การเปรียบเทียบความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อนและหลังการใช้คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการของฝ่ายผลิต และ (2) เปรียบเทียบความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อนและหลังการใช้คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 75 คน เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของฝ่ายผลิตบริษัทผลิตถุงมือยาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความรู้ของพนักงานก่อนและหลังการอบรมที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงเท่ากับ 0.78- 0.95 และ 0.93 ตามลำดับ กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาค้นคว้าทฤษฎี กฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในการทำงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งมีการทดสอบประเมินความรู้ด้านความปลอดภัยเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายผลิต แล้วจึงพัฒนาคู่มือ หลังจากนั้นจึงจัด การอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมวิจัยเกี่ยวกับวิธีการใช้คู่มือการปฏิบัติงานและเปรียบเทียบความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อนและหลังการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของคู่มือด้านเนื้อหา การใช้ภาษา รูปแบบการนำเสนอ และด้านเทคนิคความถูกต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอยู่ในระดับดีและดีมาก และ (2) คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังให้ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในส่วนของตำแหน่งและหน้าที่ในกระบวนการผลิตถุงมือยางคือ 4.53±0.72 และ 7.25±1.18 ความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติงานคือ 3.99±1.08 และ 6.89±0.89 การปฏิบัติงานในส่วนของคุณภาพของการผลิตถุงมือยางและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ 3.16±1.22 และ 6.72±0.81 คะแนนผลการทดสอบก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ a 0.05 ดังนั้นคู่มือดังกล่าวจึงเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
ชูชาติ จุลพันธ์. (2551). การรับรู้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและพฤติกรรมใช้อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานของสายผลิต:ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัทโรยัลซีเซรามิคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธนกร สิริธร. (2559). พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อปลอดภัยในการทำงานของแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในโรงงานย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธรรมรักษ์ ศรีมารุต และคณะ (2555). พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายผลิต. Dspace SSRU. http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/776/1/197-55.pdf
ธนัตถา กรพิทักษ์. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมปั๊มโลหะ จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ประเทืองสุข ยังเสถียร. (2558). การพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. วิทยาลัยการฝึกหัดครู.
พัชทิชา กุลสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 126-141.
ไพบูลย์ ลิ้มมณี. (2559). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชา การถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(2), 844-856.
ฟาเฉิน เหลียง. (2556). การสร้างคู่มือสนทนาภาษาไทยเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียน ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภานุวัฒน์ สิรินุพงศ์. (2545). การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานบรรจุภัณฑ์กับเครื่องบรรจุภัณฑ์รุ่นเอสที 585 สำหรับพนักงานแผนกบรรจุภัณฑ์แผงวงจรรวม ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วไลพร ภิญโญ. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัย: กรณีศึกษาพนักงานโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรี หงส์อนุรักษ์ และนวลศรี ชานาญกิจ. (2556). ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
วิทิต กมลรัตน์. (2552). ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วุฒิศักดิ์ บุญแน่น, จุไรรัตน์ คุรุโคตร, และสมบัติ อัมระกา. (2558). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาและปฏิบัติการชีววิทยาสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 171-190.
สุพจน์ พ่วงศิริ. (2559). การพัฒนาคู่มือความจริงเสริม เรื่อง การใช้เครื่องวัดปริมาณไขมันในร่างกาย สำหรับนิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.(บทคัดย่องานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุภาวดี จังเจริญจิตต์กุล. (2545). วิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรชัย ตรัยศิลานันท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สำนักงานประกันสังคม. (2563). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานปี 2558-2562. สำนักงานประกันสังคม. https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_torage/sso_th/c00433eb3bc63a11720e488101b53d91.pdf
อภิรดี ศรีโอภาส. (2563). การสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หน่วยที่ 2. (น. 1-97). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Abbasi M., Gholamnia R., Alizadeh S. S., & Rasoulzadeh Y. (2015). Evaluation of workers unsafe behaviors using safety sampling method in an industrial company. Indian J Sci Technol. 8(28), 1–6. ResearchGate. https://www.researchgate.net/profile/Seyed-Shamseddin-Alizadeh/publication/293010997_Evaluation_of_Workers_Unsafe_Behaviors_using_Safety_Sampling_Method_in_an_Industrial_Company/links/5e479436299bf1cdb92b6cb3/Evaluation-of-Workers-Unsafe-Behaviors-using-Safety-Sampling-Method-in-an-Industrial-Company.pdf
Dodoo J. E. & Al-Samarraie, H. (2019). Factors leading to unsafe behavior in the twenty first century workplace: a review. Manag Rev Q, 69, 391–414. https://doi.org/10.1007/s 11301-019-00157-6