ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงาน และระดับความรุนแรงของการปวดคอ ไหล่ ของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ปิยธิดา สุทธิบาก
สุนิสา ชายเกลี้ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความเครียดจากการทำงานและความรุนแรงของการปวดคอ หรือไหล่ของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนจำนวน 257 คน


 


ผลการศึกษา พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 30-39 ปี ตำแหน่งงาน หรือระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 77.04 หน้าที่หลักของพนักงานส่วนใหญ่คือ ตรวจสอบชิ้นงาน มีจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 40.47 ลักษณะการทำงานเป็นการทำงานซ้ำซากในท่าเดิม ร้อยละ 87.55 ใช้สายตาเพ่งในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 62.26 พบความรู้สึกจากภาระงาน Subjective workload index (SWI) ที่ระดับ 5 หมายถึง ไม่สบายใจมาก ต้องแก้ไขในระยะเวลา เป็นสัปดาห์ ร้อยละ 11.28 ระดับ 4 หมายถึง ไม่สบาย ต้องหาทางแก้ไขภายในระยะเวลา เป็นเดือน ร้อยละ 13.23 ระดับ 3 หมายถึงไม่สบายปานกลาง ร้อยละ 31.91 ความเครียดจากการทำงานของพนักงานส่วนใหญ่มีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 56.42


 


จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้ BRIEF survey พบความเสี่ยงในระดับสูงถึงสูงมากที่คอร้อยละ 33.46 ไหล่ร้อยละ 29.57 พบความรุนแรงตามการรับรู้ ในระดับสูงมาก คือ คอ ร้อยละ 26.46 ไหล่ ร้อยละ 15.18 ของพนักงาน ความถี่ของอาการตามการรับรู้ในระดับสูงมาก คือ คอ ร้อยละ 26.46 ไหล่ ร้อยละ 15.18 และพบความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความเครียดกับระดับความรุนแรงของการปวดไหล่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.126, p-value= 0.042) จากผลการวิจัยที่พบในการศึกษานี้ สามารถเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขลักษณะการทำงานโดยพนักงาที่ใช้สายตาเพ่งชิ้นงานให้ดีขึ้นด้านปัจจัยเสี่ยงด้วยการปรับปรุงแสงสว่างในการทำงานให้เหมาะสมและการพักสายตาระหว่างชั่วโมงทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลิตา ช่ออบเชย, สุนิสา ชายเกลี้ยง และพรนภา ศุกรเวทศิริ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยง ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในทันตบุคลากร. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(4), 244-58.

ยิ่งรัก บุญดํา. (2563, 31 มีนาคม). ความเครียดและภาวะปวดกล้ามเนื้อ. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์, https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/489/ความเครียด-ปวด กล้ามเนื้อ/.

โรจกร ลือมงคล และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และความเครียดจากการทำงานของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 29(6), 516-23.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วรวรรณ ภูชาดา และธวัชชัย คำป้อง. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัย บรูพา, 12(1), 99-111.

สุขสรร ศิริสุริยะสุนทร และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2558). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และการปวดคอ ไหล่ หลัง ในเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(3), 54-63.

Chaiklieng, S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE, 14(12), 1/8 - 8/8. https://doi.org/10.1371/journal.pone. 0224980

Chaiklieng S., Suggaravetsiri P., Sungkhabut W., & Stewart J. (2019). Prevalence and risk factors associated with upper limb disorders and low back pain among informal workers of hand-operated rebar benders. In Ahram et al. (Eds.), Human Systems Engineering and Design II (pp. 611-618). Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-030-27928-8

Pongthawornpinyo, S., & Pasunon, P. (2015). The Factors effecting the Stress of Employees in Mobile Phone's Capacitor Parts Factory. Journal of Chandrakasem Sarn, 21(41), 125-133.