ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการได้ยินของคนงานตัดหญ้า ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การได้รับสัมผัสเสียงดังในการทำงาน เป็นความเสี่ยงและสาเหตุสำคัญต่อการสูญเสียการได้ยินในผู้ประกอบ อาชีพคนงานตัดหญ้า การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพการได้ยินของคนงานตัดหญ้าในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ตรวจวัดการสัมผัสเสียงด้วยเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม และตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์
ผลการศึกษาพบว่า คนงานตัดหญ้าจำนวน 97 คน ได้รับระดับสัมผัสเสียง (TWA8hr) 83.0-104.5 เดซิเบลเอ พบความชุกของการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำที่ 2,000 เฮิรตซ์มากที่สุด (หูขวาร้อยละ 16.5 และหูซ้ายร้อยละ 20.6) ส่วนในช่วงความถี่สูงพบที่ความถี่ 6,000 เฮิรตซ์มากที่สุด (หูขวาร้อยละ 71.1 และหูซ้ายร้อยละ 80.4) ปัจจัยด้านระดับการศึกษาและอายุ มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำ ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ ชนิดมอเตอร์เครื่องตัดหญ้า และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในช่วงความถี่สูง (p < 0.05)
ดังนั้นหน่วยงานสถาบันการศึกษาควรเฝ้าระวังสุขภาพและสร้างความตระหนักให้คนงานตัดหญ้ามีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง รวมทั้งพิจารณาปรับเปลี่ยนชนิดของมอเตอร์ของเครื่องตัดหญ้า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กนกวรรณ อาจแก้ว, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกุล และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2564). ความชุกของการสูญเสียการได้ยินและการสัมผัสเสียง ของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 15(1), 1-13.
กนกวรรณ มหาวัน, วิโรจน์ จันทรและพัชร์สิริ ศรีเวียง. (2562). การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานไม้แปรรูป: กรณีศึกษาตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารมธรรมศาสตร์เวชสาร, 19, S64-S76.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ. (2563, กรกฎาคม). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังจากการประกอบอาชีพ. กระทรวงสาธารณสุข, https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1030820200713105552.pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/01_envocc_situation_60.pdf.
จิราพร ประกายรุ้งทอง และสุวัฒนา เกิดม่วง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน ในกลุ่มคนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 98-108.
ชนพร พลดงนอก และฌาณ ปัทมะ พลยง. (2565). ความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในสถานประกอบกิจการล้างรถในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 98-111.
ชนัญชิตา รักษ์ทอง. (2565). การศึกษาผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินของเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลตรัง. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 30(1), 82-98.
ธีรภัทร์ จงสัจจา. (2564). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินในพระสงฆ์ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลสงฆ์. วารสารกรมการแพทย์, 46(1), 24-29.
ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, สุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล, ศิรินทิพย์ ชาญด้วยวิทย์, วันทนีย์ หวานระรื่น และวนิดา อินชิต. (2560). ความชุกของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินในพนักงานอุตสาหกรรมเคมี: การเปรียบเทียบผลตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินของ NIOSH และ OSHA. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(36), 10-19.
นันท์มนัส บุญโล่ง, ศราวุธ ดำอุดม, กมลพรรณ โลหกุล และรุ่งกานต์ เพชรล้วน. (2556). การสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 7(2), 327-336.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. (2561, 26 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 19 ง. หน้า 15.
พรพิมล กองทิพย์. (2555). สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). เบสท์ กราฟฟิค เพรส.
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. (2561,12 ตุลาคม). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561 (ฉบับปรับปรุงปี 2561). มูลนิธิสัมมาอาชีวะ, https://www.summacheeva.org/book/audiometry
วันเพ็ญ ทรงคำ, พรรณี สุวรรณสิทธิ์ และฐิติมา วันทอง. (2564). อัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในบุคลากรโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(2), 208-217.
ศิริวรรณ อาจบำรุง, ภคพล ช่างยันต์ และรมนรี ภูดีบุตร. (2556). เครื่องตัดหญ้าแบบประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ [รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศุภกฤษณ์ เสวะกะ. (2559). ปัจจัยคุกคามสุขภาพการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกัญญา มหาโชคลาภ. (2561). การสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2), 1127-1134.
อริสรา ฤทธิ์งาม, เจนจิรา เจริญการไกร, สวรรณา จันทร์ประเสริฐ และจันทร์ทิพย์ อินทวงศ์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 118-131.
อัถสิทธ์ รัตนารักษ์, มนัสวร อินทรพินทุวัฒน์, กัมปนาท วังแสน และพรพรรณ สกุลคู่. (2560). สถานการณ์การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังของประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 1-10.
Eric, M. (2017, July 1). Heinrich’s domino model of accident causation. RISK ENGINEERING, https://risk-engineering.org/concept/Heinrich-dominos
Gopinath, B., McMahon, C., Tang, D., Burlutsky, G., & Mitchell, P. (2021). Workplace noise exposure and the prevention and 10-year incidence of age-related hearing loss. PLOS ONE, 16(7), e0255356. https://doi.org/ 10.1371/journal.pone.0255356
Hong, S. M., Park, I. S., Kim, Y. B., Hong, S. J., & Lee, B. (2016). Analysis of the prevalence of and factors associated with hearing loss in Korean adolescents. PLOS ONE, 11(8), e0159981. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0159981
Jaafar, N. I., Md Daud, M.K, Mohammad, I., & Abd Rahman, N. (2017). Noise-induced hearing loss in grass-trimming workers. Egyptian Journal of Ear, Nose, Throat and Alilied Sciences, 18(3), 227-229. https://doi.org/10.1016/j.ejenta.2017.07.002
Joseph, L. F., Bruce, L., Myunhee, C. K. & Joseph, F. (2003). Statistical Methods for Rates & Proportions (3th ed.). John Wiley & Son.
Melese, M., Adugna G. D., Mulat B., & Adera A. (2022). Hearing loss and its associated factors among metal workshop workers at Gondar city, Northwest Ethiopia. Frontiers in Public health, 2022(10), 919239. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.919239
Mizoue, T., Miyamoto, T., & Shimizu, T. (2003). Combined effect of smoking and occupational exposure to noise on hearing loss in steel factory workers. Occupational and Environmental Medicine, 60, 56-59.
Pang, W., Li, J., Qiu, K., Cheng, D., Rao, Y., Song, Y., Deng, D., Mao, M., Li, X., Ma, N., Chen, D., Luo, Y., Xu, W., Ren, J., & Zhao, Y. (2023). Associations Between Body Composition and Sensorineural Hearing Loss Among Adults Based on the UK Biobank. Otolaryngol Head Neck Surg, 169, 875-883. https://doi.org/10.1002/ohn.323
Renu, R. (2012). Noise-included hearing loss: Recent advances in pharmacological management. Indian Journal of Otology, 18(4), 174-178. https://doi.org/10.4103/0971-7749.104792
Svinndal, E. V., Solheim, J., Rise, M. B, & Jensen, C. (2018). Hearing loss and work participation: A cross-sectional study in Norway. International Journal of Audiology, 57(9), 646-656.
Thongtip, S., Sangkham, S., & Sukpromson, R. (2020). Factors Associated with Occupational Hearing Loss among Stone Mortar Workers in Phayao province, Northern Thailand. Journal of Health Science and Medical Research 2020, 38(3), 213-219.
World Health Organization (WHO). (2001). Occupational and community noise. The Organization.