ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุ จากการทำงานในคนงานโรงงานแปรรูปไม้ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภาพร แน่นอุดร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับ อุบัติเหตุจากการทำ งานในคนงานโรงงานแปรรูปไม้ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 16 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำ นวน 157 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2555 โดยการสัมภาษณ์คนงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการ ทำ งานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมการป้องกันอันตราย ประสบการณ์การทำ งาน สภาพแวดล้อมในการทำ งาน รวมถึงข้อมูลด้านประชากร และสัมภาษณ์เจ้าของโรงงาน หรือผู้จัดการโรงงานเกี่ยวกับการจัดการด้านความปลอดภัย ในการทำ งาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สมการ ถดถอยโลจิสติกส์


ผลการศึกษาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุในคนงาน โรงงานแปรรูปไม้ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา พบร้อยละ 10.8 ส่วนปัจจัยเสี่ยงของอุบัติเหตุจาก การทำ งานอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ หลังจากควบคุมอิทธิพล ของตัวแปรอื่นแล้วมี 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านเพศชาย (OR = 24.6, 95% CI = 1.5 - 399.1) และโรงงานที่ไม่มีการจัด อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลไว้ให้คนงาน (OR = 20.4, 95% CI = 1.2 - 337.9)


ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ควรให้ความสำ คัญกับการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลไว้ให้คนงานตามลักษณะงานอย่างครบถ้วนและ เพียงพอ โดยเฉพาะคนงานชายที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิด อุบัติเหตุ การศึกษาในครั้งต่อไปควรเพิ่มขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างเพื่อยืนยันผลการศึกษาในครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (2552) แผนแม่บท ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน การทำ งาน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550 - 2554) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554. จาก www.jorpor.com/forum/

กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำ นักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2552) ร่างเกณฑ์มาตรฐานสำ หรับกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่นสี การทาสาร เคลือบเงาสี หรือการแต่งสำ เร็จผลิตภัณฑ์จากไม้ หรือหวายโครงการกรุงเทพมหานครเพิ่มคุณภาพชีวิต ประชาชนด้วยมาตรฐานการประกอบกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ.

จำ เนียร มูลเทพ (2546) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ สูญเสียอวัยวะของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการ ทำ งาน. วารสารวิจัยมข., 8 (1), 90 - 100.

นฤมล เกตุทิม (2542) ปัจจัยและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำ งาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาธุรกิจ อุตสาหกรรม.

นันทณัฐ คชนาค (2548) ความชุกของอุบัติเหตุและ พฤติกรรมเสี่ยงของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม แปรรูปไม้ยางพารา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย.

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำ นักงานเขตบางซื่อ (2554) รายงานกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร.

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำ งาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554. จาก http://web.krisdika.go.th/data/ law/law2/%a4114/%a4114-20-2554-a0001.pdf

ศิริลักษณ์ คงสัตยกุล (2546) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำ งาน ของคนงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะบัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน.

สำ นักงานประกันสังคม (2553) สถิติกองทุนเงินทดแทนปี 2547 - 2553. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554. จาก http://www.sso.go.th

สำ นักงานประกันสังคม (2553) สถิติงานประกันสังคมประจำ ปี 2547 - 2553. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www. sso.go.th

สำ นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี (2551) การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพคนทำ งานในวิสาหกิจ ชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์ไม้. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553. จาก http://dpc4.ddc.moph.go.th/ groups/enocc/index.php/2009-07-30-08-22-43