ประสิทธิผลของการปรับปรุงสถานีงานยกด้วยมือตามแนวทางสมการการยกของ NIOSH: กรณีศึกษา โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของการปรับปรุงสถานีงานยกด้วยมือตามแนวทางสมการ การยกของ NIOSH ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่ง หนึ่งในจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นชายทั้งหมดที่ทำ งานในสถานีงานของระบบ Toyota Production System จำ นวน 27 สถานี จำ นวน 60 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้าง และปรับปรุงขึ้น ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป อาการผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ ความพึงพอใจใน การทำ งาน และแบบการวิเคราะห์งานตามแนวทางสมการ การยกของ NIOSH โดยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยวิธีการสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และ Pair sample t-test
ผลการวิจัย พนักงานมีอายุเฉลี่ย 26.3 ปี ก่อน ปรับปรุงสถานีงานมี 25 สถานีงานที่มีดัชนีการยก > 1 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.53 (S.D. = 0.75) พนักงานส่วนใหญ่มีอาการ ผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อที่หลังส่วนล่างร้อยละ 44.4 มีความพึงพอใจในการทำ งานในระดับน้อยร้อยละ 81.5 ได้ ทำ การปรับปรุงสถานีงานโดยปรับความสูงของระดับการยก ไม่ให้เกิน 90 เซนติเมตร มุมเอี้ยวตัวในการยกไม่ให้เกิน 60 องศา และระยะทางการเดินยกวัตถุไม่เกิน 25 เซนติเมตร หลังการปรับปรุงพบว่าสถานีงานทั้งหมดมีค่าดัชนีการยก < 1 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.81 (S.D. = 0.11) ไม่พบอาการผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อที่บริเวณหลังส่วนล่าง และมีความ พึงพอใจในการทำ งานอยู่ในระดับมากร้อยละ 66.6 ใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบประสิทธิผลการปรับปรุงพบว่าดัชนีการ ยก การปวดหลังส่วนล่าง และความพึงพอใจก่อนและหลัง การปรับปรุงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ < 0.001
การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การปรับปรุงสถานี งานตามแนวทางของ NIOSH Lifting Equation ให้ค่าดัชนี การยกน้อยกว่า 1 สามารถลดการปวดหลังส่วนล่างจากงาน ยกได้ และทำ ให้ความพึงพอใจในการทำ งานเพิ่มขึ้น รวมทั้ง เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการปรับปรุงสภาพงานยก ด้วยมือในงานอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อป้องกันอาการผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
จีราภรณ์ พลไชย (2540) ประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วน ล่างในผู้ใช้แรงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
นริศ เจริญพร (2535) การออกแบบสถานีทำ งานจักรเย็บ อุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
บรรพต ศรีวิเศษ (2550) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำ กัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ผ่องใส เพ็ชรรักษ์ และศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล (2554) ความ พึงพอใจของพนักงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ต่อระบบการผลิตแบบโตโยต้าในด้านองค์ประกอบของ การเพิ่มผลผลิต: กรณีศึกษากรุงเทพฯ และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
วิลาวัย์ ชัยแก่น (2549) ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตรา ชุกของอาการปวดทางโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงาน โรงงานผลิตชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำ ในนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศักดิ์สิทธิ์ กลุวงษ์ (2551) การปวดหลังจากการทำ งาน: เครื่องมือประเมิน NIOSH เพื่อการป้องกัน. วารสาร สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 3 (2), 31 - 45.
สุทธิ์ ศรีบูรพา (2549) เออร์กอนอมิกส์: มนุษย์ปัจจัย. กรุงเทพฯ: ส.เสริมมิตรการพิมพ์.
สุวัฒชัย หอมละเอียด (2552) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึง พอใจในการใช้งานระบบ TPS: กรณีศึกษา บริษัทไดซิน จำ กัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
Gary S. Nelson, Henry Wickes, and Jason T. (1994). Manual Lifting: The Revised NIOSH Lifting Equation For Evaluating Acceptable Weights for Manual Lifting. English.
Lu ML.,Waters TR., Piacitelli LA., Werren D., and Deddens JA. (2011). Efficacy of the revised NIOSH lifting equation to predict risk of low back pain due to manual lifting: expanded cross-sectional analysis. National Institute for Occupational Safety and Health, Cincinnati, USA.
Waters TR., Baron SL., Piacitelli LA., Anderson VP., Skov T., Haring-Sweeney M., Wall DK., and Fine LJ. (1999). Evaluation of the revised NIOSH lifting equation. A cross-sectional epidemiologic study, National Institute for Occupational Safety and Health, Cincinnati, Ohio, USA.