การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษาเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง

Main Article Content

นายสุนัน บุญเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง (2) ระดับการมีส่วนร่วม ของประชาชน (3) ปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และ (4) แนวทางที่เหมาะสมในการมีส่วนร่วมของ ประชาชน


การสำรวจดำเนินการโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอนจากประชากรที่เข้าข่ายเกณฑ์การคัดเลือก คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง มีอายุมากกว่า 20 ปี และสามารถอ่านเขียนและพูดภาษาไทย ได้ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของคำถาม ด้านความรู้ความเข้าใจ KR-20 = 0.70 คำถามด้านการมี ส่วนร่วมของประชาชนมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา = 0.82 และ คำถามด้านปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชน ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา = 0.80 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.25 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง (2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการมีส่วนร่วม กับกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพอยู่ในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ย 2.07 (3) กลุ่มตัวอย่างมี ระดับปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 3.39 และ (4) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.22 มีความเห็นว่า แนวทางการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่กำหนดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความเหมาะสม ข้อเสนอแนะ (1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการ ส่งเสริมเพื่อเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (2) ควรมีการวิจัยเพื่อกำหนดวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสม ของการมีส่วนร่วมในกระบวนการการประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัย สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดระยอง (2553) ข้อมูลพื้นฐาน สุขภาพในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง. ระยอง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง.

จักรกริช ใจดี (2542) "ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพมหานคร". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จำลอง โพธิ์บุญ (2550) "การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 3, 1 (มกราคม - มิถุนายน): 141 - 174.

เจมส์ แอล เครตัน (2543) คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการตัดสินใจของชุมชน. แปลโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์. นนทบุรี: ศูนย์สันติวิธีเพื่อ การพัฒนาประชาธิปไตย.

ถวิลวดี บุรีกุล (2552) พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีต จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี. กราฟิก ดีไซน์และการพิมพ์.

ทวีวงศ์ ศรีบุรี (2541) การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มายด์พับลิชซิ่ง.

ธรรมจรรย์ ดุลยธำรง (2546) "การมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาเทศบาลภายในเขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา". วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการทรัพยากร บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชู วงศ์อนันต์นนท์ (2550) "การมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม ของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลเมือง มาบตาพุด จังหวัดระยอง". การศึกษาอิสระปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

“ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่ง ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทาง ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม”. (2552, 31 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอน พิเศษ 125 ง หน้า 13.

“ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทาง ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ” (2552, 29 ธันวาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 188 ง หน้า 2.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)” (2550, 24 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอน 47 ก หน้า 1.

วสันต์ วัฒนะรัตน์ (2541) "เจตคติของนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ภาครัฐและเอกชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม". วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ และคณะ (2551) รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในงานยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนคลองจระเข้น้อย ตำบลเกาะไร่ อำเภอ บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา หลักสูตรนักบริหารระดับ กลาง รุ่นที่ 7 กระทรวงยุติธรรม จัดโดย สำนักพัฒนา บุคลากรกระทรวงยุติธรรม สำนักปลัดกระทรวง ยุติธรรม วันที่ 4 - 6 มิถุนายน 2551.

ศาลปกครองระยอง (2552) “คำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 32/2552 เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้อง ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2552.

ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและหลักการประเมินผล กระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ (2552) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล กระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ. นนทบุรี: บริษัท คุณาไทย จำกัด.

สมพร เพ็งค่ำ และบำเพ็ญ ไชยรักษ์ (2552) สู่การพัฒนา ที่ไม่เบียดเบียนสุขภาพ ประกาศเขตควบคุมมลพิษรักษา ชีวิตคนระยอง. นนทบุรี: บริษัท คุณาไทย จำกัด.

สราวุธ สุธรรมาสา (2553) "การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ" ใน ระบบเครื่องมือและการจัดการความเสี่ยงสำหรับ สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม. หน่วยที่ 9 1 - 53. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ.

สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2549) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมในการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ยูโรการพิมพ์.

สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2553) แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เอสพีก๊อปปี้พริ้น.

สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2553) ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: เอสพีก๊อปปี้พริ้น.

สุธาวัลย์ เสถียรไทย (2543) "แนวคิดเศรษฐศาสตร์นิเวศ" ใน จักรทิพย์ นาถสุภา และคณะ สถานภาพไทยศึกษา: การสำรวจเชิงวิพากษ์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ตรัสวิน.

สุภาภรณ์ จันทร์พัฒนะ (2546) "ความรู้ความเข้าใจของ ข้าราชการที่มีต่อระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรุณวดี สมบูรณ์ยิ่ง (2550) "การศึกษาความคิดเห็นต่อร่าง ประเด็นการปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอุตสาหกรรม". วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

Chapin, F.S. (1977). "Social participation and social intelligenic". In Handbook of Recsearch Design and Social Measurement 3rd ed. 315 - 320.

Cohen, J.M. and N.T. Uphoff. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Cohen, J.M. and N.T. Uphoff. (1980). "Participation’s Place in Rural Development Seeking Clarity through Specificity". World Development. 8, (January 1980): 324 - 328.

Kasperson, R.E. and Breitbandm. (1974). Participation, Decentralization and Advocacy Planning. Resource Paper No.25. Washington D.C.: Association of American Geographers.

Rogers, E.M. (1973). Communication Strategue for Ranidy Planning. New York:The Free Press

United Nations. (1975). Popular participation in Decision Making for Development. New York: United Nations Publication

Yamane Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.