การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานของแรงงานสูงอายุนอกระบบในภาคใต้ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานของแรงงานสูงอายุนอกระบบในภาคใต้ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานสูงอายุนอกระบบในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 90 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.6 อายุเฉลี่ย 63.41 ปี อายุการทำงานเฉลี่ย 20.26 ปี จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์เฉลี่ย 63.45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้สูงอายุภาคใต้ ใน 3 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ชาวสวนยางพารา อาชีพสานกระจูด และอาชีพทำน้ำตาลโตนด มีลักษณะงานย่อย 5, 5 และ 4 ขั้นตอน ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพที่อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง จำนวน 12 แหล่ง โดยสิ่งคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์มากที่สุด ทั้ง 3 กลุ่มอาชีพ จำนวน 7 แหล่ง (ร้อยละ 58.33) ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้สูงอายุภาคใต้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
กิตติวงค์ สาสวด และจารุต ฐิติวร. (2559). ความรู้เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และการประยุกต์ใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายของลูกจ้างและนายจ้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดชลบุรีระยอง และฉะเชิงเทรา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 81-95.
จิตลดา ซิ้มเจริญ และนิศากร สมสุข. (2554). การจัดการความเสี่ยงในงานอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย, 5(1), 11-16.
ชัญทิชา ฉ้วนกลิ่น และจำนงค์ ธนะภพ. (2561). ภาวะสุขภาพและความพร้อมของชุมชนต่อการจัดการอาชีวอนามัยของแรงงานสูงอายุ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(2), 126-140.
ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์ และอภิรดี วงศ์ศิริ. (2565). การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารจันทรเกษมสาร, 28(1), 109-124.
นิชนันท์ ชินรัตน์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2562). การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 97-108.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ลักษณ์.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลรายจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้. สำนักงานฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัชพล อ่ำสุข และปัทพร สุคนธมาน. (2558). แรงงานผู้สูงอายุ: สถานการณ์ และนโยบายของประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(1), 345-364.
รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์, วันดี ไข่มุกด์ และฐิติวร ชูสง. (2558). การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานโม่หินแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 8(27), 13-23.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2563). แนวปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis (JSA). สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
สาลี อินทร์เจริญ. (29 พฤศจิกายน, 2561). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้ออันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานในแรงงานนอกระบบกลุ่มลอกใบจากบ้านในลุ่ม ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง [Poster presenation]. การประชุมวิชาการระดับชาติ (ครั้งที่ 4) และนานาชาติ (ครั้งที่ 2) เรื่องการวิจัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพ, โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง และวรวรรณ ภูชาดา. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 99-111.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2555. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2561. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2556). สิ่งคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการสำรวจสถานประกอบการ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(3), 106-114.
Tangkittipaporna, J., & Tangkittipapornb, N. (2006). Evidence-based investigation of safety management competency, occupational risks and physical injuries in the Thai informal sector. International Congress Series, 1394(2), 39-42. https://doi.org/ 10.1016/j.ics.2006.03.074
Occupational Safety and Health Administration. (2002). Job Hazard Analysis OSHA 3071. Department of Labour.