ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิษณุ ปิ่นคำ
รชานนท์ ง่วนใจรัก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคม และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 41 คน ไม่ได้รับโปรแกรมใดๆ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย คุณลักษณะทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความคาดหวังในสามารถของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนของผลลัพธ์ด้วยสถิติ Paired t-test และ ANCOVA โดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน ประกอบด้วย ค่าดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา และการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน


ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์ในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคและไดแอสโตลิค ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p-value<0.001) การศึกษาครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงครั้งนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดความกลัวต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงและมีประสิทธิผลในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค, สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2562, 2 พฤาภาคม). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?%20%20gid=%2018%20&id=13507.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ และสราญรัตน์ ลัทธิ. (2562, 2 พฤษภาคม). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. กองโรคไม่ติดต่อ, http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?%20%20gid=%2018%20&id=13507.

เฉลิมพล แซ่โล้ว และชิรากร บุญลี. (2565). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลภูสิงห์ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(3), 11-21.

ชลธิชา อมาตยคง, โรชินี อุปรา และเอกชัย กันธะวงศ์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงต่อการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 232-245.

ชิรากร บุญลี และสมคิด สุภาพันธ์. (2566). ผลของความร่วมมือของญาติและผู้ป่วยต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 427-436.

ปวิตรา ทองมา. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 50-62.

ปัทมา สุพรรณกุล, อาจินต์ สงทับ, อนุสรา สีหนาท, นพวรรณ วัชรพุทธ, เบญจมาภรณ์ นาคามดี, กู้เกียรติ ก้อนแก้ว และเอกภพ จันทร์สุคนธ์. (2565). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 17(2), 148-161.

รชานนท์ ง่วนใจรัก, นฤพร พร่องครบุรี, วรลักษณ์ สมบูรณ์นาดี, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ และอรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4อ.ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา, 45(1), 40-55.

วารุณี ติ๊บปะละ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เสริมสร้างแรงจูงใจและฝึกทักษะการใช้ยาสูบโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมทางคลินิกในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(1), 112-127.

วิชัย เอกพลากร. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. คลังความรู้และข้อมูลสุขภาพ สถาบันวิจัยสาธารณสุข (สวรส.), https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5425.

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. (2566, 11 พฤษภาคม). สคร.9 เตือนประชาชน เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก “ควบคุมความดันโลหิตยืดชีวิตให้ยืนยาว. https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=34026&deptcode=odpc9&news_views=7222.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ.2565. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา.

สำราญ กาศสุวรรณ และทัศนีย์ บุญอริยเทพ. (2565). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์ทางคลินิกโรงพยาบาลแพร่, 30(2), 27-42.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562, 2 พฤษภาคม). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. สำนักโรคไม่ติดต่อ, http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?%20%20gid= %2018%20&id=13507.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). คลังนานาวิทยา.

อัจฉราวดี เสนีย์, สมคิด ขําทอง และวงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 55-70.

Bloom, B. S, Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. McGraw-Hill.

Kiess, O. H., & Green, A. B. (1989). Statistical concepts for the behavioral sciences (4th ed.). Cambridge University.

Polit, D. F., & Hungler, P. B. (1999). Nursing Research: Principle and Method (6th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Rogers, R. W. (1975). A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of Psychology, 91(1), 93-114. https://doi.org/10.1080/00223980.1975.9915803

World Health Organization. (2023, March 2023). Hypertension. https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/hypertension.