ปรากฏการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี: การศึกษาเชิงคุณภาพ

Main Article Content

อารยา เชียงของ
วีรพงษ์ พวงเล็ก
อมราพร สุรการ
ชัยยุทธ กลีบบัว
นิตยา สุขชัยสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอธิบายเงื่อนไขของพฤติกรรมเสี่ยง และสาเหตุของการใช้รถจักรยานยนต์ในผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 2) บุคคลในครอบครัว ผู้ปกครอง ครู หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 3) บุคลากรทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี  และ 4) บุคคลที่มีบทบาทในการดูแลความปลอดภัยทางถนน  


ผลการวิจัยพบเงื่อนไขเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ในผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 4 ระดับ ได้แก่ ระบบจุลภาค มีทั้งหมด 3 ประการ คือ 1) ผู้ขับขี่อายุน้อย อ่อนวุฒิภาวะ ขาดทักษะการขับขี่ และ ประมาท 2) การรวมตัวกับเพื่อนเพื่อขับขี่แข่งกัน และขับขี่ด้วยวิธีแปลกๆ เพื่อโชว์ความเท่  และ3) ครอบครัวไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน อนุญาติให้ขับขี่ในวัยอันไม่สมควร  ระบบกลาง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนที่โรงเรียนไม่สนับสนุนให้ขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียนแต่ก็ไม่ห้ามเนื่องจากเห็นถึงความจำเป็นของแต่ละครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางที่ไม่สะดวก ระบบภายนอก มี 5 ประการ คือ 1) บริบทแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย 2) สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวชั้นกลางมักให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง 3) ความไม่พร้อมของการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ 4) รถจักรยานยนต์คือพาหนะที่สะดวกและประหยัดค่าเดินทาง และ 5) การเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่ราคาเข้าถึงได้ ระบบมหภาคมี 2 ประการ  1) ค่านิยมที่เชื่อว่าการปรับเปลี่ยนสภาพรถจักรยานยนต์ใหม่มีความแรง และขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยวิธีแปลกๆเป็นที่ดึงดูดและมีเสน่ห์หรือมีความเท่ 2)วัฒนธรรมการรักษากฎกติกาของคนไทยที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ


สรุป เงื่อนไขที่พบนี้สามารถนำไปหาแนวทางในการป้องกันอันตรายที่เกิดจากพฤติกรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแนวทางงานวิจัยด้านความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์. ภาควิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิด อุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กุลธิดา ท่าทราย, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์ และฤทธิรงค์ พันธ์ดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจาก การขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 14(1), 50-68.

ชนัญญา ประสาทไทย. (2561). รถจักรยานยนต์:ปฏิบัติการบนท้องถนน. วารสารธรรมศาสตร์, 37(1), 96-109.

ณัฐจิต อ้นเมฆ, จินดา คงเจริญ, อัญมณี ตนคลัง และอาริสา เอ็มบุตร. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยากับพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 15(2), 13-24.

ดารารัตน์ ช้างด้วง. (2562). เปิดมุมมองสะท้อนความจริงของผู้เปราะบางบนถนน (VRUs). ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

นงคราญ ตาต๊ะคำ. (2558). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัณฑิต ตั้งกมลศรี. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ: วิเคราะห์กลุ่มพหุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประทีป นรากล่ำ. (2562). รูปแบบการแก้ไขปัญหาการแข่งรถจักรยานยนต์บนท้องถนนของเด็กแว้นในเขตความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 3. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 399-418.

พรรณี ปานเทวัญ. (2560). โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 7-15.

มิณฑกานต์ สร้อยแสง และกิ่งกาญจน์ จงสุขไกล. (2563). การตอบสนองด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนของผู้ใช้รถใช้ถนนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่เสี่ยงจังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 9(2), 125-140.

วัชรพงษ์ เรือนคำ และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2562). อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย: มุมมองทางวิทยาการระบาด. วารสาร มฉก.วิชาการ, 23(1), 146-160.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ. (2565, 24 กุมภาพันธ์). ข้อมูลสถิต ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ. ThaiRSC, https://www.thairsc.com/.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. (2564, 21 พฤษภาคม). รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย 2561-2564. http://www.roadsafetythai.org/.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2563, กันยายน). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข, https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297

Boramanan, N. (2012). The New Standard of Public Service in Thailand. Winyuchon.

Bronfenbrenner, U. (1974). Developmental research, public policy, and the ecology of childhood. Child Development, 45(1), 1-5.

Broom, L., & Selznick, P. (1971). Sociology (4th ed.). Harper & Row.

Buckley, L., Chapman, R. L., & Sheehan, M. (2014). Young Driver Distraction: State of the Evidence and Directions for Behavior Change Programs. Journal of Adolescent Health, 54(5, Supplement), S16-S21. https://doi.org/10.1016/j.jadohealth.2013.12.021

Harkonen, U. (2007). The Bronfenbrenner ecological systems theory of human development. In Scientific articles of V international conference: Person color nature music. World Health Organization, https://apps.who.int/ iris/handle/10665/160762.

Hyder, A. A., Waters, H., Phillips, T., & Rehwinkel, J. (2007). Exploring the economics of motorcycle helmet laws-implications for low and middle-income countries. Asia Pacific Journal of Public Health, 19(2), 16-22.

McLaren, L., & Hawe, P. (2005). Ecological perspectives in health research. Journal of Epidemiology and Community Health, 59, 6-14.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Sage Publications.

Pirchio, S., Passiatore, Y., Tritrini, C., & Taeschner, T. (2013). The Role of the Relationship between Parents and Educators for Child Behaviour and Wellbeing. International Journal about Parents in Education, 7(2), 145-155.

Sumit, K., Brijs, K., Ross, V., Wets, G., & Ruiter, A. C. R. (2022). A Focus Group Study to Explore Risky Ridership among Young Motorcyclists in Manipal, India. Safety, 8(2), 1-27. https://doi.org/10.3390/safety8020040

World Health Organization. (2018, February 6). Global Status Report on Road Safety. https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684.

World Health Organization. (2015, February 6). Child development and motorcycle safety. https://apps.who.int/iris/handle/10665/160762.