ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการทางผิวหนังของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักกระเฉด ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาค ตัดขวางเพื่อศึกษาอาการทางผิวหนังและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่ออาการทางผิวหนังของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูก ผักกระเฉด เขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยเลือกแบบเจาะจงในประชากรตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน โดยใช้แบบสำ รวจข้อมูลซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูล ส่วนบุคคล อาการและอาการทางผิวหนัง และพฤติกรรม ความปลอดภัยในการทำงาน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อยู่ในวัยแรงงาน เรียนจบประถมศึกษา มีอายุงาน เฉลี่ย 20 ปี มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำ งานที่ไม่ เหมาะสม ได้แก่ การไม่อาบน้ำ หลังเลิกงานทันที การไม่ใช้ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และการกำ จัดภาชนะบรรจุสารเคมีไม่ถูกวิธี กลุ่มเกษตรกรมีอาการทาง ผิวหนังร้อยละ 25.7 โดยลักษณะที่พบมากที่สุดคือ ตุ่มนูน แดงที่ผิวหนัง มักเกิดขึ้นหลังการทำ งาน 1 - 2 วันและเป็นอยู่นาน 1 - 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามไม่พบอาการทางผิวหนัง ในกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วยเหตุนี้การเกิดอาการทางผิวหนังมี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (Chi-square, p < 0.05) กับอาชีพเกษตรกรปลูกผักกระเฉด นอกจากนี้ เมื่อทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรม ความปลอดภัยในการทำ งานของเกษตรกรปลูกผักกระเฉด กับอาการทางผิวหนังพบว่าพฤติกรรมการอาบน้ำ หลัง เลิกงาน คุณภาพแหล่งน้ำ อุปโภค และการจัดการภาชนะบรรจุ สารเคมีมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทางผิวหนัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-square, p < 0.05) ดังนั้น จึงควรเร่งสร้างความตระหนักและส่งเสริมพฤติกรรม ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำ จัดศัตรูพืชในเกษตรกร กลุ่มปลูกผักกระเฉด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กฤษฎาภรณ์ ศรีสุวรรณ รัตนาพร ปรีพัฒน์ สุจิตรา กุลวงษ์ รุ่งนภา ตาเมือง และวราภรณ์ อาจวิชัย (2552) การสำ รวจอาการทางผิวหนังของเกษตรกรในตำ บล หนองปรือ อำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. ภาค นิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ, คณะสาธารณสุขศาสตร์และ สิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
กิตติพันธุ์ ย่งฮะ (2554) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเกษตรกรพื้นที่อำ เภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะสาธารณสุขศาสตร์.
ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ (2552) ECZEMA. Medical Focus. 1 (9), 23 - 25.
ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล (2552) การประเมินความเสี่ยงจาก การได้รับสัมผัสสารคลอร์ไพรีฟอส (สารกำ จัดศัตรูพืช กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต) ผ่านทางผิวหนังของเกษตรกร ผู้ปลูกพริก จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาสาธารณสุขศาตร์.
นันทนา แต้ประเสริฐ กัลยาณี จันธิมา กุศล ชื่นเมืองปัก และสมศักดิ์ พึ่งภูมิ (2553) ความชุกของอาการจากพิษ สารกำ จัดศัตรูพืชในพื้นที่สาธารณสุข เขต 13 ปี 2551 - 2552. สำ นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553, จาก http://www. kmddc.go.th
นุศราพร เกษสมบูรณ์ นาถธิดา วีระปรียากูร และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ (2547) ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้ สารเคมีอันตรายในภาคการเกษตรไทย. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553, จาก http://www.hpp-hia.or.th
ประณีต สัจจเจริญพงษ์ (2553) Occupational Dermatoses. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553, จาก www. thaioccmeg.org
ปรียา กุลละวณิชย์ สุวิรากร โอภาสวงศ์ และประณีต สัจจเจริญพงษ์ (2548) ตำ ราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติ ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง.
ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน และศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข (2553) อาการทางผิวหนัง และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการทาง ผิวหนังในกลุ่มเกษตรกรตำ บลหนองปรือ อำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (1). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553, จาก http://ph.kku.ac.th
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ ธนพรรณ จรรยาศิริ ชะลอศรี แดงเปี่ยม นงเยาว์ อุดมวงศ์ สุชาดา เหลืออาภาพงศ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล (2549) ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำ จัด ศัตรูพืชของเกษตรกร. วารสารพยาบาลสาร. 34 (1), 154 - 162. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553, จาก http://www.nurse.cmu.ac.th
วิทญา ตันอารีย์ และสามารถ ใจเตี้ย (2553) การประเมิน ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรใน การปลูกพืชไร่ เขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำ เภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม.
วินัย วนานุกุล (2552) ภาวะความเป็นพิษของสาร ออร์กาโนฟอสฟอรัสและคาร์บาเมต. กรุงเทพฯ: โครงการ ตำ รารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ (2546) การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง สิ่งคุกคามทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. สืบค้น บทคัดย่อเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553, จาก http:// library.hsri.or.th
สมศิริ ใจเปี่ยม (2551) การประเมินความเสี่ยงการได้รับ สัมผัสสารกำ จัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตของ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก (กรณีศึกษา ตำ บลบางเหรียง อำ เภอควนเนียง จังหวัดสงขลา). วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา).
อดุลย์ ศรีนันทะ สุวัฒน์ ถาอุปชิต ประกายเพชร สาครวงศ์ สุนีรัตน์ ศรีนันทะ ไชยยศ ชินวรรณ ทรงวุฒิ พันหล่อมโส พิทยา ภาโนมัย และธนศักดิ์ ภักดีนอน (2543) การป้องกันตนเองของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำ จัดศัตรู พืชอำ เภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2553, จาก http://dspace.hsri.or.th
Kelly Johnstene, Michel Capra, Beth Newman. (2550). Organophosphate Pesticide Exposure in Agricultural Workers. Human exposure and risk assessment, Rural Industries Research and Development Corporation, Australian Government, 5.