ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และอาการปวดของกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพมาดอวน ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จำนงค์ ธนะภพ
นุจรีย์ แซ่จิว
ภรณ์ทิพย์ ศรีสังข์แก้ว
แสงรพี โกติกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำ รวจแบบภาค ตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยง จากท่าทางการทำ งานและอาการปวดของกล้ามเนื้อในกลุ่ม ประกอบอาชีพมาดอวน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และ การสังเกต จำ นวน 92 คน พร้อมประเมินระดับการปวด ของกล้ามเนื้อด้วยมาตรวัดความปวดแบบเป็นตัวเลข บันทึก ท่าทางการทำ งานมาดอวนด้วยกล้องวิดีโอ จำ นวน 24 คน เพื่อประเมินความเสี่ยงจากท่าทางการทำ งานตามเทคนิค RULA (Rapid Upper Limb Assessment)


ผลการศึกษา พบว่าผู้ประกอบอาชีพมาดอวน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 98) อายุเฉลี่ย 41.5 ปี (พิสัยเท่ากับ 25, 61; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.0) ประกอบอาชีพมาดอวนโดยเฉลี่ยนาน 15.2 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.8) ทำ งานวันละ 9 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มี อาการปวดของกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 91) โดยมีอาการปวดระดับ มาก (คะแนน 7 - 9) หลังจากตื่นนอนก่อนทำ งานตอนเช้า ก่อนพักเที่ยง และหลังเลิกงาน การนำ เชือกที่ร้อยลูกตะกั่ว มาผูกติดกับเชือกส่วนปลายของอวนข้างหนึ่งเป็นขั้นตอนที่ ทำ ให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อมากที่สุด ทุก ขั้นตอนของการมาดอวนส่วนใหญ่มีอาการปวดบริเวณไหล่ และหลังส่วนล่าง ระดับความเสี่ยงจากท่าทางการทำ งาน แต่ละขั้นตอนตามเทคนิค RULA พบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกคนมี คะแนนค่อนข้างสูง (คะแนน > 5) โดยเฉพาะขั้นตอนการนำ เชือกร้อยด้วยลูกตะกั่วผูกติดกับปลายอวนและการนำ เชือก ร้อยด้วยลูกทุ่นผูกติดกับปลายอวนเป็นขั้นตอนที่มีระดับ ความเสี่ยงของท่าทางการทำ งานระดับที่ 4 (คะแนน ≥ 7: มีปัญหา ทางด้านการยศาสตร์ที่ต้องได้รับการปรับปรุงทันที) ขั้นตอนการนำ ด้ายร้อยกับชุน การนำ เชือกร้อยด้วยลูกตะกั่วและ การนำ เชือกร้อยด้วยลูกทุ่น มีระดับความเสี่ยงของท่าทาง การทำ งานระดับที่ 3 (คะแนน 5 - 6: เริ่มเป็นปัญหาทางด้าน การยศาสตร์ ควรทำ การศึกษาเพิ่มเติมและรีบปรับปรุง)


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบอาชีพมาดอวนควร ได้รับการปรับปรุงท่าทางการทำ งาน เพื่อป้องกันความผิดปกติ ของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ ธนะภพ และคณะ (2553) การปนเปื้อนสารตะกั่วใน กลุ่มคนประกอบอาชีพมาดอวน ตำ บลปากพูน จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 3 (11), 6 - 17.

ฉันทนา ผดุงทศ (2547) อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์. วารสาร คลินิก, 20, 965 - 969.

นริศ เจริญพร การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของ ร่างกายอย่างรวดเร็วด้วยวิธีการลูล่าร์. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2554, สืบค้นจาก http://naris.ie.engr.tu.ac. th/IE443Ergo/RULA/SafetyWeekRULA.pdf

วรฉัตร คงเทียม และรุจิรา ดวงสงค์ (2553) ประสิทธิผล ของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความ สามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ทออวน) ตำ บลบ้านทุ่ม อำ เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (บัณฑิตศึกษา), 10 (4), 77 - 86.

ศิริอร ภัทรพฤกษา พิชญา พรรคทองสุข และสาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง (2549) สภาพการทำ งาน สิ่งแวดล้อมใน งานและสุขภาพแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาแรงงาน โอทอป อำ เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารโรค จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 1 (3), 5 - 21.

สำ นักงานสถิติแห่งชาติ สรุปผลการสำ รวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2555, จาก http:// service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/ workerOutSum54.pdf

สิน พันธุ์พินิจ (2549) เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ (2554) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำ งานโดย มาตรฐาน RULA ในแรงงานนอกระบบในกลุ่มแรงงาน ทำ ไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26 (1), 35 - 40.

อนิรุจน์ มะโนธรรม (2548) การศึกษาปัญหาด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำ งานของกลุ่มแรงงาน นอกระบบในจังหวัดภูเก็ต. (รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข).

Lauritsen J.M. and Bruus M. EpiData (3.1). (2005). A comprehensive tool for validated entry and documentation of data. The EpiData Association, Odense, Denmark, 2003 - 2005.

McAtamney L. and Corlett E.N. (1993). RULA: a survey method for the Investigation of work-related upper limb disorders. Applied Ergonomics, 24 (2), 91 - 99.

Melzack R. and Katz J. (2006). Pain assessment in adult patients. In McMahon S.B. and Koltzenburg M. (Eds). Wall and Melzack Textbook of pain. (pp. 291 - 304). 5th ed. Elsevier Churcill Livingstone.