายน). How to Trust Digital Refer 2020?. โรงพยาบาลราชวิถี, https://www.rajavithi.go.th/rj/wp-content/uploads/2018/09/4880dc1de9f64149d47ac 7fe6a826d1862.pdf.

ปรีชา แหวนหล่อ, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์ และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทางอินเตอร์เน็ต จังหวัดศรีสะเกษ. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 61(3), 215-224.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล. (2564a). รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาระบบโรงพยาบาลหนึ่งเดียวในกลุ่มเครือบริการที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่. สยามพิมพ์นานา.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล. (2564b). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่. สยามพิมพ์นานา.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล. (2565, 28 ธันวาคม). ความก้าวหน้า และแผนงานดำเนินการ ปี 2566 (Integral Health Information Management System. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, https://www.chiangmaihealth.go.th/document/230222167703372579.pdf.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล และนพรัตน์ รัชฎาพร. (2564). แบบฟอร์มขอรับทุนโครงการพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร ปีที่ 2 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สานพิน กองแก้ว, สุกัญญา สบายสุข, ปวีนุช จีนกูล, เพลินพิศ ลือลาภ และรภัทรภร เพชรสุข. (2565). การวิเคราะห์สถานการณ์ระยะรอคอยในหน่วยงานผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันโรคทรวงอก. Ramathibodi Medical Journal, 45(4), 45-52.

สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร. (2565). การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วย (Smart Refer) เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 8(1), 125-134.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การออกแบบและประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง. วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์ สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1, 7-25.

เอกวิทย์ เอี่ยมทองอินทร์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการส่งต่อผู้ป่วยอย่างง่ายของกลุ่มโรงพยาบาลเครือข่ายสายใต้ M1. สยามพิมพ์นานา.

Azamar-Alonso, A., Costa, A. P., Huebner, L.-A., & Tarride, J.-E. (2019). Electronic referral systems in health care: a scoping review. ClinicoEconomics and outcomes research : CEOR, 11, 325-333. https://doi.org/10.2147/CEOR.S195597

Kim-Hwang, J. E., Chen, A. H., Bell, D. S., Guzman, D., Yee, H. F. Jr., & Kushel, M. B. (2010). Evaluating electronic referrals for specialty care at a public hospital. J Gen Intern Med, 25(10), 1123-1128.

Martin, T. J., Ranney, M. L., Dorroh, J., Asselin, N., & Sarkar, I. N. (2018). Health Information Exchange in Emergency Medical Services. Applied clinical informatics, 9(4), 884-891.

NHS Digital. (222, July 13). Benefits of using the NHS e-Referral Service advice and guidance. https://digital.nhs.uk/services/e-referral-service/document-library/advice-and-guidance- toolkit/benefits-of-using-advice-and-guidance.