การศึกษาคุณภาพของเอกสารการสอนชุดวิชาวิศวกรรมพื้นฐานสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Main Article Content

อาจารย์เนตรชนก เจริญสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพของเอกสารการสอนชุดวิชา วิศวกรรมพื้นฐานสำ หรับงานอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปและ พฤติกรรมการอ่านเอกสารการสอนของนักศึกษาที่ลง ทะเบียนเรียน 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ลงทะเบียน เรียนเกี่ยวกับคุณภาพของเอกสารการสอน 3) ความคิดเห็น ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของแบบฝึก ปฏิบัติ และ 4) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน


จากการศึกษาพบว่า 1) ส่วนใหญ่ของนักศึกษาที่ ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31 ถึง 35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานของหน่วยงานเอกชน มีรายได้ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาทต่อเดือน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สายวิทยาศาสตร์และก่อนลงทะเบียนเรียนมีความรู้พื้นฐาน ด้านวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปานกลาง นักศึกษาส่วนใหญ่ อ่านเอกสารการสอนครบทั้ง 15 หน่วยก่อนสอบไล่ นักศึกษา ที่สอบไม่ผ่านชุดวิชานี้ส่วนใหญ่อ่านเอกสารการสอนไม่ครบ ทั้ง 15 หน่วย สาเหตุหลักที่นักศึกษาอ่านเอกสารการสอน ทั้ง 15 หน่วยไม่ครบคือเนื้อหาในบางหน่วยยากอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ 2) นักศึกษาเห็นว่าเนื้อหาของเอกสารการสอนในหน่วยที่ 2 - 12 มีความยากในระดับมาก เอกสารการสอน มีเนื้อหาครบถ้วนตามวัตถุประสงค์และคำ อธิบายชุดวิชา มีความถูกต้องและชัดเจนและความทันสมัยในระดับมาก มีความกระชับและความยากของเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในระดับปานกลาง มีตัวอย่างที่ดีที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจ เนื้อหาในชุดวิชา มีความชัดเจนของคำ ตอบในกิจกรรมท้าย เรื่องในระดับมาก นักศึกษาสามารถนำ ความรู้ไปประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือการเรียนในวิชาอื่นๆ และมีความ พึงพอใจต่อเอกสารการสอนในระดับมาก 3) นักศึกษาเห็นว่า แบบฝึกปฏิบัติสามารถช่วยให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละ หน่วยและทำ ให้มีความมั่นใจในการสอบเพิ่มขึ้น ความชัดเจน ของโจทย์ในแบบฝึกปฏิบัติ การได้รับประโยชน์จากแบบ ฝึกปฏิบัติจากการนำ ไปประยุกต์ใช้ในการสอบ และความ พึงพอใจต่อการเรียนรู้จากแบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษาอยู่ ในระดับมาก และความยากของโจทย์ในแบบฝึกปฏิบัติชุด วิชาอยู่ในระดับปานกลาง 4) นักศึกษามีผลการเรียนรู้ในชุด วิชานี้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารการสอนชุดวิชาวิศวกรรมพื้นฐานสำ หรับงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นนทบุรี: สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2548.