ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำประปา

Main Article Content

วราภรณ์ ถาวรวงษ์
ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย
นัชชา ผลพอตน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของระบบประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับคุณภาพน้ำประปาด้านการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 630 แห่ง เครื่องมือวิจัยใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำ และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพของระบบประปาของกรมทรัพยากรน้ำ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-test และ Spearman correlation ผลการศึกษาระบบประปา พบว่าเป็นระบบประปาบาดาล คิดเป็นร้อยละ 51.1 และระบบประปาผิวดิน คิดเป็นร้อยละ 48.9 รูปแบบโครงสร้างส่วนใหญ่ คือ รูปแบบของกรมทรัพยากรน้ำ ร้อยละ 37.3 รองลงมา คือ รูปแบบของกรมโยธาธิการ ร้อยละ 28.4 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบประปา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 79.04 รองลงมาคือ ระดับดีร้อยละ 12.50 คุณภาพน้ำประปาด้านการปนเปื้อนแบคทีเรียที่ปลายท่อ พบการปนเปื้อน ร้อยละ 88.3 โดยคุณภาพน้ำด้านการปนเปื้อนแบคทีเรียมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพของระบบประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน (r = 0.134) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าด้านระบบประปา (ความสัมพันธ์เชิงบวก r = 0.132) และด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา (ความสัมพันธ์เชิงบวก r = 0.087) มีผลทำให้คุณภาพน้ำด้านแบคทีเรียดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2558). การสำรวจข้อมูลระบบการผลิตน้ำประปาในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ปี 2558. กรมอนามัย.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรน้ำ. (2561). หลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, กลุ่มพัฒนาระบบจัดการคุณภาพน้ำบริโภค. (2564). รายงานการสุ่มประเมินมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน พ.ศ.2561 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ.

กิตติยา กฤติยรังสิต และฉัตรเพชร ยศพล. (21 พฤษภาคม, 2552). การประเมินประสิทธิภาพระบบประปาชุมชนใน เขตเมืองนครราชสีมา [Paper]. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร. (ม.ป.ป.). กระบวนการผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำบาดาล. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/water-quality/download/?did=212100&id=100973&reload=.

จรียา ยิ้มรัตนบวร และสุดจิต ครุจิต. (2557). รายงานการวิจัยการประเมินคุณภาพน้ำในระบบประปาชุมชน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5453.

เชาว์ ตะสันเทียะ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นฤมล ประภาสมุทร. (2549). การดูแลระบบผลิตและคุณภาพน้ำประปาของระบบประปาหมู่บ้านแบบผิวดิน ในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 6(2), 121-134.

มยุรี โยธาวุธ. (2560). การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านของประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์. (2554). การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มของ ครัวเรือนชนบท. วารสารวิจัย มข., 16(8), 1025-1035.

วิภู กฤษณุรักษ์. (2560). การศึกษาคุณภาพน้ำบริโภคเพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 เชียงใหม่. ห้องสมุดกรมอนามัย, https://library.anamai.moph.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mmvw&db=Main&skin=s&mmid=378&bid=27028.

วิวัฒน์ อ่อนนาคคล้ำ. (2563). ผลของระดับน้ำและเวลาลดระดับน้ำในหอสุญญากาศต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นสำหรับระบบผลิตน้ำประปา โดยถังตกตะกอนชนิดชั้นตะกอน. วิศวสารลาดกระบัง, 37(2), 17-24.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580). สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

Bartram, J. (2008). The Global Challenge of Water Quality and Health. Water Practice & Technology, https://doi.org/10.2166/wpt.2008.090

Bonney, R., Shirk, J. L., Phillips, T. B., Wiggins, A., Ballard, H. L., Miller-Rushing, A. J., & Parrish, J. K. (2014). Next steps for citizen science. Science, 343(6178), 1436-1437. https://doi.org/10.1126/science.1251554

Conrad, C. C., & Hilchey, K. G. (2011). A review of citizen science and community-based environmental monitoring: issues and opportunities. Environ Monit Assess, 176(1-4), 273-291. https://doi.org/ 10.1007/s10661-010-1582-5

Fox, M. A., Nachman, K. E., Anderson, B., Lam, J., & Resnick, B. (2016). Meeting the public health challenge of protecting private wells: proceedings and recommendations from an expert panel workshop. Dcience of the Totle Envirinment, 554-555, 113-118. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2016.02.128

Majuru, B., Mokoena, M. M., Jagals, P., & Hunter, P. R. (2011). Health impact of small community water supply reliability. International Journal of Hygiene and Environmental Health, 214(2), 162-166. https://doi.org/10.1016/j.ijheh.2010.10.005

Rosario-Ortiz, F., Rose, J., Speight, V., Gunten, U. V., & Schnoor, J. (2016). How do you like your tap water?. Science, 351(6276), 912-914. https://doi.org/10.1126/science.aaf0953

UNICEF, W. (2009). Diarrhea: Why children are still dying and what can be done. United Nations Children’s Fund.

United Nations. (n.d.). THE 17 GOALS. https://sdgs.un.org/goals.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition ed.). Harper and Row.