การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) และระดับจังหวัด จำนวน 3 คน 2) แกนนำเครือข่ายด้านสุขภาพ จำนวน 3 คน และ 3) ตัวแทนประชาชน จำนวน 3 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนในพื้นที่ของอำเภอที่ศึกษา คือ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานบริการสุขภาพ/สถานประกอบการเอกชน คือ แหล่งกระจายยาในชุมชนมีจำนวนมาก ประชาชนเข้าถึงยาได้ง่าย การดำเนินการกับแหล่งกระจายยาที่ผิดกฎหมายมีตั้งแต่การตักเตือนจนถึงบังคับใช้กฎหมาย ผลการดำเนินการมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และ 2) ประชาชน แม้จะมีการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน แต่สภาพปัญหาก็ยังเกิดขึ้น ได้แก่ (1) ประชาชนมีความเชื่อเรื่องการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (2) ประชาชนใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม (3) ประชาชนขาดความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในบางประเด็น และ (4) ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน สภาพปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสมในชุมชน ที่พบในระดับมากสูงที่สุด คือ แหล่งกระจายยา/จำหน่ายยาในชุมชนมีจำนวนมาก ทำให้สะดวกในการหาซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมาใช้ ปัญหาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 25.75 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงมหาดไทย. (2563). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี 2563. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
กษมา ลีรัตน์เสถียร และจัตุพล กันทะมูล. (2563). การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในสถานบริการสุขภาพ กรณียาล้างไต (แบบบูรณาการโดยสหวิชาชีพ). โรงพยาบาลปลวกแดง จังหวัดระยอง.
จันทร์จรีย์ ดอกบัว. (2562). โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้ค่าใช้ยาอย่างพอเพียง Smart School RDU กรณีศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. โรงพยาบาลปทุมราชวงศา.
จินดาพร พลวงศ์ และนันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. (2561). ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะของประชาชน: การสำรวจภาคตัดขวางในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 411-420.
ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์. (24-25 ธันวาคม, 2562). RDU Community. เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community). โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร.
ภาณุ วิริยานุทัย. (2558). ความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(2), 167-177.
วราภรณ์ สังข์ทอง. (2558). ความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายและปัจจัยที่ทำให้เกิดการจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(1), 38-46.
สมหญิง พุ่มทอง. (2562). การสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุสมผล. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2554). นโยบายแห่งชาติด้านยา ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2559). การจัดการความเสี่ยงเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2559). สถานการณ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล สภาพปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. กองยา.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (24-25 ธันวาคม, 2562). สรุป พรบ.ยา อาหาร เครื่องสำอาง สถานพยาบาลที่ใช้บ่อยในการทำงานในชุมชน.เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง การพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. โรงแรมอมารี กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563). สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปี 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. กองบริหารการสาธารณสุข.
อารีรัตน์ คุณยศยิ่ง. (2558). ความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(2), 114-120.
Akıcı A., Mollahaliloulu S., Donertas B., Ozgulcu S., Alkan A., & Filiz B. N. (2017). Patients' attitudes and knowledge about drug use: a survey in Turkish family healthcare centers and state hospitals. Turk J Med Sci., 47(5), 1472-1481.
Alhomoud F., Aljamea Z., Almahasnah R., Alkhalifah K., Basalelah L., & Alhomoud F.K. (2017). Self-medication and self-prescription with antibiotics in the Middle East-do they really happen? A systematic review of the prevalence, possible reasons, and outcomes. International Journal of Infectious Diseases, 52, 312.
Arwa A., Cameron H., & Xiang Y. H. (2011). Antibiotics Overuse in Children with Upper Respiratory Tract Infections in Saudi Arabia: Risk Factors and Potential Interventions. Clinical Medicine and Diagnostics, 1(1), 8-16.
Carla F., & Rodrigues. (2020). Self-medication with antibiotics in Maputo, Mozambique: practices, rationales and relationships. Palgrave Communications, 6(6): 1-12.
Ndung I. K. (2015). Investigation of over the Counter Diagnosis and Drug Dispensation in Chemists: A Case Study in Thika Sub-County, Kenya. American Journal of Theoretical and Applied Statistics, 4(6), 464-470.
World Health organization. (1985, 25 29 November). The rational use of drugs: Report of the Conference of Experts. Nairobi.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis 3rd edition. Harper and Row Publication.