ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดจันทบุรี โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ

Main Article Content

ลลิตา เดชาวุธ
ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์

บทคัดย่อ

ปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกษตรกรที่มีระดับสารกำจัดศัตรูพืชในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นเข้าขั้นวิกฤต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวสวนลำไยจังหวัดจันทบุรี โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวสวนลำไย ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งเป้าหมายร่วมกันในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 2) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 3) การกระตุ้นและติดตามพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และ 4) การสะท้อนผลร่วมกันและปรับปรุงให้สำเร็จตามเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ เกษตรกรชาวสวนลำไย จำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วย นักวิชาการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนเทศบาลบ้านคลองใหญ่ ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบประเมินความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืช แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืช แบบประเมินความความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การทดสอบแมกนีมาร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การตั้งเป้าหมายร่วมกัน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเอง การกระตุ้นและติดตาม และการสะท้อนผลร่วมกันและปรับปรุงให้สำเร็จตามเป้าหมายในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช โดยพบว่า หลังใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.79± 0.25) และมีจำนวนผู้ที่มีระดับสารออร์แกโนฟอสเฟตในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < .05)


ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของรูปแบบฯ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรในพื้นที่อื่นต่อไป โดยควรมีการศึกษาติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและศึกษาผลต่อภาวะสุขภาพของเกษตรกรในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2564). สรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2563 (รายชื่อวัตถุอันตราย). กรมวิชาการเกษตร. https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2021/01/สรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร-ปี-2563-รายชื่อวัตถุอันตราย.pdf.

กู้เกียรติ ทุดปอ, ณัชชลิดา ยุคะลัง, จารุวรรณ วิโรจน์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, วิทยา อยู่สุข, และนิรุวรรณ เทิร์นโบล์. (2563). ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนผักในจังหวัดขอนแก่นที่เคยได้รับการประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมมาก่อน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 64-78.

จิราพร ทรงพระ และกาญนิถา ครองธรรมชาติ. (2555). การใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 12(4), 30-39.

บุบผา วิริยรัตนกุล, พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ, และพรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. (2563). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเกษตรกร. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(3), 58-66.

พัทธนันท์ คงทอง. (2564). ประสิทธิผลของการใช้สมุนไพรรางจืดร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), 207-215.

พิบูล อิสสระพันธุ์ และภูษณิศา ฉลาดเลิศ. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการซื้อสารกำจัดศัตรูพืช และอัตราการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลด้วยโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2557. วารสารควบคุมโรค, 41(4), 297-308.

ลักษณีย์ บุญขาว และสุธัญญา วงษาฟู. (2563). การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 93-106.

สมจิต แดนสีแก้ว. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากการปลูกดอกไม้ เพื่อร้อยมาลัย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 31(1), 80-89.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). การพยากรณ์โรค พิษสารกำจัดศัตรูพืชภาคการเกษตรกรรม: การนำเข้าข้อมูลการเฝ้าระวังโรค 5 มิติ มาวิเคราะห์. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/prognosis58/prognosis_plant_y58.pdf

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf

Boger E., Ellis J., Latter S., Foster C., Kennedy A., Jones F.,….Demain S. (2015). Self-management and self-management support outcomes: a systematic review and mixed research synthesis of stakeholder views. PLOS ONE, 10(7), e0130990.

Creer T. L. (2000). Self-Management of chronic illness. Academic press.

Robb E. L., & Baker M. B. (2020). Organophosphate Toxicity. National Center for Biotechnology Information. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470430/