การออกแบบเครื่องขอดเกล็ดปลาตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงท่าทางการทำงาน ในกลุ่มอาชีพขอดเกล็ดปลา

Main Article Content

กฤษดา เพ็งอารีย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเมื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงานขอดเกล็ดปลาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 2) ประเมินระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ทั่วทั้งร่างกายจากท่าทางการขอดเกล็ดปลา และ 3) เพื่อออกแบบเครื่องขอดเกล็ดปลาตามหลักการยศาสตร์สำหรับลดระดับความเสี่ยงท่าทางการทำงานของพนักงานขอดเกล็ดปลา กลุ่มตัวอย่างทำหน้าที่ขอดเกล็ดปลาจำนวน 16 คน จากร้านค้าปลาทั้งหมด 5 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความเมื่อยล้า ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ท่าทางการทำงานทั่วทั้งร่างกาย แล้วนำมาออกแบบเครื่องมือสำหรับลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ตามมาตรฐานการวัดสัดส่วนร่างกายของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีอาการปวดเมื่อยระดับมากที่สุดด้านซ้าย คือ คอ(ร้อยละ 56.25) หลังส่วนบน(ร้อยละ 50.00) หลังส่วนล่าง(ร้อยละ 50.00)  และมือ/ข้อมือ(ร้อยละ 50.00) ตามลำดับ และทางด้านขวา คือ แขนส่วนบน(ร้อยละ 75.00) แขนส่วนล่าง(ร้อยละ62.50) และคอ(ร้อยละ 56.25) จากการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีระดับความเสี่ยงสูงสุด อยู่ในช่วง 8-10 คะแนน หมายถึง งานนั้นมีความเสี่ยงสูงควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรรีบปรับปรุง (ร้อยละ 56.25)  และหลังการออกแบบตามหลักการยศาสตร์และสร้างเครื่องให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่า ผลความเมื่อยล้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีระดับความเมื่อยล้าลดลง และมีระดับความเสี่ยงท่าทางการทำงานลดลงในด้านซ้ายในระดับคะแนน 2-3 คือความเสี่ยงน้อย(ร้อยละ 62.50)  และอยู่ในระดับคะแนน 4-7 คือความเสี่ยงปานกลาง(ร้อยละ 37.50)  และด้านขวา อยู่ในระดับคะแนน 4-7 คือ ความเสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 100) ซึ่งเป็นผลจากการใช้เครื่องขอดเกล็ดปลาที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานและสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561. นนทบุรี.
เกวลิน หนูฤทธิ์.(2563). สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2563. สืบค้น 29 มกราคม 2564, จาก https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/202005190832332_pic.pdf
อรุณีย์ พรหมศรี. (2560). การประเมินท่าทางการทำงานและความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อในช่างทำไม้กวาดดอกแก้ว. วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6, 452-463.
พงศกร สุรินทร์, มนินทรา ใจคำปัน, กิตติพงษ์ ประสงค์การ, วุฒิไกร กันทะหมื่น และอจลวิชญ์ แสนป่ง. (2559). การประเมินปัจจัยเสี่ยงท่าทางการทำงานในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีน. วารสารวิชาการอคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาลัยราชภัฎลำปาง,9(2),59-70.
วีรชัย มัฎฐารักษ์. (2554). การประเมินภาวะทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่นวดยางแผ่นด้วยแรงงานคน และเครื่องนวดยางแผ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,4(1), 654-663.
จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์ และวีระพร ศุทธากรณ์. (2557). ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง กล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่.Thai Journal of Public Health,44(3), 273-287.
สุนิสา ชายเกลี้ยง และธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. (2554). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร,26(1),35-40.
ยุวดี จอมพิทักษ์ และสายใจ พินิจเวชการ. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในสถานที่ทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.1-10.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). รายงานสถานการณ์โรค
และภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561 : โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ. สืบค้น 29 มกราคม 2564, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th
สมาคมการยศาสตร์ไทย. (2557). หลักการประเมินด้านการยศาสตร์ (Ergonomics assessment) (ออนไลน์). สืบค้น 29 มกราคม 2564, จาก http://1ab.in/skk
ปวีณา มีประดิษฐ์. (2559). การประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อนุวัฒน์ อัคคีสุวรรณ์, นุจรีย์ แซ่จิว, จำนงค์ ธนะภพ, และจันจิรา มหาบุญ. (2558). การบาดเจ็บและอาการทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงานของเกษตรกรผู้ ประกอบอาชีพสวนปาล์ม เขตพื้นที่ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. ความปลอดภัย และสุขภาพ, 8(29), 48-58.
อมฤทธิ์ จันทนาลาช, ชุติกาญจน์ ดาวเรือง, มงคล อุตญะถิน, และสุพัตรา โพธิ์ศรี. (2562). การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และความเมื่อยล้าจากการทำงานของคนรับเหมาตกแต่งภายใน กรณีศึกษา โรงพยาบาลศรีษะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 6 (2), 236-243.
Nilesh, N., Tanbir, Govind, B., Yenge and Ajeet Singh. (2017). Design, Development and Performance Evaluation of Fish Descaling Machine. Retrieved October 3 , 2020,
P. Kumar, D. Chakrabarti, T. Patel and A. Chowdhuri. (2016). Work-related pains among the workers associated with pineapple peeling in small fruit processing units of North East India. International Journal of Industrial Ergonomics., 124-129.
Hignett, S., & McAtamney, L. (2000). Rapid entire body assessment (REBA). Applied ergonomics, 31(2), 201-205.
Cameron, J. A. (1996). Assessing work-related body-part discomfort: current strategies and a behaviorally oriented assessment tool. International Journal of Industrial Ergonomics, 18(5-6), 389-398
Abd Rahman, M. K. F., Shahriman, A. B., Desa, H., Daud, R., Razlan, Z. M., Khairunizam, W. A. N., ... & Afendi, M. (2015). Comparative study of Rapid Upper Limb Assessment (RULA) and Rapid Entire Body Assessment (REBA) between conventional and machine assisted napier grass harvest works. In Applied Mechanics and Materials (Vol. 786, pp. 275-280). Trans Tech Publications Ltd.
Ansari, N. A., & Sheikh, M. J. (2014). Evaluation of work Posture by RULA and REBA: A Case Study. IOSR Journal of Mechanical and Civil Engineering, 11(4), 18-23.