การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับคนชราในสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบตรวจสอบอาคารสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย (2) สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกของอาคารด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย และ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคาร กลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้อาคารถูกคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) แบบตรวจสอบรายการของอาคาร และ 3) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเดินสัญจร การใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางกายภาพ 8 องค์ประกอบภายในอาคาร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ มีสิ่งกีดขวางในเส้นทางหนีไฟ บันไดที่ไม่ใช่บันไดหนีไฟไม่มีการติดป้ายสัญลักษณ์แสดงทิศ ตำแหน่ง อุปกรณ์เปิด-ปิดประตูทางออกอื่น ๆ เป็นชนิดลูกบิด ไม่มีแผนผังอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทั้งแบบเสียง แสง ระบบสั่นสะเทือนและปุ่มสัญญาณแจ้งภัย 2) ด้านพฤติกรรมการใช้พื้นที่ มีเพียงส่วนน้อยที่เคยเดินสะดุดสิ่งกีดขวางทางเดิน นอกจากนี้ยังพบประเด็นอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและส่งผลต่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยโดยผู้ดูแลอาคารควรจัดให้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การจัดการความรู้ อาคาร - สถานที่ที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (น. 3)
ทิพย์วารี พาณิชย์กุล. (2562). แนวทางพัฒนาสถานสงเคราะห์คนชราในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพพล เอกคุณากูล และ Noppol Egkunakul. (2553). แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารที่อยู่อาศัยรวมสำหรับผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2532). แนวทางการจัดบริการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ. สถาบันไทยคดีศึกษา.
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2564-2570. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ.
อุมาพร ป้องกัน. (2563). โครงการเสนอแนะปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์ บ้านพักคนชราหญิงติวานนท์ จังหวัดปทุมธานี. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Byun, N. (2019). Fire safety in planning of elderly residential facilities: a case study from korea. Journal of Asian Architecture and Building Engineering, 18(6), 617-626. https://doi.org/10.1080/13467581.2019.1696807
Department of Economic and Social Affairs, United Nations. (2019). Ten key findings. World Population Prospects 2019 : Highlights. 2019. United Nations, http://population.un.org/wpp.
Glauberman, G., & Qureshi, K. (2021). Community/public health nurses’ awareness of residential high-rise fire safety issues. Sage Open Nursing, 7, https://doi.org/10.1177/23779608211040597
Mahdi, S., Moslem, S., Saeed, T., Mohammad, R., Mohammad, R. M., & Mostafa, K. (2022). A bim-based solution for the optimisation of fire safety measures in the building design. Sustainability, 14(1626), 1626-1626. https://doi.org/10.3390/su14031626