ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรปลูกพริกที่ทำหน้าที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธนัชพร พิมพ์ทองหลาง
กนกวรรณ คำนุช
ภัทรชา ถนอมพลกรัง
อรปรียา คำขาด
จีรนันท์ นันประดิษฐ์
ชลาลัย หาญเจนลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพริก ตำบลจักราช อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 คน และตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสและแผ่นเทียบสีมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ Chi-square test ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % ผลการศึกษาพบว่า ระดับการตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 37 ระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 34 และระดับปลอดภัยร้อยละ 29 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ได้แก่ ปัจจัยการรับประทานผัก รวมถึงจำนวนวันในการรับประทานผักต่อสัปดาห์ ปัจจัยในการทำงานเรื่องจำนวนวันในการทำงานกับสารเคมีต่อสัปดาห์ การสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมี และแว่นตากันสารเคมี ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการเฝ้าระวังการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค, สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Crp.pdf.

จิตติพัฒน์ สืบสิมมา, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ และณิชชาภัทร ขันสาคร. (2560). พฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเพาะปลูกพริกผู้ ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษา ตำบลสวนกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพิษวิทยา, 32(1), 9-26.

ทินกร ชื่นชม. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(2), 86-97.

ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล และมาลี สุปันตี. (2562). ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(2), 399-409.

ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561, 9 กันยายน). สปสช.หนุนมติ สธ.ห้ามใช้ 3 ยากำจัดศัตรูพืช 3 ปี พลผู้เสียชีวิต 1.7 พันราย รักษาปีละ 5 พันราย. Hfocus เจาะลึกสุขภาพ, https://www.hfocus.org/content/2018/09/16307.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, ศิริลักษณ์ งิ้วใหญ่, ประภัสสร ผมงาม และศิริอักษร ดีลาภ. (2559). พฤติกรรมการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกพริกขี้หนู กรณีศึกษาในเขตหมู่บ้านกลุ่มชัยนาท ตำบลภูน้ำหยด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 75-83.

ศรัญญา พันธุ์คุณ, เสาวนีย์ หน่อแก้ว และสร้อยสุดา เกสรทอง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ กรณีศึกษา:จังหวัดสุโขทัย.คณะสารธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารควบคุมโรค, 43(3), 270-279.

ศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล. (2553). การตรวจการแพ้พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบ Reactive Paper. วารสารองค์การเภสัชกรรม, 20(3), 1-2.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรุงเทพฯ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN). (2559, 4 พฤษภาคม). Thai-PAN เปิดผลตรวจผัก-ผลไม้ ชี้ตรา Q แชมป์สารเคมีตกค้างมากสุด-ผักด๊อกเตอร์เกินค่ามาตรฐานซ้ำซากติดต่อ 3 ปี. THAIPUBLICA, https://thaipublica.org/2016/05/thai-pan-4-5-2559.

สุภาพร ใจการุณ. (2556). การตกค้างของสารเคมีฆ่าแมลงในผักพื้นบ้านอีสานและอาหารท้องถิ่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-129.

อนุวัตน์ เพ็งพุฒ และพุทธิไกร ประมวล. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 47-62.

Barnes, J. M., & Davies, D. R. (1951). Blood cholinesterase levels in workers exposed to organo-phosphorus insecticides. British Medical Journal, 2(4735), 816.

Callaway, S., Davies, D. R., & Rutland, J. P. (1951). Blood cholinesterase levels and range of personal variation in a healthy adult population. British Medical Journal, 2(4735), 812.

Ntow, W. J., Tagoe, L. M., Drechsel, P., Kelderman, P., Nyarko, E., & Gijzen, H. J. (2009). Occupational exposure to pesticides: blood cholinesterase activity in a farming community in Ghana. Archives of environmental contamination and toxicology, 56(3), 623-630.