การจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์จากการฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการจากโรงพยาบาลชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ธีรารัตน์ ถัทธะพร
นิรวรรณ แสนโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สำรวจความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเข็ม ฉีดยาและไซริงค์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการจาก โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน และกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาล ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ บังเอิญในกลุ่มผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่ม บุคลากรของโรงพยาบาล ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ที่บ้าน ส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์ยังไม่ เหมาะสม อาทิ การทิ้งลงถังรองรับมูลฝอยทันทีหลังจาก ฉีดยาเสร็จ และการรวบรวมใส่ขวดน้ำดื่มพลาสติกหรือ ถุงพลาสติกก่อนทิ้งลงถังรองรับมูลฝอย ส่วนใหญ่ไม่เคย ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล โดยคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของกลุ่มผู้ป่วยและ ญาติผู้ป่วยก่อนและหลังการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์จากการฉีดอินซูลิน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแนวทาง การจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์จากการฉีดอินซูลิน ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเองที่บ้าน พบว่า ผู้ป่วยมีการปฏิบัติในการจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์ จากการฉีดอินซูลินถูกต้องเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 16.25 เป็นร้อยละ 83.75 แตกต่างจากก่อนดำเนินการอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชัย คุณชมพู (2551) โครงการเบาหวานใส่ใจทิ้งเข็ม ลงขวด. ศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลลอง, แพร่.

ชุติกาญน์ แสงแก้ว (2549) การจัดการมูลฝอยและแนวทางการ คัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดภายในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ประไพพันธ์ วงศ์เครือ (2540) ผลของการให้ความรู้ใน เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแก่คนงานโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. ยุทธนา สุปัญญากุล (2549) การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ โรงพยาบาลสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วาทินี แจ่มใส และปิยนันท์ ปักกุนนันท์ (2549) การประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โรงพยาบาลบ้านไผ่. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6.

วิราภรณ์ ทองยัง (2552) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของ พนักงานเก็บขยะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

สุภาพร แซ่เตียว (2551) ผลของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ต่อการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร ในโรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุภาพร ศรีปรัชญ์ (2547) พฤติกรรมการจัดการมูลฝอย ของประชาชนบ้านกุดแคน ตำบลดงกลาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อาภรณ์ รพีเลิศรังสิมันต์ (2551) ความรู้ ทัศนคติและ พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยของผู้นำชุมชนในเขต เทศบาลเมืองบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ ปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Bouhanick B., Hadjadj S., Weekers L. (2000). What do the needles, syringes, lancets and reagent strips of diabetic Patients become in the absence of a common attitude? About 1070 questionnaires in diabetic clinics.

Diabetics Metab. 2000 Sep; 26(4): 288 - 93. Olowokure B., Duggal H., Armitage L. (2003). The disposal of used sharps by diabetic patients living at home. Int J Environ Health Res. 2003 Jun; 13(2): 117 - 23