ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบของพนักงานโรงงานอบชุบโลหะจากการรับสัมผัสน้ำ มันกันสนิมใน นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบใน พนักงานโรงงานอบชุบโลหะ ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำ นวน 4 โรงงาน โดยใช้เครื่องมือ 4 ชนิด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ชุดทดสอบ Patch test การประเมิน การสัมผัสน้ำ มันกันสนิมจากการทำ งาน ตามวิธีมาตรฐาน ของ NIOSH (NIOSH Method 5026) และการตรวจวัดระดับ ความร้อนด้วยเครื่องวัดดัชนีกระเปาะเปียกและโกลบ โดยเก็บตัวอย่างกลุ่มศึกษาจำ นวน 119 คนจากพนักงาน ที่ทำ งานในโรงงานอบชุบโลหะที่สัมผัสน้ำ มันกันสนิมเป็นประจำ อย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์และกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งทำ งานในสำ นักงานจำ นวน 119 คน จากพนักงานที่ไม่ได้ สัมผัสน้ำ มันกันสนิมตลอดระยะเวลาในการทำ งาน
ผลการศึกษาพบว่าพนักงานทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 28 (±5.03) ปี อายุงานเฉลี่ย 3 (±2.1) ปี มี ประวัติการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการทำ งานร้อยละ 38.6 เมื่อนำ พนักงานไปทดสอบ Skin patch test กับสาร มาตรฐานและสารต้องสงสัย 1 ชนิดคือน้ำ มันกันสนิม (Rustkote 943) พบว่าไม่มีพนักงานคนใดเกิดอาการแพ้ขึ้น อย่างชัดเจน โดยการประเมินการรับสัมผัสพบความเข้มข้น ของไอละอองน้ำ มันกันสนิมเฉลี่ยเท่ากับ 0.35 (±0.1) มก./ลบ.ม. เมื่อประเมินผลโดยการเทียบกับค่ามาตรฐานความ ปลอดภัยตามคำ แนะนำ ของ OSHA (5 มก./ลบ.ม.) พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินการสัมผัสความร้อนพบ ค่าความร้อนเฉลี่ยเท่ากับ 31.13 (±1.2) องศาเซลเซียส เมื่อ ประเมินผลโดยการเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยตาม กฎหมายแรงงานของไทย (34 องศาเซลเซียส) พบว่าผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่าความเสี่ยงของการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบต่อการสัมผัส น้ำ ยาครอบจักรวาลเป็น 3.960 (95% CI1.295 - 12.111) ความเสี่ยงของการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบต่อการสัมผัสอากาศ เย็นเป็น 0.037 (95% CI0.003 - 0.537) ความเสี่ยงของการ เกิดผื่นผิวหนังอักเสบต่อการสัมผัสน้ำ ยาล้างห้องน้ำ ระหว่าง ทำ งานบ้านเป็น 3.557 (95% CI1.177 - 10.745) และเสี่ยง ของการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบต่อการล้างมือเฉลี่ยต่อวันเป็น 0.868 (95% CI0.765 - 0.984) ผลที่ได้จากการวิจัยทำ ให้ ทราบว่าการสัมผัสน้ำ มันกันสนิมไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลทำ ให้เกิด ผื่นผิวหนังอักเสบในพนักงานโรงงานอบชุบโลหะแต่พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบมาจากการสัมผัส สารเคมีในชีวิตประจำ วันทั้งในการทำ งานและการทำ งานบ้าน อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเสนอแนะว่าหน่วยงานความปลอดภัย ควรแนะนำ การทำ งานกับสารเคมีทั้งที่ทำ งานและที่บ้านให้ ทราบถึงอันตรายที่ส่งผลต่อการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบและ จัดให้มีการรณรงค์การล้างมืออย่างถูกต้อง 7 ขั้นตอน และส่งเสริมให้พนักงานได้ดูแลตนเองอย่างถูกต้องเพื่อลด ความเสี่ยงของการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบของพนักงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กฤษณา ปะสาวะเท (2547) โรคผิวหนังอักเสบจากการ สัมผัสไฟเบอร์กลาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความ ปลอดภัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รชยา หาญธัญพงศ์ (2547) ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณมือของพนักงาน ทำ ความสะอาดในบริษัทรับจ้างทำ ความสะอาดแห่ง หนึ่งในกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัศนี อัครพันธ์ (2554) สิวและฝ้า. สถาบันโรคผิวหนัง. วันที่ค้นข้อมูล 16 ธันวาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http://www.dst.or.th/know_details.php?news_ id=4&news_type=kno
วรวุฒิ เจริญศิริ (2549) โรคผื่นผิวหนังอักเสบ. ศูนย์ข้อมูล สุขภาพกรุงเทพ. วันที่ค้นข้อมูล 16 ธันวาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http://www.sk-hospital.com/ skmessage/
สัจจพล พงษ์ภมร (2554) ผื่นแพ้สัมผัสจากการทํางานใน แม่บ้านทําความสะอาดของโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัด กรมการแพทย์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่ง ประเทศไทย, 1 (2), 153 – 165.
English JSC. (2004). Occupational dermatoses. In: Burns, T., Breathnach, S., Cox, N., Griffiths, C., editors. Rook's textbook of dermatology. 7th ed. Blackwell Science. 21: 1 - 25.
Geier, J., Uter, W., Lessmann, H., and Frosch, P.J. (2004). Patch testing with metalworking fluids from the patient’s workplace. Contact Dermatitis; Oct; 51 (4): 172 - 9.
Kavli, G., Angell, E., and Moseng, D. (1987). Hospital employees and skin problems. Contact Dermatitis; Sep; 17 (3): 156 - 8.
Koh, D. (1995). An outbreak of occupational dermatitis in an electronics store. Contact Dermatitis; Jun; 32 (6): 327 - 330.
Levy, LS., and Lee, WR. (1994). Aliphatic chemicals. Raffle, PAB; ed. Hunter's Diseases of Occupations. 8th Edition. Edward Arnold: London, England, Uk Little, Brown and Co.: Boston, MA, 139 - 190.
Lindberg, M., and Silverdahl, M. (2000). The use of protective gloves and the prevalence of hand eczema, skin complaints and allergy to natural rubber latex among dental personnel in the county of Uppsala, Sweden. Contact dermatitis; Jul; 43 (1): 4 - 8.
Minamoto, K.,Nagano, M.,Inaoka, T.,and Futatsuka, M. (2002). Occupational dermatoses among fibreglass-reinforced plastics factory workers. Contact Dermatitis; Jun; 46 (6): 339 - 47.
National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). (1977). Occupational Exposure Sampling Strategy Manual. Cincinnati, Ohio.
Minamoto, K.,Nagano, M.,Inaoka, T.,and Futatsuka, M. (2002). Oil mist and Mineral (Method no. 5026) [homepage on the Internet]. 1994 [updated 1987 Aug; cited 1996 May 15]. Available from: http://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/ 5026.pdf
Nilsson, E.J,and Knutsson, A. (2006). Atopic dermatitis, nickel sensitivity and xerosis as risk factors for hand eczema in women. Contact Dermatitis; Dec; 33 (6): 401 - 6.
Nixon, R., Frowen, K., and Moyle, M. (2005). Occupational dermatoses. Australian Family Physician; 34 (5): 327 - 333.
Ramos, G., Limon-Flores, A.Y., and Ullrich, S.E. (2007). Dermal exposure to jet fuel suppresses delayed-type hypersensitivity a critical role for aromatic hydrocarbons. ToxicolSci; Dec; 100 (2): 415 - 22.
Smit, H.A. and Coenraads, P.J. (1993). A retrospective cohort study on theincidence of hand dermatitis in nurses. International Archives of Occupationaland Environmental Health. 64 (8): 541 - 544.
Soder, S., Diepgen, T.L., Radulescu, M., Apfelbacher, C.J., Bruckner, T., and Wei shaar, E. (2007). Occupational skin diseases in cleaning and kitchen employees: Course and quality of life after measures of secondary individual prevention. JDDG; 5: 670 - 6.