ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล

Main Article Content

เจษฎานันท์ เวียงนนท์
แสน กีรตินวนันท์
อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์
อิงเดือน แสงเงิน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่ถูกจัดเป็นแหล่งกำเนิดขยะของเมือง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันทางการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบขยะทางกายภาพด้วยวิธี Quartering Method ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยด้วยกระบวนการ Multi-Criteria Analysis (MCA) ผลการศึกษาพบว่า มีปริมาณขยะรวม 1,693 กิโลกรัม/วัน อัตราการเกิดขยะมีค่าเท่ากับ 1.55 กิโลกรัม/คน/วัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันทางการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล มีทั้งหมด 20 ปัจจัย จัดกลุ่มปัจจัยสำคัญหลักเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านนโยบายและองค์กร 2) ปัจจัยด้านบริหารจัดการ 3) ปัจจัยด้านขั้นตอนการดำเนินการ และ 4) ปัจจัยด้านผลการดำเนินการ การประยุกต์ข้อมูลปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการขยะเพื่อการสร้างทางเลือกการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เสนอแผนการก่อสร้างสถานที่รวบรวมขยะของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับปริมาณขยะ (2) จัดทำแผนการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ต่อมหาวิทยาลัย โดยการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแบบองค์รวมที่มีระบบการจัดการแบบเดียวกัน (3) กำหนดทิศทาง การสร้างกิจกรรมที่มีกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เป็นรูปธรรมในการกำหนดรูปแบบกิจกรรมแบบต่อเนื่องเพื่อสร้างความยั่งยืน และ (4) บูรณาการปัจจัยจากผลลัพธ์ของการศึกษาร่วมกับปัจจัยอื่นๆจากนอกพื้นที่ศึกษา เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรในมิติการจัดการขยะเชิงพื้นที่ เพื่อให้สามารถเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทของการเป็นสถาบันด้านวิชาการในการพัฒนาเมืองด้านสาธารณสุข และตอบโจทย์การเป็นองค์กรสีเขียวเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เจษฎานันท์ เวียงนนท์, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Interdisciplinary Program of Environmental Science, Chulalongkorn University.

References

กฤติยา พุตติ และวนารัตน์ กรอิสรากุล. (2560). การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณขยะมูลฝอยจากการขยายตัวของอาคารที่อยู่อาศัยในอนาคต กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(2), 210-224. https://doi.org/10.14456/tstj.2017.18

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2563. สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.

เจษฎานันท์ เวียงนนท์. (2561). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการขยะจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ต้นน้ำ กรณีศึกษาอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โมทนา สิทธิพิทักษ์, สิริฉันท์ สถิรกุลเตชพาหพงษ์ และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ มหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน. Journal of Education Studies, 49(2), EDUCU4902006-10. https://doi.org/10.14456/educu.2021.27

สำนักสิ่งแวดล้อม. (2565, 2 กุมภาพันธ์). กทม.บริหารจัดการขยะเน้นสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตั้งเป้าให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอดขยะ. https://shorturl.asia/M9PLd

Areeprasert, C., Asingsamanunt, J., Srisawat, S., Kaharn, J., Inseemeesak, B., Phasee, P., Khanoknunt, K., Siwakosit, W., & Chiemchaisri, C. (2017). Municipal plastic waste composition study at transfer station of Bangkok and possibility of its energy recovery by pyrolysis. Energy Procedia, 107(2017), 222-226. https://doi.org/10.1016/j.egypro.2016.12.132

Camarillo, M. E., & Bellotindos, L. M. (2021). A Study of Policy Implementation and Community Participation in the Municipal Solid Waste Management in the Philippines. Applied Environmental Research, 43(2), 30-45. https://doi.org/10.35762/AER.2021.43.2.3

Fagnani, E., & Guimaraes, J. R. (2017). Waste management plan for higher education institutions in developing countries: The Continuous Improvement Cycle model. Journal of cleaner production, 147, 108-118. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2017.01.080

Kalra, N. (2020). Community participation and waste management. In Sustainable Waste Management: Policies and Case Studies. Springer.

Kongroy, P., Kaewkamthong, P., Pinawet, T., Tungsuwan, I., & Noikondee, R. (2021). Knowledge, needs and satisfaction with the waste recycling bank project Phetchabun Rajabhat University. Journal of Science and Technology Phetchabun Rajabhat University, 1(1), 75-85.

Salguero-Puerta, L., Leyva-Diaz, J. C., Cortes-García, F. J., & Molina-Moreno, V. (2019). Sustainability indicators concerning waste management for implementation of the circular economy model on the University of Lome (Togo) Campus. International journal of environmental research and public health, 16(12), 2234.

Swangjang, K. (2018). Development of Conceptual Model for Eco-Based Strategic Environmental Assessment. In Kinetic Modeling for Environmental Systems. IntechOpen.

Tepping, B. J. (1968). Elementary Sampling Theory, Taro Yamane. Prentice.

Tran, M. T., Zhang, J., Chikaraishi, M., & Fujiwara, A. (2016). A joint analysis of residential location, work location and commuting mode choices in Hanoi, Vietnam. Journal of Transport Geography, 54(C), 181-193. https://doi.org/ 10.1016/j.jtrangeo.2016.06.003

Vassanadumrongdee, S., & Kittipongvises, S. (2018). Factors influencing source separation intention and willingness to pay for improving waste management in Bangkok, Thailand. Sustainable Environment Research, 28(2), 90-99.

Wongthongdeepeekaew, P., Tabucanon, A. S., & Sereenonchai, S. (2023). Strategic Environmental Assessment: A Case Study of Mueang Lopburi District, Lopburi Province, Thailand. Thai Environmental Engineering Journal, 37(1), 73-88.