การพัฒนารายการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพสำหรับที่พักอาศัยของผู้สูงอายุหรือครอบครัวขยาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นสภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในทุกบริเวณของบ้านพักอาศัย การออกแบบบ้านพักอาศัยให้มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในบ้านพักอาศัยได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนารายการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของที่พักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุหรือครอบครัวขยาย โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการคัดกรองรายการองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพที่สำคัญของบ้านพักอาศัย ใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คนตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญทำการคัดกรองข้อมูลรายการองค์ประกอบทั้งหมดที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จนรายการทั้งหมด 124 รายการได้รับความเห็นที่สอดคล้องกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทุกคน แล้วจึงพัฒนาเป็นรายการตรวจสอบฯ การทดสอบความเชื่อมั่นของรายการตรวจสอบฯ นี้ใช้การประเมินบ้านพักอาศัยจำนวน 15 หลัง พบว่าผลการทดสอบความเชื่อมั่นด้วยสถิติแคปปาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีถึงดีมาก และผลการทดสอบร้อยละของความเหมือนของผลการประเมินจากผู้ประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จึงสามารถสรุปได้ว่ารายการตรวจสอบฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นเพียงพอและสามารถนำไปประยุกต์ ใช้งานได้ในสถานการณ์จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ, สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ. (ม.ป.ป.). ตัวอย่างที่ดีในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและคนทุกวัย (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ,
http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/services/NEP8_04.pdf.
กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. (2548, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 53 ก. หน้า 4-9.
กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. (2564, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 16 ก. หน้า 19-29.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กำธร กุลชล และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. (2548). แนวทางการปรับปรุงระบบการเดินเท้าสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, ศรัณยา หล่อมณีนพรัตน์ และกิตติอร ชาลปติ. (2548). โครงการศึกษามาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัย และสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (RDG 4730011). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ธนวรรษน์ สำกำปัง และกาญจนา นาถะพินธุ. (2553). สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มอายุในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอนาฝาย จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 11(1), 86-91.
นอรีนี ตะหวา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.
น้ำผึ้ง มีศิล. (2559). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: การหลีกเลี่ยงมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง. Veridian E – Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1256-1266.
ปาณิสรา รักสม. (2552). โครงการบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณจังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). การประเมินความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สถิติแคปปา. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 8(1), 2-20.
พิพัฒน์ ตั้งนิติพงศ์. (2550). การออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
รัตนา แก้วเพชรพงษ์. (2556). การออกแบบอาคารเรือนนอนผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์คนชรา บ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง ตามหลักอาคารสีเขียว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วรชาติ พรรณะ. (2556). สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ แยกตามกลุ่มอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิรประภา สมัตถะ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข, 4(2), 89-101.
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. พลัสเพรส.
สุชน ยิ้มรัตนบวร. (2561). การพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย ด้วยหลักการออกแบบ สำหรับคนทุกวัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 26, 173-188.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557, 26 กุมภาพันธ์). คู่มือบ้านใจดี บ้านที่ออกแบบเพื่อทุกคน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, https://www.thaihealth.or.th/ Books/39/คู่มือบ้านใจดี+บ้านที่ออกแบบเพื่อทุกคน+ (Universal+Design+Home).html.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564, 30 มีนาคม). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/ประชากรและสังคม/ประชากรสูงอายุ.aspx.
Brockhoff, K. (1975). The performance of forecasting groups in computer dialogue and face to face discussions. In H. Linstone & M. Turoff (Eds.), The Delphi Method: Techniques and Applications. Addison-Wesley.
Colton, S., & Hatcher, T. (2004). The web-based Delphi research technique as a methos for content validation in HRD and adult education research. Proceedings of Academy of Human Resource Development International Research Conference, 885-897.
Diamond, I. R., Grant, R. C., Feldman, B. M., Pencharz, P. B., Ling, S. C., Moore, A. M., & Wales, P. W. (2014). Defining consensus: A systematic review recommends methodologic criteria for reporting of Delphi studies. Journal of Clinical Epidemiology, 67, 401-409.
Dobbins, T. R. (1999). Clinical experiences for agricultural teacher education programs in North Carolina, South Carolina, and Virginia [Unpublished doctoral]. Virginia Polytechnic Institute and State University.
Hatcher, T., & Colton, S. (2007). Using the internet to improve HRD research: The case of the web-based Delphi research technique to achieve content validity of an HRD-oriented measurement. Journal of European Industrial Training, 31(7), 770-587.
Hsu, C., & Sandford, B. A. (2007). The Delphi technique: Making sense of consensus. Practical Assessment, Research, and Evaluation, 12(12), 1-8.
Ludwig, B. (1997). Predicting the future: Have you considered using the Delphi methodology?. Journal of Extension, 35(5), 1-4.
McHugh, M. L. (2012). Interrater reliability: The Kappa statistic. Biochemia Medica, 22(3), 276-282.
Pynoos J., Nishita C., Cicero C., & Caraviello R. (2008). Aging in place, housing, and the law. Elder Law Journal, 16(1), 78-81.