ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลตรวจสุขภาพของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ

Main Article Content

พลอยไพลิน คล้ายคลึง
สุนิสา ชายเกลี้ยง
ยุพรัตน์ หลิมมงคล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตรวจสุขภาพของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ ดำเนินการในกลุ่มพนักงานจำนวน 205 คน โดยใช้แบบสอบถามด้านปัจจัยส่วนบุคคลและการทำงาน และใช้ข้อมูลทุติยภูมิหนึ่งปีที่บันทึกไว้ใน  พ.ศ.2562 สำหรับผลตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานและผลตรวจสุขภาพ หาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการวิเคราะห์โลจิสติกแบบตัวแปรเดี่ยว และนำเสนอออดเรโช (OR) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับผลตรวจสุขภาพโดยรวม ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์พบว่า พนักงานที่ดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงต่อการมีผลสุขภาพโดยรวมผิดปกติเป็น 2.29 เท่าของพนักงานที่ไม่ดื่มหรือเคยดื่มแต่เลิกแล้ว (OR = 2.29, 95 %CI = 1.01-5.25) และการสูบบุหรี่ โดยพนักงานที่มีการสูบหรือเคยสูบแต่เลิกแล้ว มีความเสี่ยงต่อการมีผลสุขภาพโดยรวมที่ผิดปกติเป็น 2.09 เท่าของพนักงานที่ไม่สูบ (OR = 2.09, 95 %CI = 1.04-4.19) จึงเสนอแนะให้มีการรณรงค์ให้พนักงานงดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ และมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องกับพนักงานที่มีโอกาสสัมผัสสารเคมีในพื้นที่การผลิตเยื่อกระดาษเป็นประจำ แม้ว่าการศึกษานี้พบว่า สารเคมีทุกชนิดต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของข้อมูลทุติยภูมิที่ใช้ 1 ปีเท่านั้น จึงเสนอแนะให้เฝ้าระวังโดยศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมด้านสารเคมีในระยะยาวร่วมด้วยผลการตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการสัมผัสสารเคมี กับผลสุขภาพพนักงานกลุ่มเสี่ยงในการศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรรณิภา สืบสุข, อัจฉริยา พงษ์นุ่มกุล, ดรุณี เลิศสุดคนึง, และเพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา. (2557). ปัจจัยทำนายสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(1), 79-92.

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์. (2560). การสูบบุหรี่ 1 มวน จะทำให้อายุสั้นลง 7 นาที. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.saintlouis.or.th/article/show/17_22-4-2017-8:21

วัชราภรณ์ ทัศนัตร, และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัส สารเคมีของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(2), 103-117.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. (2556). พฤติกรรมและผลกระทบเกี่ยวกับบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1), 101-109.

Hsieh, Y. F., Bloch, A. D., & Larsen, D. M. (1998). A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.

Kauppinen, T., Teschke, K., Savela, A., Kogevinas, M., & Boffetta, P. (1997). International data base of exposure measurements in the pulp, paper and paper product industries. Int Arch Occup Environ Health, 70(2), 119-127.

Kraus, T., Pfahlberg, A., Zöbelein, P., Gefeller, O., & Raithel, H. J. (2004). Lung function among workers in the soft tissue paper-producing industry. Chest, 125(2), 731-736.

Neghab, M., Jabari, Z., & Shouroki, F. K. (2018). Functional disorders of the lung and symptoms of respiratory disease associated with occupational inhalation exposure to wood dust in Iran. Epidemiology and health, 40.