ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มาติดตามการรักษาที่ คลินิกแสงตะวัน โรงพยาบาลราชบุรี

Main Article Content

ธนัตกรณ์ ผุดผาด

บทคัดย่อ

การ​ศึกษา​ครั้ง​นี้​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​เพื่อ​ศึกษา​ปัจจัย​ที่​มี​ผล​ ต่อ​การ​รับ​ประทาน​ยา​ต้าน​ไวรัส​อย่าง​สม่ำเสมอ​ของ​ผู้​ติด​เชื้อ​ เอช​ไอ​วี/เอดส์​ที่มา​ติดตาม​การ​รักษา​ที่​คลินิก​แสง​ตะวัน โรง​พยาบาล​ราชบุรี กลุ่ม​ตัวอย่าง​ที่​ศึกษา​เป็น​ผู้​ติด​เชื้อ​เอดส์/ ผู้​ป่วย​เอดส์​จำนวน212 รายเป็น​ชาย99 รายเป็น​หญิง 113 ราย ชึ่ง​ได้​ทำการ​คัด​เลือก​กลุ่ม​ตัวอย่าง​โดย​ใช้​วิธี​การ​เลือก​ แบบ​เจาะจง เครื่อง​มือ​ที่​ใช้​ใน​การ​วิจัย​ครั้ง​นี้​เป็น​แบบสอบถาม​ ที่​ผู้​วิจัย​สร้าง​ขึ้น​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​แบบ​บันทึก​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ ของ​ผู้​ตอบ​แบบสอบถามแบบสอบถาม​ความ​สมำเสมอ​ใน​การ​รับ​ประทาน​ยา​ต้าน​ไวรัสแบบสอบถาม​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​ยา​ต้าน​ ไวรัส ​และ​แบบสอบถาม​ความ​เชื่อ​ด้าน​สุขภาพ​เกี่ยว​กับ​การ​ รักษา​ด้วย​ยา​ต้าน​ไวรัส ผู้​วิจัย​ทำการ​เก็บ​ข้อมูล​ด้วย​ตนเอง​ และ​ทำการ​วิเคราะห์​ข้อมูล​โดย​การ​หา​ค่า​ร้อย​ละ ค่า​เฉลี่ย ค่า​ เบี่ยง​เบน​มาตรฐาน​และ​ค่า​สัมประสิทธิ์​สห​สัมพันธ์​เชิง​อัน​ดับ​ ของ​ส​เปีย​ร์​แมน


ผล​การ​ศึกษา​พบ​ว่า 1. ผู้​ติด​เชื้อ​เอดส์​มี​ระดับ​ความ​สม่ำเสมอ​ใน​การ​รับ​ ประทาน​ยา​ต้าน​ไวรัส​อยู่​ใน​ระดับ​ดี โดย​มี​ค่า​เฉลี่ย​เท่ากับ 89.76 ส่วน​เบี่ยง​เบน​มาตรฐาน​เท่ากับ 9.65 2. ผู้​ติด​เชื้อ​เอดส์​มี​ระดับ​ความ​รู้​ใน​การ​ใช้​ยา​ต้าน​ ไวรัส​โดย​รวม​ผ่าน​เกณฑ์ 3. ผู้​ติด​เชื้อ​เอดส์​มี​ระดับ​ความ​เชื่อ​ด้าน​สุขภาพ​โดย​ รวม​ใน​ระดับ​ดี เมื่อ​พิจารณา​เป็น​ราย​ด้าน พบ​ว่าทุก​ด้าน​อยู่​ใน​ ระดับ​ดี ยกเว้น​ด้าน​การ​รับ​รู้​อุปสรรค​อยู่​ใน​ระดับ​ปาน​กลาง 4. ผล​การ​วิเคราะห์​ความ​สัมพันธ์​เชิง​อันดับ พบ​ว่า มี​ตัวแปร​อิสระ 1 ตัว คือ ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​ยา​ต้าน​ไวรัส​โดย​ รวม​มี​ความ​สัมพันธ์​กับ​ความ​สม่ำเสมอ​ใน​การ​รับ​ประทาน​ยา​ ต้าน​ไวรัส​ได้​อย่าง​มี​นัย​สำคัญ​ทาง​สถิติ (p = 0.018)


ข้อ​เสนอ​แนะ​จาก​การ​ศึกษา​วิจัย​ครั้ง​นี้ บุคลากร​ใน​ ทีม​สุขภาพ​ควร​ให้​ความ​รู้​ความ​เข้าใจ​ที่​ถูก​ต้อง​แก่​ผู้​ติด​เชื้อ​เอช​ ไอ​วี/เอดส์​ราย​ใหม่​ที่​จะ​เริ่ม​ยา​ต้าน​ไวรัส​ครั้ง​แรก​ให้​ตระหนัก​ถึง​การ​รับ​ประทาน​ยา​ต้าน​ไวรัส​อย่าง​สม่ำเสมอ​โดย​เฉพาะ ​ใน​ช่วง 1 – 3 เดือน​แรกซึ่ง​อยู่​ใน​ช่วง​การ​ปรับ​พฤติกรรม​การ ​รับ​ประทาน​ยา​ต้าน​ไวรัส​ให้​สอดคล้อง​กับ​กิจวัตร​ประจำ​วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทินมณี ทิพย์ปัญญา (2547) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสกับความมีวินัยใน การรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอดส์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิไลลักษณ์ พึ่งพิบูลย์ (2549) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วย เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติ ครอบครัว, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

รจนาไฉนสิงหเรศร์ (2550)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับ ประทานยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยวัณโรค. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล ผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิทยา ศรีดามา (2545) แนวทางการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ สำหรับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ HIV พ.ศ. 2546. สารราช วิทยาลัยอายุรแพทย์. 9 (5), 15 – 19.

ศุภรินทร์ หาญวงศ์ (2548) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรร ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสและความ เชื่อด้านสุขภาพกับการรับประทานยาต้านไวรัสอย่าง สม่ำเสมอของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Adriana, A. et al. (2002). Correlates and predictors of adherence tohighly active antiretroviral therapy: Overview of pubished Iiterature. Journal of Acquired Immune Deficfifiiency Syndromes, 31 (3), 123 – 127.

Andrea, A.H. et. al. (2002). A prospective study of adherence andviral loadina large multi-center cohort of HIV-infected woman. AIDS, 16 (16), 2175 – 2182.

Becker, M.H. (1974). The health model and sick role behavior. In The health belief model and personal health behavior. New Jersey; Charles B. Slack.

Becker, M.H. (1990). Theoretical models of adherence and strategies for improving adherence. In S.A. Shumaker,E.B. Schron, and J.K. Ockene (Eds.), The handbook of health behavior change. New York: Springer Publishing.

Becker, M.H. and Janz, N.K. (1984). The health belief model and: A decade later. Health Education Quarterly, 11 (1), 1 – 47.