ชุมชนเข้มแข็งสู่การเกิดสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเมืองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ เคหะศรีย่าน เขตดุสิต ชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์
สิริยา รัตนช่วย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุข ที่เกิดขึ้นจากฐานชุมชนเข้มแข็งในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตคนเมือง ที่สามารถเป็นแนวทางสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทการพัฒนามหานคร โดยการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มผู้นำของทั้งสองชุมชน จำนวน 12 คน 2) กลุ่มสมาชิกชุมชนทั้งสองชุมชน จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม


ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกและกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขคือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำอาสาสมัคร เครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน 2) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตคนเมืองคือ (1) สมาชิกชุมชนเมืองทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดีและได้รับบริการสาธารณสุขพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว (2) การประสานงานด้านสุขภาพหรือสุขอนามัยภายในชุมชนกับเครือข่ายสถานพยาบาล และการระดมทรัพยากรทางการแพทย์จากเครือข่ายสถานพยาบาลโดยรอบชุมชน (3) การเรียนรู้บทเรียนภาวะโรคอุบัติใหม่ และ (4) การบริหารจัดการชุมชนเมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ (โควิด - 19)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญ แลโสภา. (2566). รูปแบบการพัฒนาความรู้รอบด้านสาธารณสุขของแกนนำในการเฝ้าระวัง COVID – 19 ตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 22-29.

พงษ์ศักดิ์ นาต๊ะ, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม และรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์. (2561). การบูรณาการในระบบสุขภาพชุมชน. วารสาร Thai Journal of Pharmacy Practice, 11(1), 78-91.

ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 269-279.

ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล. (2563). ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพด้วยระบบนิเวศทางธุรกิจและเทเลเฮลธ์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 1-15.

สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 72-87.

สิริยา รัตนช่วย. (2565). กระบวนการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาดา อินกำแหง ณ ราชสีมา, สมตระกูล ราศิริ และธิติรัตน์ ราศิริ. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 80-97.

แสน กีรตินวนันท์ และเพชร รอดอารีย์. (2562). กลไกการสร้างความเข้มแข็งและความต้องการทางด้านสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น), 14(2), 103-120.

แสน กีรตินวนันท์ และสิริยา รัตนช่วย. (2563). กลไกการสร้างความเข้มแข็งสวัสดิการชุมชนเมือง กรณีศึกษาชุมชนชาวไทยเกาะกลาง ชุมชนชาวจีนโบ๊เบ๊ ชุมชนคริสต์กุฎีจีน ชุมชนมุสลิมมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1254-1268.

Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decision Through Citizen Involvement. Jossey – Bass.

Touraine, A. (2001). Beyond Neoliberalism. Polity.