การประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารและกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

Main Article Content

สาธินี ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ความสัมพันธ์ของพารามิเตอร์คุณภาพอากาศและความชุกของกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ทำการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแบคทีเรียและราในอากาศ จำนวน 15 พื้นที่ ด้วยเครื่อง Air Quality Monitor และเครื่อง Andersen single-stage impact เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงาน 113 คน ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ปริมาณแบคทีเรียและเชื้อรามีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร (ร้อยละ 100.0 99.3 100.0 และ 40.0 ตามลำดับ) อุณหภูมิภายในอาคารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณเชื้อราในอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.540, p-value<0.05) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในอาคารไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน (ร้อยละ 61.9) สวมอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจทุกครั้งในขณะทำงาน (ร้อยละ 38.1) และผู้ปฏิบัติงานมีอาการเจ็บป่วยจากอาคาร (ร้อยละ 84.9) ซึ่งอาการที่พบมากที่สุด คือ ปวดศีรษะ (ร้อยละ 61.9) จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าปริมาณเชื้อแบคทีเรียในอากาศมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการทางตาและผิวหนัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.050) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารอาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นควรจัดการระบบระบายอากาศในอาคารใหม่ของโรงพยาบาล นอกจากนี้ควรประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นประจำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก้องนภา อุทังสังข์ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2561). ชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ แผนกผู้ป่วย
นอกของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 25 (2):14-21.
จุฑามาศ มูลวงษ์. (2558). แนวทางในการจัดการคุณภาพอากาศภายในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น. (2556). ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมจำแนกตามฤดูกาลต่ออัตราการป่วยด้วย
กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ปฏิบัติงานพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์, สงขลา.
พรพรรณ สกุลคู และ คณพศ แต่งเมือง. (2561). ปริมาณและชนิดของเชื้อแบคทีเรียในอากาศจากกิจกรรม
การให้บริการหลักในคลินิกทันตกรรม กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 25 (1):12-22.
ANSI/ASHRAE/ASHE. (2017). Standard 170-2017: Ventilation of Health Care Facilities. Retrieved
December 2, 2020, from https:// www.ashrae.org
Kim, K., Kabir. E., & Jahan, S.A. (2018). Airborne bioaerosols and their impact on human health. Journal
of environmental science, 67, 23-35.
Qudiesat, K., Abu-Elteen, A., Elkarmi, M., & Hamad, A. M. (2009). Assessment of airborne pathogens in
healthcare settings. African Journal of Microbiology Research. 3 (2): 066-076.
Stockwell, R.E., Ballard, E.L., O’Rourke, P., Knibbs, L.D., Morawska, L., & Bell S.C. (2019). Indoor
hospital air and the impact of ventilation on bioaerosols: a systematic review. Journal of hospital
infection. 103: 175-184.
U.S. Environmental Protection Agency (EPA). (1991). Indoor Air Facts No. 4 (revised) Sick Building
Syndrome.
U.S. Environmental Protection Agency (EPA). (2011). Exposure Factors Handbook. Washington DC:
National Center for Environmental Assessment.
U.S. Environmental Protection Agency (EPA). (2021). Indoor Air Quality (IAQ): Introduction to Indoor
Air Quality. Retrieved January 20, 2021, from https://www.epa.gov/ indoor-air-quality-
iaq/introduction-indoor-air-quality
World Health Organization (WHO). (2009). WHO guidelines for indoor air quality: dampness and mould.
Germany: WHO Regional Office for Europe.
World Health Organization (WHO). (2016). Health risk assessment of air pollution. Denmark: WHO
Regional Office for Europe.