การจัดการความปลอดภัยทางถนนบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 กรณีศึกษาเส้นทางท่องเที่ยว จังหวัดพิษณุโลก – จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ
ศุจินธร ทรงสิทธิเดช
วรรณิกา ขันคำนันต๊ะ
บุญพล มีไชโย
ทวีศักดิ์ แตะกระโทก

บทคัดย่อ

ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยมายาวนาน แม้ว่าภาครัฐและเอกชนจะร่วมกันออกนโยบายและมาตรการรณรงค์เพื่อลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนถนนต่อเนื่องทุกปีแต่ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น การศึกษาวิจัยนี้ทำการเก็บข้อมูลบนเส้นทางท่องเที่ยว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงแยกอินโดจีน อ.เมือง จ.พิษณุโลก - แยกพ่อขุนผาเมือง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถิติและตำแหน่งของการเกิดอุบัติเหตุ, พฤติกรรมการใช้ความเร็วยานพาหนะของผู้ขับขี่, การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน, การจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงจุดอันตราย ฮิยาริ ฮัตโตะ และเสนอแนวทาง การปรับปรุงแก้ไขปัจจัยเสี่ยง โดยผลการศึกษา พบว่า เส้นทางดังกล่าวมีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาพฤติกรรมการใช้ความเร็ว แม้ว่าความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะส่วนใหญ่จะไม่เกินกว่ากฎหมายกำหนดที่ 90 กม./ชม. แต่บางช่วงถนนนั้นยังเกินความเร็วที่ปลอดภัย จึงควรมีมาตรการลดความเร็วเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินทางอย่างเร่งด่วน การตรวจสอบความปลอดภัยบนถนนพบปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ปัญหาลักษณะทางกายภาพบนถนน ปัญหาจุดกลับรถ ปัญหาเครื่องหมายจราจรเสื่อมสภาพ ปัญหาผิวจราจรขรุขระชำรุด และปัญหาไฟฟ้าแสงสว่างไม่เพียงพอ การพัฒนาแผนที่จุดเสี่ยง ฮิยาริ ฮัตโตะ จากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่สามารถแสดงตำแหน่งจุดอันตรายและจุดเสี่ยงบนถนนได้ ตลอดจนสามารถนำ มาใช้เป็นแผนที่เฝ้าระวังในการเกิดอุบัติเหตุบนเส้นทางท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวนำไปสู่การจัดการความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ นิ่มตระกูล. (2564, 15 พฤษภาคม). รถ ถนน การเดินทาง : ทำไมประเทศไทยจึงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลก. SDG Move, https://www.sdgmove.com/2021/05/15/sdg-insights- road-safety-thailand/.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563, 3 พฤศจิกายน). จำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ รายเดือน ปี 2559-2562R (ปรับปรุงจำนวนและรายได้ 2562). https://www.mots.go.th/news/category/585.

กรมทางหลวง. (2560). คู่มือการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน สำหรับกรมทางหลวง (Road Safety Audit Manual for Department of Highways). สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง, http://bhs.doh.go.th/files/download/RSA_manual.pdf.

กรมทางหลวง. (2560). ระบบหมายเลขทางหลวง. http://www.doh.go.th/content/page/page/119.

กรมทางหลวง. (2561). รายงานปริมาณการเดินทางบนทางหลวง 2561. http://bhs.doh.go.th/files/ VK/VK2561.pdf.

กรมทางหลวงชนบท. (2561). คู่มือหลักการด้านความปลอดภัยทางถนนสำหรับกรมทางหลวงชนบท. กรมทางหลวงชนบท.

เชิงชาย ปราณีตพลกรัง. (2556). การศึกษาประสิทธิภาพการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการฉาบผิวทางจราจรด้วยวัสดุเคลือบผิวเพื่อลดการลื่นไหล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/5265.

ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ. (2562). การประเมินความปลอดภัยทางถนนภายในสถานศึกษาที่พึ่งชุมชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก. Naresuan University Engineering Journal (NUEJ), 14(1), 61-76.

เนตรธิดาร์ บุนนาค. (2564, 12 กุมภาพันธ์). WHO เผยรายงาน ‘ไทย’ เสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้มีกฎหมายจราจรในเกณฑ์ดี. SDG Move, https://www.sdgmove.com/2021/ 02/10/who-global-sttus-report-on-road-safety-2018/.

บุญพล มีไชโย และดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ. (2563). การประเมินความปลอดภัยทางถนนบนเส้นทางท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (จังหวัดพิษณุโลก-อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์). วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 80-93.

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด. (2562). แผนที่จุดเกิดเหตุทั่วประเทศ. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC, https://www.thairsc.com/riskarea.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห และสราวุธ จริตงาม. (2554). วิศวกรรมขนส่ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). ชานเมือง.

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2551). การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่สี่แยกอินโดจีน. จังหวัดพิษณุโลก, http://www.phitsanulok.go.th/indo/indo.htm.

สำนักอำนวยความปลอดภัย. (2561). อุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงแผ่นดิน ปี 2561. http://bhs.doh.go.th/ files/accident/61/report_accident2561.pdf‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬.

สำนักอำนวยความปลอดภัย. (2564). รายงานการวิเคราะห์คำนวณดัชนีการจราจรติดขัดและความหนาแน่นการจราจร 2563. http://bhs.doh.go.th/files/duschanee/duschanee63.pdf.

อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย. (2561). แนวทางการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 12 (East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นเส้นทางคมนาคมและการขนส่งเพื่อเชื่อมโยงและรองรับยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก-ตะวันตก. [รายงานการศึกษาส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]. https://ndcresearch.rtarf.mi.th.

Abonyi, G. (2016). Cross Border Development and Investment Initiative for Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand (CLM-T): Scoping Study. United Nations Capital Development Fund (UNCDF), Local Finance Initiative Practice Area.

Currin, T. R. (2001). Introduction to Traffic Engineering: A Manual for Data Collection and Analysis. Brooks/Cole Publishing.

Federal Highway Administration. (2006). FHWA Road Safety Audit Guidelines. Federal Highway Administration, United States Department of Transportation.

Fukuda, T., Tangpaisalkit, C., Ishizaka, T., Sinlapabutra, T., & Fukuda, A. (2005). Empirical study on identifying potential black spots through public participation approach: A case study of Bangkok. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, (6), 3683-3696.

Iamtrakul, P., Chayphong, S., & Klailee, J. (2018). Tourism Promotion towards an Improving Road Safety: A Case Study of Motorcycle Rental of Foreign Tourists in Chiang Mai. International Thai Tourism Journal, 14(2), 155-173.

Municipality of Abu Dhabi City. (2009). Road Safety Audits Procedures for Abu Dhabi City Internal Roads. Internal Roads and Infrastructure Directorate.

Occupational Safety and Health Administration. (2016). Recommended Practices for Safety and Health Programs. Department of Labor.

Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD). (2006). Speed Management. European Conference of Ministers of Transport (ECMT), OECD.

Robert, M. (1999). Road Safety Audit the Traffic Safety Toolbox: A Primer on Traffic Safety. Institute of Transportation Engineers.

Roess, P. R., Prassas, E. S., & McShane, W.R. (2004). Traffic Engineering (3rd ed.). Pearson Prentice.

Texas Department of Transportation. (2001). Traffic Data and Analysis Manual. Transportation Planning and Programming Division (TPP). TxDOT.

United Nations. (2015). Take Action for the Sustainable Development Goals. https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/.

World Health Organization. (2020). Road traffic injuries. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.

World Health Organization. (2015). Global Status Report on Road Safety 2015. https://apps.who.int/iris/handle/10665/189242.

World Health Organization. (2017). Global Road Safety Performance Targets. https://www.who.int/publications/m/item/global-road-safety-performance-targets.

Wrisberg, J., & Nilsson, P. K. (1996). Safety Audit in Denmark: A Cost-Effective Activity. Danish Road Directorate.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed.). Harper and Row.