ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเขตใกล้เคียงสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธีระวุธ ธรรมกุล
นิตยา เพ็ญศิรินภา
มะลิ โพธิพิมพ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาตรการทางกฎหมายของจุดจาหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเขตใกล้เคียงสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากรคือ จุดจำหน่าย/ร้าน/สถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผู้จำหน่ายอายุ 18 ปีขึ้นไปตามจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาตามการจัดเขตโซนนิ่งของจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา โดยการสุ่มอย่างง่ายมา 11 อำเภอจากทั้งหมด 32 อำเภอ จากนั้นเก็บข้อมูลจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาทุกแหล่งในอำเภอที่ถูกสุ่มมา รวมจำนวน 120 จุดจำหน่าย โดยทำการสังเกตพร้อมทดลองซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเก็บข้อมูลผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งมีผู้ยินยอมให้ข้อมูลจำนวน 119 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์ 


 


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประเภท/ระดับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในเขตโซนนิ่ง ระยะห่างของจุดจำหน่ายฯ กับสถานศึกษา ทัศนคติ ความเชื่อมั่นในผู้บังคับใช้กฎหมาย ของผู้จำหน่ายฯ และการตรวจสอบจุดจำหน่ายฯโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรการทางกฏหมายของจุดจำหน่ายในเขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษาพื้นที่ชานเมืองและชนบทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและดำเนินการจัดการกับกับปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค, สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. (2559). การประเมินผลครึ่งแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ พ.ศ.2554-255. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. http://www.moe.go.th/data_stat/

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/ 2558. (2558, 23 กรกฏาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 171 ง. หน้า 7-11.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ดุษฎี อายุวัฒน์ และวณิชชา ณรงค์ชัย. (2555). การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. 2551 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น) กรณีผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 55-68.

ทิพยรัตน์ ธรรมกุล, ธีระวุธ ธรรมกุล, ไพโรจน์ พรหมพันใจ, นิยม ไกรปุย และอรณิชา เบลล์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนพื้นที่ชนบท. วารสารวิชาการ สคร.5, 20(2), 5-18.

ทิพยรัตน์ ธรรมกุล, ธีระวุธ ธรรมกุล, ไพโรจน์ พรหมพันใจ, อรณิชา เบลล์, อังคนา แสงผล และศรเพชร มหามาตย์. (2560). รายงานวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบไม่มีที่นั่งดื่มในพื้นที่เสี่ยงสูง [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, กรมควบคุมโรค.

ธีระวุธ ธรรมกุล, นิตยา เพ็ญศิรินภา, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, ทิพยรัตน์ ธรรมกุล และนิยม ไกรปุย. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัย สถานการณ์การจำหน่ายและการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษา. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, www.stou.ac.th/link/mbJM9.

ธีระวุธ ธรรมกุล, นิตยา เพ็ญศิรินภา และมะลิ โพธิพิมพ์. (2563). รายงานการวิจัย การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนและนักศึกษาและการปฏิบัติตามมาตรการทางกฏหมายของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษาพื้นที่ชานเมืองและชนบท. สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, https://ird01.stou.ac.th/researchlib/ShowDataResearch.php?AutoID=2563_027.

นพพล วิทย์วรพงศ์, สมทิพ วัฒนพงษ์วานิช, กมลนัทธ์ มีถาวร และพงศกร เรืองเดชขจร. (2559). นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยในกรอบ 5P. เดือนตุลา.

วุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2553). การพัฒนาตัวแบบแก้ไขปัญหาการละเมิดกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ThaiHealth Resource Center. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/Zp8

ศูนย์อำนวยการประสานกำกับติดตามผลการดำเนินงานคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2558 ศอ.กต. (2559). ประชุมติดตามผลการดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ที่ 22/2558 ครั้งที่ 3/2559. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, http://www7.djop.go.th/webcenter/index.php?name=news&file=readnews&id=20

สุรศักดิ์ ไชยสงค์, กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล และทักษพล ธรรมรังสี. (2556). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2554. เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.

Best, J. W. (1970). Research In Education (2nd ed.). Prentice Hall.

Bloom, Benjamin S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. McGraw-Hill.

Chaiyasong, S., Boonchaisaen, B., Hongthani, S., Panapute, S., & Tangjaturasopon, N. (2013). Perception and Compliance with Alcohol Control Laws of Alcohol Retailers around Mahasarakham University Khamriang Campus. J Sci J Conf, 3(9), 237–44.

Hsieh, F. Y. (1989). Sample size tables for logistic regression. Statistics in Medicine, 8(7), 795-802.

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2014). N4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program. The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University.

Potjanamart, C., Pongnil, M., & Kithathong, S. (2014). Patterns of Alcohol Consumption Among Students in the Northern Universities. Journal of Nursing Science and Health, 37(4), 66-73.

Puangsuwan, A., Phakdeesettakun, K, Thamarangsi, T, & Chaiyasong, S. (2012). Compliance of off-premise alcohol retailers with the minimum purchase age law. WHO South East Asia J Public Health, 1(4), 412-422.

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons.

World Health Organization. (2014). Global status report on alcohol and health 2014. World Health Organization (WHO), http://www.who.int/iris/bitstream/10665/112736/1/ 9789240692763_eng.pdf.