การประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสสารโลหะหนักตะกั่ว แคดเมียม สารหนูจากการบริโภคข้าว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

วันปิติ ธรรมศรี
ปนัดดา หงษ์เลิศ
อมรกานต์ อินเงิน
เอกราช รักษาราช
นที อ่อนโอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารโลหะหนักกลุ่มตะกั่ว (Pb) แคดเมียม(Cd) และสารหนู (As) ที่ปนเปื้อนอยู่ในข้าว และประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคข้าวที่ปนเปื้อนสารโลหะหนักของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้บริโภคข้าว ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรหมู่บ้านดอนตาล ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท จำนวน 30 คน ซึ่งบริโภคข้าวพันธุ์หอมปทุม จาก 2 แปลงนาตัวอย่าง แหล่งข้อมูลเก็บรวบจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบการปนเปื้อนเฉพาะสารหนูในข้าว อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการประเมินโอกาสในการรับสัมผัสสารหนู  ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง (LCR) นำมาใช้คำนวณโดยการหาค่า EDI (รายบุคคล) ผลการประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคข้าวที่มีการปนเปื้อนของสารหนู (EDI) ในกลุ่มประชากรทั้ง 30 คน พบว่ามีค่าต่ำสุดอยู่ที่ 0.41 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 0.02349 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของสารหนูในข้าวที่มีค่าเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามมาตรฐานประเทศไทย แต่ค่าความเสี่ยงก่อมะเร็ง (LCR) ของกลุ่มประชากร มีค่าอยู่ที่ระหว่าง 0.00062–0.03542 ซึ่งมีค่าเกินกว่า 0.0001 ผลการประเมินนี้แสดงให้เห็นว่าระดับดังกล่าวไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคข้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2562). ความรู้เรื่องโรค. กรมควบคุมโรค. http://envocc.ddc.moph.go.th/

กัญญ์กุลณัช คำปวง, พลยุทธ ศุขสมิต, สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ, ยุทธ์ดนัย ยอดทองดี, และ ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2559). การตอบสนองของผลผลิตในข้าว 3 พันธุ์ที่ปลูกในดินที่มีปริมาณแคดเมียมแตกต่างกัน. แก่นเกษตร, 44(3), 409-416.

เกวลิน รอดขวัญ, วัชรี รวยรื่น, และ นรานันท์ ขำมณี. (2563). การปนเปื้อนของโลหะหนักในตะกอนดินบริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงหอยแครงและปากแม่น้ำท่าทอง อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 41-57.

ธนิกา น้อยถนอม, จินตนาถ วงศ์ชวลิต, และ ธนวรรณ พาณิชพัฒน์. (2562). การกำจัดตะกั่วที่สะสมในต้นข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(3), 498-507.

เบญจภรณ์ ประภักดี และจิรวีฐ์ แสงทอง. (2559). แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากขวดทดลองสู่พื้นที่จริง. วารสารสิ่งแวดล้อม, 20(1), 1-13.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 414 พ.ศ. 2563. ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. (2563, 20 พฤษภาคม). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 118 ง.

ปิยะดา วชิระวงศกร, สิรินรัตน์ รอดขาว, และ เจนจิรา ช่วยปุ่น. (2558). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคผักประเภทใบที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่วและแคดเมียม: กรณีศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci., 16(2), 167-177.

ธนภัทร ปลื้มพวก, จันทร์จรัส วีรสาร, อรุณศิริ กำลัง, และ ธงชัย มาลา. (2558). การปนเปื้อนแคดเมียมในดินและการสะสมในผลผลิตข้าวบนพื้นที่ตำบลแม่ตาวและตำบลพระธาตุผาแดงอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก. วารสารเกษตรพระวรุณ, 12(1), 1-8.

ธีรนาถ สุวรรณเรือง. (2563). โลหะหนักปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 76-82.

นุชจรี ท้ายสนิท และปิยะดา วชิระวงศกร. (2021). การประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักบางชนิดในดินนาข้าวของจังหวัดสุโขทัย. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1), 99-108.

นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว, และ จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์. (2562). งานวิจัยสารหนูในข้าวไทยเพื่อรองรับการกำหนดค่าสูงสุดของสารหนูในข้าวเพื่อการส่งออกข้าวไทย. วารสารวิชาการข้าว, 10(2), 101-116.

ภัทราวดี วัฒนสุนทร และจินตนา อมรสงวนสิน. (2559). การตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในตัวอย่างดินจากนาข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยนาถ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 11(2), 246-258.

ลำใย ณีรัตนพันธุ์, สมศักดิ์ อินทมาต, Arthone Khammanichanh, และ มานพ ศรีอุทธา. (2558). ปริมาณสารหนูในข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 บริเวณเหมืองแร่ทองคำ. วารสารวิทยาศาสตร์คชสาส์น, 37(2), 11-25.

สายชล สุขญาณกิจ และธนวรรณ พาณิชพัฒน์. (2556). เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการสะสมตะกั่วของทานตะวันและข้าวฟ่างในดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(4), 996-1007.

Fanfu Z., Wei W., Mansha L., Ruixue H., Fei Y., & Yanying D.. (2015). Heavy Metal Contamination in Rice-Producing Soils of Hunan Province, China and Potential Health Risks. International Journal of Environmental Research and Public Health, 12(12), 15584-15593. https://doi.org/10.3390/ijerph121215005

Noelle L., Edmund S., Brenda E., May W., Yan L., & Jenna H.. (2018). A comprehensive review of arsenic exposure and risk from rice and a risk assessment among a cohort of adolescents in Kunming, China. International journal of environmental research and public health, 15, 2191.

Otero X. L., Tierra W., Atiaga O., Guanoluisa D., Nunes L. M., Ferreira T.O., & Ruales J. (2016). Arsenic in rice agrosystems (water, soil and rice plants) in Guayas and Los Ríos Provinces, Ecuador. Science of the total environment, 573, 778-787.

Chanpiwat P., & Woong-Kim K. (2019). Arsenic health risk assessment related to rice consumption behaviors in adults living in Northern Thailand. Springer Link. https://link.springer.com/article/10.1007/s10661-019-7836-y