แนวโน้มอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2554-2564

Main Article Content

อารยา ประเสริฐชัย
มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในผู้หญิงไทย เมื่อเปรียบเทียบอัตราอุบัติการปรับมาตรฐานของมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทยระหว่าง ปีพ.ศ. 2545 และ ปีพ.ศ. 2563 พบว่ามีการลดลงจาก 20.7 เป็น 11.3 ต่อประชากรหญิงไทย 100,000 คน นอกจากนั้นยังพบอัตราการตายตามกลุ่มอายุเพิ่มขึ้นจาก 3.53 เป็น 4.1 ต่อประชากรหญิงไทย 100,000 คน ซึ่งถ้านโยบายคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นไปตามเป้าหมาย อัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทยควรมีแนวโน้มลดลง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบแนวโน้มอัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายปรับฐานอายุของโรคมะเร็งปากมดลูก (C53) ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2564 โดยทำการศึกษาจากข้อมูลการตายของกระทรวงสาธารณสุข ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ครั้งที่ 10 ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2564 มาคำนวณเพื่อหาแนวโน้มอัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายเมื่อปรับฐานอายุต่อประชากรเพศหญิง 100,000 คน โดยใช้ประชากรมาตรฐานในปี พ.ศ.2564


 


ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายปรับฐานอายุของโรคมะเร็งปากมดลูก (C53) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี และอัตราการตายตามกลุ่มอายุก็มีแนวโน้มอัตราการเพิ่มขึ้นที่ลดลงจากการเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้นด้วยวิธีการตรวจแปปสเมียร์ ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 30 - 60 ปี ทุก ๆ 5 ปี โดยพบว่ามีผู้หญิงไทยมารับบริการประมาณร้อยละ 76 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดกรองให้มากขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มการทำโครงการรณรงค์ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อารยา ประเสริฐชัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

 

 

 

 

 

 

มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

 

 

 

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2554, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2554. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic54.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2556, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2556. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic56.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2558, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic58.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2560. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic60.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic62.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 4 มกราคม). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2564. http://bps.moph.go.th/new_bps/ sites/default/files/statistic64.pdf.

ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ และวีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2561). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก. โฆสิตการพิมพ์.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองจอก. (2560). สรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองจอก.

วสันต์ ลีนะสมิต, พรสม หุตะเจริญ, กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, กอบกุลไพศาลอัชพงษ์ และชลิดา เกษประดิษฐ์. (2559). การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุม: แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ. สำนักอนามัยเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564, 4 พฤษภาคม). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. https://kb.hsri.or.th/dspace/ handle/11228/5425

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. (2565). Age-Standardizes Death Rate: Comparative Mortality Figures-การคำนวณอัตราตายปรับฐานอายุ (Age-Standardizes Death Rate) เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่.

วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 3-4.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2550). แนวทางการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 75 จังหวัด ปี 2550. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2560, 4 พฤษภาคม). หัวข้อปัญหาและ/หรือเทคโนโลยีด้านสุขภาพ: เรื่อง การใช้ HPV DNA test ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับประชากรในไทย. https://shorturl.at/eFPS4

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2563). แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2564, 4 มกราคม). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html#p=1

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2565, 4 พฤษภาคม). โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 75 จังหวัด. http://www.nci.go.th/cxscreening/download/(upload).pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565, 4 มกราคม). ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test ค้นความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกในระดับพันธุกรรม. https://www.nhso.go.th/news/3634

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (2561). คู่มือแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี pap smear. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. (2566, 4 พฤษภาคม). Health Data Center.

https://kri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=4eab25b045dc0a9453d85c98dc2fdef0

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2562, 4 พฤษภาคม). สรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://rb.gy/dcl2z

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุมแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ. กระทรวงสาธารณสุข.

ไอรีน เรืองขจร. (2561). มะเร็งปากมดลูก. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

International Agency for Research on Cancer; IARC. (2022a, May 4). Estimated number of new cases from 2020 to 2040, Females, age [0-85+], Cervix uteri in Thailand. https://gco.iarc.fr/tomorrow/en/dataviz/isotype?sexes=2&single_unit=500&cancers=23&populations=764&group_populations=1&multiple_populations=1&years=2040

International Agency for Research on Cancer; IARC. (2022b, January 4). Cancer Tomorrow Cervix Uteri. https://gco.iarc.fr/tomorrow/en/dataviz/isotype?cancers=23&single_unit=5000&populations=324_454_646_748_800_894&group_populations=1&multiple_populations=1&sexes=2&years=2040.

International Agency for Research on Cancer; IARC. (2022c, May 4 ). Crude rate per 100 000, incidence, females, age [0-74], Cervix uteri. https://gco.iarc.fr/overtime/en/dataviz/ trends?populations=3600&sexes=2&types=0&multiple_populations=0&mode=cancer&multiple_cancers=1&key=crude_rate&age_end=14&cancers=0&group_populations=0

Khuhaprema, T., Srivatanakul, P., Attasara, P., Sriplung, H., Wiangnon, S., & Sumitsawan, Y. (2010).

Cancer in Thailand Vol. V, 2001-2003. 52-82. National Cancer Institute.

Klemp Gjertsen, M., Neilson, A. R., & Freiesleben de Blasio, B. (2007). Cost-Effectiveness of Human Papillomavirus (HPV) Vaccination in Norway. Knowledge Centre for the Health Services at The Norwegian Institute of Public Health (NIPH).

Landy, R., Pesola, F., Castanon, A., & Sasieni, P. (2016). Impact of cervical screening on cervical cancer mortality: estimation using stage - specific results from a nested case - control study. Br J Cancer, 115, 1140–1146. https://doi.org/10.1038/bjc.2016.290

Ploysawang, P., Rojanamatin, J., Prapakorn, S., Jamsri P., Pangmuang, P., Seeda, K., & Sangrajrang, S. (2021). National Cervical Cancer Screening in Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 22, 25-30.

Shastri, S. S., Temin, S., Almonte, M., Basu, P., Campos, N. G., Gravitt, P. E., Gupta, V., Lombe, D. C., Murillo, R., Nakisige, C., Ogilvie, G., Pinder, L. F., Poli, U. R., Qiao, Y., Woo, Y. L., & Jeronimo, J. (2022). Secondary Prevention of Cervical Cancer: ASCO Resource-Stratified Guideline Update. JCO Global Oncology, 8, 1-24. https://doi.org/10.1200/go.22.00217

Singh, G. K., Azuine, R. E., & Siahpush, M. (2012). Global Inequalities in Cervical Cancer Incidence and Mortality are Linked to Deprivation, Low Socioeconomic Status, and Human Development. International journal of MCH and AIDS, 1(1), 17–30. https://doi.org/10.21106/ijma.12

Simms, K. T., Steinberg, J., Caruana, M., Smith, M. A., Lew, J. B., Soerjomataram, I., Castle, P. E., Bray, F., & Canfell, K. (2019). Impact of scaled up human papillomavirus vaccination and cervical screening and the potential for global elimination of cervical cancer in 181 countries, 2020-99: a modelling study. The Lancet. Oncology, 20(3), 394–407. https://doi.org/10.1016/S1470-2045(18)30836-2

Zhang, X., Zeng, Q., Cai, W., & Ruan, W. (2021). Trends of cervical cancer at global, regional, and national level: data from the Global Burden of Disease study 2019. BMC public health, 21(1), 894. https://doi.org/10.1186/s12889-021-10907-5

Vu, M., Yu, J., Awolude, O.A., & Chuang, L. (2018). Cervical cancer worldwide. Current Problems in Cancer, 42(5), 457-465. https://doi.org/10.1016/j.currproblcancer.2018.06.003

World Health Organization. (2014, January 4). Comprehensive cervical cancer control: a guide to essential practice (2nd ed.). http://www.who.int/reproductivehealth/publications/cancers/cervical-cancer-guide/en/.