โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นจริง ข้อดีและข้อจำ กัด ของโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลชุมชนที่เป็นจริงและที่คาดหวังในจังหวัดอ่างทอง และ (2) เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลชุมชนที่เป็นจริงและที่คาดหวังในจังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด อ่างทอง จำ นวน 95 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบทีแบบจับคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงสร้างของคณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นจริงในจังหวัดอ่างทอง มีจำ นวนกรรมการระหว่าง 7 - 15 คนต่อแห่ง องค์ประกอบ ของคณะกรรมการแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล แต่ มีองค์ประกอบที่เหมือนกันทุกโรงพยาบาลคือ ผู้อำ นวยการ โรงพยาบาล หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงาน การพยาบาล หัวหน้าฝ่ายทันตกรรม และหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม การได้มาของกรรมการส่วนใหญ่เป็นโดย ตำแหน่งตามโครงสร้างการบริหารโรงพยาบาลชุมชน ไม่มี การกำ หนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ และ คณะกรรมการมีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในภาพรวม ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ข้อดีของโครงสร้างที่เป็นจริง คือ องค์ประกอบของกรรมการครอบคลุมทุกวิชาชีพ และ คณะกรรมการมีเป้าหมาย ทิศทาง และขอบเขตการดำ เนิน งานที่ชัดเจน ส่วนข้อจำ กัดของโครงสร้างที่เป็นจริงคือ ไม่มี การกำ หนดวาระการดำ รงตำแหน่งของคณะกรรมการ และ กรรมการมีภาระงานมาก ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาลชุมชนที่คาดหวังในจังหวัดอ่างทองนั้น มีจำ นวนกรรมการระหว่าง 7 - 25 คนต่อแห่ง องค์ประกอบ ที่คาดหวังที่เหมือนกันคือ ผู้อำ นวยการโรงพยาบาล หัวหน้า ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล หัวหน้า ฝ่ายทันตกรรม และหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม การได้มา ของกรรมการที่คาดหวังส่วนใหญ่เป็นโดยตำแหน่งตาม โครงสร้างการบริหารโรงพยาบาลชุมชน มีการกำ หนดวาระ การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ 4 ปี บทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลชุมชนที่คาดหวังให้ปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อดีของโครงสร้างที่คาดหวัง คือ องค์ประกอบของกรรมการครอบคลุมทุกวิชาชีพ และมี เป้าหมายการดำ เนินงานที่ชัดเจน ส่วนข้อจำ กัดของโครงสร้าง ที่คาดหวังคือ มีกรรมการจำ นวนมาก อาจทำ ให้ขาดความ คล่องตัวในการประชุมพร้อมกันได้ทุกคน และกรรมการมี ภาระงานมาก (2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลชุมชนที่เป็นจริงและที่คาดหวังในจังหวัดอ่างทอง ทั้งในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 โดยบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังสูงกว่าบทบาท หน้าที่ที่เป็นจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงสาธารณสุข (2542) การบริหารงานส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
จำเนียน ดามัง (2550) “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
จิรพรรณ คชสวัสดิ์ (2536) “การศึกษาความคิดเห็นของครู อาจารย์ เกี่ยวกับบทบาทการปฏิบัติจริง และบทบาท ที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตการ ศึกษา 5 ในการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาติชาย มาเมือง (2548) “ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหาร โรงพยาบาลทหารบกในสถานการณ์ที่ต้องแข่งขัน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนง วิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐปคัลภ์ สันวิจิตร (2550) “ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติ งานด้านบริหารของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดชัยภูมิ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดุษฎี นรศาศวัต และศิริพักตร์ มัฆวาล (2552) “บทบาทที่ เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังขององค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นในการควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ สคร. 8 ”. วารสารโรคและภัยสุขภาพ. 4, 1 (ตุลาคม 2552 - มกราคม 2553): 35 - 47.
ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ (2540) วิทยาการบริหารสำ หรับ นักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
ประกอบ กุลเกลี้ยง และสิทธิพร ลิ้มบริบูรณ์ (2545: 3) “การ บริหารโดยองค์คณะบุคคล”. ใน ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร หน้า 3 กรุงเทพฯ คณะกรรมการประสานงานโครงการ พัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำ ชุมชน และผู้นำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร (2526) การบริหารและจัดระเบียบ บริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เพชรี หาลาภ (2538) “ความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาระดับ กลาง ที่มีต่อบทบาทการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา ระดับล่าง ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก”. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวรรณา หวังกีรติกานต์ (2548) “ลักษณะภาวะผู้นำ ที่เป็น จริงและคาดหวังของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล สุรินทร์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ แขนงวิชา สาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนะ ทวีผล (2546) “การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และการเรียนการสอนของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำ เภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สนธิรัก เทพเรณู (2542) “การบริหารงานในรูปคณะกรรมการ”. วารสารสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. 16, 5 (มิถุนายน - กรกฎาคม): 17 - 19.
สมชิต ขันขวา (2544) “การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงานการประถม ศึกษาจังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิทธิวัฒน์ แป้นทอง (2553, 24 กันยายน) หัวหน้าฝ่ายบริหาร ทั่วไป โรงพยาบาลไชโย. สัมภาษณ์โดยวรรณิดา วงษ์ระวัง โรงพยาบาลไชโย จังหวัดอ่างทอง.
อนิวัช แก้วจำ นง (2552) หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
อรุณ สรรพคุณ (2549) “บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรและงานวิชาการของโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพชรบุรี เขต 1”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.