การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพงานเพื่อลดความเสี่ยงของไหล่ในกลุ่มพนักงานสายสนับสนุนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณวรา เหล่าวาณิชย์
ปวีณา มีประดิษฐ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับปรุงสภาพงานด้วยตนเองโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมโดยเปรียบเทียบความเสี่ยงของสถานีงานก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพงานด้วยตนเอง และเปรียบเทียบความเสี่ยงของไหล่ก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพงานด้วยตนเองในกลุ่มพนักงานสายสนับสนุนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 43 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้สึกปวดไหล่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินความเสี่ยงของสถานีงาน และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบแมคนีมาร์


              ผลการวิจัยพบว่า หลังจากทำการปรับปรุงสภาพงานด้วยตนเอง พนักงานสายสนับสนุนมีความเสี่ยงของสถานีงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ร่วมกับมีความเสี่ยงของไหล่ลดลง ความรู้สึกปวดไหล่ทั้งสองข้างลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการปรับปรุงสภาพงาน แต่ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ไหล่ซ้าย p-value = 0.11, ไหล่ขวา p-value = 0.07) และมีระดับความล้าของกล้ามเนื้อไหล่ลดลง แต่ยังไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (ไหล่ซ้าย p-value = 0.15, ไหล่ขวา p-value = 0.23) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงสภาพงานด้วยตนเองผ่านกระบวนการใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมสามารถลดคะแนนความเสี่ยงของสถานีงานได้ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดด้านการประยุกต์ใช้หลัก การยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์แก่พนักงานสำนักงานอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ พันกับ, เลิศชัย ระตะนะอาพร, และ นฤมล วงศ์ธนาสุนทร. (2553). การปรับปรุงสถานีทำงานเพื่อลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มคนงานหญิงในงานหัตถกรรมการผลิตกระดาษสา. วิศวกรรมสาร มก., 73(23), 85-94.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยวัยทำงาน ร้อยละ 60 เสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม แนะปรับสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานให้ถูกหลัก”. กรมอนามัย http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=8547

ณวรา เหล่าวาณิชย์, ปวีณา มีประดิษฐ์, และ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2564). การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ด้วยตนเอง ในกลุ่มพนักงานสายสนับสนุนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. ประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 52. ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัจฉรียา คำยัง, รัชดาพร แก้วนาคูณ, กันยาภรณ์ อาจกล้า, ทัศนีย์ สัทธรรม, นภัสวรรณ ฉลูทอง, และ แพรวนภา แพงวงษ์. (2561). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์. ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. นนทบุรี, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรพร สถิรอังกูร. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขกับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติของพยาบาล, วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 1-8.

ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร ฉิมณรงค์, สุทธินันท์ ม้ากระโทก, ศิรัฐชานนณ์ บวรรัตนศิริ, และ อัชชา คิดเห็น. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศการใช้โปรแกรม H.I.S. ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปริญญาภรณ์ แก้วยศ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). ความล้าของกล้ามเนื้อและการประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังจากการทำงานในพนักงานยกเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรม. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 31(3), 439-454.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิวลี รัตนปัญญา, สามารถ ใจเตี้ย, สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี, กานต์ชัญญา แก้วแดง, และ จิติมา กตัญญู (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(34), 20-29.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และวรวรรณ ภูชาดา. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับปรุงตามหลักการยศาสตร์ในพนักงานศูนย์บริการข้อมูล, ศรีนครินทร์เวชสาร, 31(5), 325-331.

องุ่น สังขพงศ์, กลางเดือน โพชนา, และ วรพล เอื้อสุจริตวงศ์. (2556). การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(3), 654 -663.

อมร โฆษิดาพันธุ์, อริสา สำรอง, และ สุทธิ์ ศรีบูรพา. (2559). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการปวดที่ส่งผลต่อความบกพร่องของรยางค์แขนของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน. ประชุมวิชาการทางการยศาสตร์แห่งชาติ 2559. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Amick III B. C., Robertson M. M., DeRango K., Bazzani L., Moore A., Rooney T., & Harrist R. (2003). Effect of office ergonomics intervention on reducing musculoskeletal symptoms. Spine, 28(24), 2706-2711.

Baydur H., Ergor A., Demiral Y., & Akalın E. (2016). Effects of participatory ergonomic intervention on the development of upper extremity musculoskeletal disorders and disability in office employees using a computer. Journal of Occupational Health, 58(3), 297-309.

Bohr P. C. (2000). Efficacy of office ergonomics education. Journal of Occupational Rehabilitation, 10(4), 243-255.

Burgess-Limerick, R. (2018). Participatory ergonomics: Evidence and implementation lessons. Applied Ergonomics, 68, 289-293.

Çalik B. B., Atalay O. T., Baskan E., & Gokçe B. (2013). Analyzing musculoskeletal system discomfort, work interference and risk factors of office workers with computer users. Clinical and Experimental Health Sciences, 3(4), 208-214.

Ferraz M.B., Quaresma M.R., Aquino L.R., Atra E., Tugwell P., & Goldsmith C.H. (1990). Reliability of pain scales in the assessment of literate and illiterate patients with rheumatoid arthritis, Journal of Rheumatology, 17(8), 1022–1024.

Kingkaew W.M., Paileeklee S., & Jaroenngarmsamer P. (2018) Validity and Reliability of the Rapid Office Strain Assessment [ROSA] Thai Version. Journal of Medical Association of Thailand, 101(1), 145-149.

Krejcie R.V., & Morgan D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

National Institute for Occupational Safety and Health. (1992). Selected Topics in Surface Electromyography for Use in the Occupational Setting: Expert Perspectives. U.S. Department of Health and Human Services.

Shariat A., Cleland J. A., Danaee M., Kargarfard M., Sangelaji B., & Tamrin S. B. M. (2018). Effects of stretching exercise training and ergonomic modifications on musculoskeletal discomforts of office workers: a randomized controlled trial. Brazilian Journal of Physical Therapy, 22(2), 144-153.

Sonne M., & Andrews D.M. (2012). The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of online worker self-assessments and the relationship to worker discomfort. Occupational Ergonomics, 10(4), 83-101.