เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของเกษตรกรเปรียบเทียบกับแบบประเมินความเสี่ยงทั้งร่างกายของ REBA

Main Article Content

ชวนากร เครือแก้ว
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของเกษตรกร และความล้าของร่างกายจากท่าทางการทำงาน และเพื่อเปรียบเทียบกับผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบทั้งร่างกาย  (REBA) ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวสวนยางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 60 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบคลัสเตอร์มีหน่วยสุ่มคือจังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สึกไม่สบายของร่างกาย แบบสังเกตท่าทางการทำงานและประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ REBA และเครื่องมือประเมินการยศาสตร์ท่าทางการทำงานของเกษตรกร (FERA)  ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความรู้สึกไม่สบายบริเวณส่วนบน พบสูงสุดที่บริเวณแขนท่อนล่าง ร้อยละ 83.30 รองลงมาที่บริเวณ ไหล่ และมือและข้อมือ ร้อยละ 81.70 ตามลำดับ และความรู้สึกไม่สบายของร่างกายส่วนล่าง พบสูงสุดที่บริเวณหลังส่วนล่าง และน่อง ร้อยละ 61.70 รองลงมาที่บริเวณเข่า และเท้าและข้อเท้า ร้อยละ 60.00 ตามลำดับ ผลการประเมินท่าทางของชาวสวนยางของระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบทั้งร่างกาย REBA พบว่า มีระดับความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 45.00 รองลงมามีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 38.30 ตามลำดับ และผลระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบ FERA ที่ประเมินแบบง่ายพบว่า มีระดับความเสี่ยงสูงมาก และระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 45.0 และ ร้อยละ 38.30 ตามลำดับเช่นกัน โดยระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของ FERA tool มีความ สัมพันธ์เชิงเส้นกับระดับจาก REBA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมีความสอดคล้องกันระดับดีมาก (Weighted Kappa = 1.00) ดังนั้นจึงสามารถแนะนำให้นำแบบประเมินความเสี่ยงของท่าทาง FERA ที่ใช้ง่ายซึ่งค้นพบในการศึกษาว่ามีผลสัมพันธ์สูงกับแบบสังเกตท่าทางของ REBA เพื่อให้ทดลองใช้ต่อไปในเกษตรกรในการใช้เป็นเครื่องมือประเมินท่าทางการทำงานแบบประเมินด้วยตนเองได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 8(2), 21-31.

จันจิราภรณ์ วิชัย และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 12(1), 72-85.

จันทิมา ดรจันทร์ใต้ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 29(2), 138-150.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงต่อความผิดปกติทำงระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 32(1), 82-94.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2564). การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ในการทำงานของเกษตรกรปลูกยางพารา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 14(2), 32-44.

Hignett, S., & McAtemney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (REBA). Applied Ergonomics, 31(2), 201-205.

Kong, Y. K., Han, J. G., & Kim, D. M. (2010). Development of an Ergonomic Checklist for the Investigation of Work-related Lower Limb Disorders in Farming - ALLA: Agricultural Lower-Limb Assessment. Journal of the Ergonomics Society of Korea, 29(6), 933-942. https://doi.org/10.5143/jesk.2010.29.6.933

Kong, Y. K., Lee, S. J., Lee, K. S., Han, J. G., & Kim, D. M. (2011). Development of an Ergonomic Checklist for the Investigation of Work related Upper Limb Disorders in Farming - AULA: Agricultural Upper-Limb Assessment. Journal of the Ergonomics Society of Korea, 30(4), 481-489. https://doi.org/10.5143/jesk.2011.30.4.481