ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมความปลอดภัย มีความสัมพันธ์ต่ออาการจากการสัมผัสความร้อนของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานหลอมโลหะแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรมด้านความปลอดภัย และอาการจากการรับสัมผัสความร้อน และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรมความปลอดภัยต่ออาการจากการสัมผัสความร้อน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานหลอมโลหะแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรีจำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เครื่องตรวจวัดดัชนีความร้อน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ (P-value < 0.05) ผลการวิจัย พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีระดับความรู้ด้านความปลอดภัยระดับมาก (ร้อยละ 90.10) มีเจตคติด้านความปลอดภัยระดับมาก (ร้อยละ 79.21) มีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยระดับดี (ร้อยละ 96.04) มีอาการจากการสัมผัสความร้อน 3 อันดับแรก คือ อาการเพลียจากความร้อน (ร้อยละ 47.52) อาการขาดน้ำ (ร้อยละ 45.54) และอาการผื่นจากความร้อน (ร้อยละ 42.75) และพบว่าเพศ การดื่มเกลือแร่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติการเจ็บป่วยจากความร้อน และระยะเวลาในการพักจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการจากการสัมผัสความร้อน ดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ ควรมีการบูรณาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน และแนวทางในการเฝ้าระวังสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพรวมถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. (2559). กระทรวงการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. กระทรวงแรงงาน.http://www3.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/48.pdf
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน. กองประเมินผลกระทบสุขภาพ. http://hia.anamai.moph.go.th/download/hia/manual/book/book50-1.pdf
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กรมอนามัยแนะสังเกต 6 อาการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน. จส. 100. https://www.Js100.com/th/site/post_share/view/86836
จีรนันท์ จะเกร็ง, ฉันทนา ผดุงทศ, และ ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล. (2555). ผลกระทบต่อสุขภาพกายจากการสัมผัสความร้อนขณะทำงานในกลุ่มคนทำนาเกลือจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2, 10-18.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ. กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. http://legal.labour.go.th/images/law/Safety2554/3/s_1018.pdf
พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี และณัฐ จันท์ครบ. (2561). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว. SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY, 4(2), 1-15.
มงคล รัชชะ, จักรกฤษ เสลา, และ อนุ สุราช. (2564). การประเมินระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของผู้ประกอบอาชีพในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24(2), 87-100.
ลลิตา วันลิโก, ปวีณา มีประดิษฐ์, และ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาจากการสัมผัสความร้อนของ คนงานเผาถ่านชนิดเตาเผาแบบดั้งเดิมในเขตจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีรพงศ์ มิตรสันเที๊ยะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ ในเขตจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิริวรรณ จันทนจุลกะ. (2563). แนวทางการเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัยประชาชนด้านสาธารณสุขรองรับผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีความร้อน ปี 2563. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. http://hia.anamai.moph.go.th/download/hia/manual/book/book50-1.pdf
สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/856/1/suthatip_rong.pdf
สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี. (2562). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดชลบุรี ไตรมาส 4 ปี 2562 (ตุลาคม – ธันวาคม 2562). สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี. https://chonburi.mol.go.th/wpcontent/uploads/sites/36/2020/ 03/ไตรมาส-4-ปี-พ.ศ.2562.pdf
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2555). โรคและภัยสุขภาพจากอากาศร้อน. กรมควบคุมโรค. http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/4_11_situation.pdf
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมโรค. http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf
Bethel J. W. & Harger R. (2014). Heat-related illness among Oregon farmworkers. International journal of environmental research and public health, 11(9), 9273-9285.
Karim Fahed A., Ozkaymak M., & Ahmed S. (2018). Impacts of heat exposure on workers’ health and performance at steel plant in Turkey. Engineering science and technology, an international journal, 21(4), 745-752.
Tang Y. M., Wang D. G., Li J., Li X. H., Wang Q., Liu N., Liu W. T., & Li Y. X. (2016). Relationships between micronutrient losses in sweat and blood pressure among heat-exposed steelworkers. Advance publication industrial health.
United States Department of Labor. (2015). Work injuries in the heat in 2015. U.S. Bureau of Lobor Statistics. https://www.bls.gov/opub/ted/2017/work-injuries-in-the-heat-in-2015.htm
Xiang J., Hansen A., Pisaniello D., & Bi P. (2016). Workers’ perceptions of climate change related extreme heat exposure in South Australia: A cross-sectional survey. BMC public health, 16(1), 1-12.